ค่าลดหย่อน “ยื่นภาษีครึ่งปี” ภ.ง.ด. 94 สำหรับปีภาษี 2565

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

13,942 VIEWS

ค่าลดหย่อน “ยื่นภาษีครึ่งปี” ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 94 สำหรับปีภาษี 2565 โดยจัดเป็นกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามปกติ เหมือนการยื่นภาษีประจำปี
  • กลุ่มที่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีน้อยกว่ายื่นภาษีประจำปี
  • กลุ่มที่ได้สิทธิลดหย่อนภาษีครึ่งปีไม่ได้

กลุ่ม 1 กลุ่มที่ลดหย่อนได้ตามปกติ

1. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้นั้น จะต้องเป็นค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายในเดือน มกราคม – มิถุนายน (ในปีภาษีนั้นๆ ) และสามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (เมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท)

2. ค่าเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ตนเอง หรือค่าเบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

3. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร

ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร สามารถลดหย่อนภาษีได้ครั้งละไม่เกิน 60,000 บาท ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์และการคลอดบุตรไม่ได้เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกัน ผู้เสียภาษียังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่รวมกันลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท

4. กองทุน SSF

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีที่ได้รับ และไม่เกิน 200,000 บาท

5. กองทุน SSF ลดหย่อนภาษี

กองทุน RMF ลดหย่อนภาษี ในกรณีที่คุณซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และไม่เกิน 500,000 บาท

6. เงินบริจาคลดหย่อนภาษี

เงินบริจาคลดหย่อนภาษี สำหรับการยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) แบ่งออกได้ 3 กรณี คือ

  • บริจาคเงินแก่สถานศึกษา กีฬา และโรงพยาบาลรัฐ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย
  • บริจาคทั่วไป ให้ศาสนสถาน, องค์กรการกุศล สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่บริจาคจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อนอื่นๆ และเงินบริจาคพิเศษ

7. ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

ค่าลดหย่อนกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามยอดที่จ่ายจริงได้สูงสุด 13,200 บาท

8. ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน

ค่าลดหย่อนช้อปดีมีคืน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2565 จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท

9. เงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)

ในกรณีที่คุณจ่ายเงินเพื่อร่วมลงหุ้น หรือ ลงทุนเงินลงทุนวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

10. ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

11. เงินบริจาคพรรคการเมือง

เงินบริจาคพรรคการเมือง ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

กลุ่ม 2 กลุ่มที่ลดหย่อนได้น้อยกว่าปกติ

12. ค่าลดหย่อนส่วนตัว

ผู้เสียภาษีสามารถใช้หักลด ค่าลดหย่อนส่วนตัว ได้ 30,000 บาท (ค่าลดหย่อนทั้งปี 60,000 บาท)

13. ค่าลดหย่อนคู่สมรส

13.1 คู่สมรสไม่มีเงินได้ หรือ มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) – (4) สามารถหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)

13.2 กรณีคู่สมรสมีเงินได้มาตรา กรณีที่คู่สมรสมีเงินได้ ตามมาตรา 40 (5) – (8)

  • กรณีรวมยื่นภาษี ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนตัวได้ 30,000 บาท และสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนคู่สมรสได้ 30,000 บาท
  • กรณีแยกยื่นภาษี ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีส่วนตัวได้ 30,000 บาท และจะไม่สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีคู่สมรสได้

14. ค่าลดหย่อนบุตร

ค่าลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท) โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร แต่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้ในกรณีที่บุตรมีอายุไม่เกิน 25 ปี ยังศึกษาในชั้นมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษาเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นบุตรคนที่สองเป็นต้นไปที่เกิด พ.ศ. 2561 หรือหลัง พ.ศ. 2561 สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)

ส่วนกรณีบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท)

15. ค่าลดหย่อนบิดามารดา

ค่าลดหย่อนบิดามารดา สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้คนละ 15,000 บาท (เต็มปี 30,000 บาท) และมีข้อแม้ว่า บิดามารดาจะต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีขอหักลดหย่อนเกิน 30,000 บาท (บุตรบุญธรรมจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้)

16. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ

ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท (เต็มปี 60,000 บาท)

17. ค่าเบี้ยประกันชีวิต

ค่าเบี้ยประกันชีวิต สามารถนำค่าเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน มาหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แบ่งออกเป็น

  • ส่วนที่จ่ายไม่เกิน 10,000 บาท สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ครึ่งนึง แต่ไม่ต้องเกิน 5,000 บาท
  • ส่วนที่จ่ายเกิน 10,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท

เช่น คุณจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตในวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 จำนวน 100,000 บาท หากคุณยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 จะสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 95,000 บาท ( 10,000 บาทแรกใช้ลดหย่อนภาษีได้ครึ่งหนึ่ง คือ 5,000 บาท และลดหย่อนภาษีส่วนที่เกิน 10,000 บาท คือ 90,000 บาท  เมื่อนำ 5,000 + 90,000 = 25,000 บาท )

ทั้งนี้หากคุณไม่ต้องการใช้สิทธิค่าเบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตอนที่ยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) เนื่องจากต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตอนยื่นภาษีเงินได้ประจำปี (ภ.ง.ด. 90, 91) ก็สามารถทำได้

18. ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยบ้าน

ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามยอดที่จ่ายจริงได้สูงสุด 95,000 บาท (จ่ายระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน) แบ่งออกเป็น

  • ส่วนที่จ่ายไม่เกิน 10,000 บาท สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ครึ่งนึง แต่ไม่ต้องเกิน 5,000 บาท
  • ส่วนที่จ่ายเกิน 10,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 90,000 บาท

19. ค่าลดหย่อนประกันสังคม

ในกรณีที่คุณจ่าย เงินสมทบกองทุนประกันสังคม สำหรับปีภาษี 2565 สามารถหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 1,910 บาท (ปกติครึ่งจะใช้สิทธิลดหย่อนได้ 2,592 บาท)

ทั้งนี้ อัตราดังกล่าวเป็นการอ้างอิงการจ่ายเงินสมทบ 6 เดือนแรกของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (บุคคลที่เคยทำงานในบริษัท หรือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แต่ออกจากงานมาแล้ว และต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้)

หมายเหตุ: ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 คือ บุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ที่ไม่เคยเป็นพนักงานบริษัท ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม และแน่นอนว่า ต้องไม่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ 39 มาก่อน

กลุ่ม 3 กลุ่มที่ใช้ลดหย่อนครึ่งปีไม่ได้

20. ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน

ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนในการยื่นภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 ได้ จะสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้สำหรับการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปีเท่านั้น เนื่องจากเกี่ยวข้องกับรายได้จากงานประจำ

กำหนดการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 2565

สำหรับปีภาษี 2565 ผู้เสียภาษีสามารถยื่นภาษีครึ่งปีได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 และสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2565 ตามช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนด โปรดตรวจสอบ ค่าลดหย่อน สำหรับ ยื่นภาษีครึ่งปี ให้ครบถ้วนเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)