Contents

โครงสร้างภาษี

80,004 views

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

โครงสร้างภาษี

ภาษี  ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด จะมี 6 องค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่งสามารถปรับใช้ได้กับภาษีอากรทุกประเภท เพราะแม้รายละเอียดจะแตกต่าง แต่ในเชิงโครงสร้างแล้วล้วนประกอบด้วย 6 ส่วนต่อไปนี้ทั้งสิ้น

1. ผู้เสียภาษี

กฎหมายต้องกําหนดว่า ผู้เสียภาษี เป็นใคร เพื่อให้คนนั้นรู้ว่าเขามีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ซึ่ง ภาษีแต่ละประเภทก็จะกําหนดตัวผู้เสียภาษีแตกต่างกันไป เช่น

ดังนั้น คนคนเดียวอาจจะเสียภาษีมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ ถ้ากฎหมายกําหนดเช่นนั้น

2. ฐานภาษี

เมื่อเราทราบแล้วว่าผู้เสียภาษี เป็นใคร ฐานภาษีจะเป็นตัวกําหนดว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เขาต้องเสียภาษีตามแต่ที่กฎหมายกําหนด เช่น

  • ภาษีเงินได้ กําหนดให้ฐานภาษี คือ รายได้
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม กําหนดให้ฐานภาษี คือ สินค้าหรือบริการซึ่งฐานภาษีจะเป็นตัวตั้งในการคํานวณภาษีต่อไป

3. อัตราภาษี

ส่วนนี้สําคัญมาก เพราะเราจะเสียภาษีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ อัตราภาษี ที่จะใช้คํานวณกับฐานภาษีประเภทนั้น อัตราภาษีก็มีได้หลายแบบ เช่น

  • อัตราก้าวหน้า บางครั้งเรียกว่าอัตราภาษีแบบขั้นบันได โดยอัตราภาษีจะสูงขึ้นเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้นตามลําดับแบบขั้นบันได กล่าวคือ ถ้าฐานภาษีสูงขึ้นระดับหนึ่ง ผู้เสียภาษีก็จะรับภาระภาษีในสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่าเดิมไปเรื่อยๆ อัตราก้าวหน้านี้จะยิ่งทําให้คนที่มีฐานภาษีสูงๆ ต้องรับภาระหนักขึ้นเรื่อยๆ
  • อัตราถดถอย จะตรงกันข้ามกับอัตราก้าวหน้า คือ ฐานภาษียิ่งสูง อัตราภาษียิ่งต่ำ นั่นหมายความว่าคนที่มีฐานภาษีสูงๆ จะรับภาระน้อยลงเรื่อยๆ
  • อัตราคงที่ คือ มีเพียงอัตราเดียวสำหรับฐานภาษีโดยไม่แปรผันขึ้นลงตามฐานภาษี
  • เหมาจ่าย คือ เก็บภาษีแบบเหมาเป็นเงินจำนวนที่แน่นอนโดยไม่สนว่าจะฐานภาษีอย่างไร

4. วิธีการเสียภาษี

เสียภาษีเท่าไหร่ว่าสําคัญแล้ว แต่การเสียภาษีต้องทําอย่างไรก็สําคัญไม่แพ้กัน เพราะหากไม่ทําให้ถูกต้องอาจพบปัญหาได้ วิธีการเสียภาษีนั้น กฎหมายจะกําหนดเอาไว้อีกเช่นกันว่า ผู้เสียภาษีต้องดําเนินการอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าเสียภาษีถูกต้องแล้ว

เช่น กฎหมายอาจจะกําหนดให้เราต้องประเมินภาษีด้วยตัวเอง เตรียมแบบฟอร์มให้ถูกต้องเอง คําานวณตัวเลขเอง ยื่นแบบฟอร์มเอง ชําาระเงินเอง แต่ถ้าคํานวณผิด จ่ายภาษีไม่ครบก็มีบทลงโทษหรือกฎหมายจะใช้วิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วจบเลยก็ได้ หรือใช้ [วิธีประเมินภาษี] โดยเจ้าพนักงานก็ได้ แล้วแต่กรณี

5. การระงับข้อพิพาท

ความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องภาษี ดังนั้น หากเจ้าพนักงานเห็นว่าคุณคํานวณภาษีผิดพลาด จ่ายไม่ครบ เจ้าพนักงานก็ย่อมมีอํานาจโต้แย้งไม่เห็นด้วย

ในทางกลับกัน หากเจ้าพนักงานประเมินภาษี มาให้คุณแล้ว แต่คุณไม่เห็นด้วย คุณก็ย่อมมีสิทธิ์โต้แย้งไม่เห็นด้วยได้เช่นเดียวกัน การระงับข้อพิพาทจึงเป็นทางออกของความขัดแย้งเหล่านี้ว่าจะทําอย่างไรเพื่อให้ปัญหายุติ ซึ่งกฎหมายก็ได้กําหนดลําดับขั้นของการพิจารณาสําหรับภาษีแต่ละประเภท ซึ่งก็มีตั้งแต่ยอมรับและจ่ายภาษีไปตามนั้น จนไปถึงขนาดเป็นคดีความขึ้นโรงขึ้นศาลกันเลยก็มี

6. การบังคับคดี

ในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายเองก็จะกําหนดขั้นตอนว่าในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่จ่ายจะทําอะไรได้บ้าง ซึ่งอาจจะรุนแรงถึงขั้นยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินมาจ่ายภาษีเลยก็ได้

ภาษีอาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากไปสักหน่อย น่าปวดหัวไปสักนิด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เราทุกคนย่อมหนีเรื่องน่าปวดหัวนี้ไม่พ้น และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่รู้สึกว่า การคำนวณภาษีหรือวางแผนภาษีเป็นเรื่องน่าวุ่นวาย เราอยากให้คุณวางใจได้ เพราะ iTAX จะช่วยให้ปัญหาน่าปวดหัวเหล่านี้หมดไป เพราะคุณสามารถ คำนวณภาษี วางแผนภาษี พร้อมค้นหาตัวช่วยลดหย่อนภาษี iTAX shop ได้แค่คลิกเดียว