ติดโควิด บัตรทอง 30 บาท ใช้สิทธิอะไรได้บ้าง?

ทั่วไป

สปสช. เผยแพร่แนวทางปฏิบัติกรณี ติดโควิด และต้องการใช้สิทธิ บัตรทอง 30 บาท ตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2565 เพื่อรองรับการเดินหน้าสู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัย

4 กรกฎาคม 2565 – สปสช. เผยแพร่แนวทางปฏิบัติของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สิทธิบัตรทอง 30 บาท ตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2565 เพื่อรองรับการเดินหน้าสู่โรคประจำถิ่นอย่างปลอดภัยสำหรับประชาชน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

กรณีมีอาการเข้าข่ายว่า “อาจจะ ติดโควิด” (กลุ่มเสี่ยงสูง) บัตรทอง 30 บาท ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

  • ขอรับชุดตรวจ ATK ได้ฟรีที่ร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการผ่านแอปเป๋าตัง (รับได้เฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น)
  • หรือไปตรวจที่หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วย ATK (ผู้ประกอบวิชาชีพตรวจให้ หรือ professional use) (เฉพาะสิทธิบัตรทอง 30 บาท)

กรณีตรวจพบ ATK ขึ้น 2 ขีด “ติดโควิด” บัตรทอง 30 บาท ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

1. รักษาตามแนวทางเจอ แจก จบ ของกระทรวงสาธารณสุข (กักตัว 7+3 วัน) 

  • ไปที่หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ หรือ
  • โทรประสานร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ ‘รับยา-แนะนำการใช้ยา’

รายชื่อร้านยา

ตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว”

หมายเหตุ ร้านขายยารับเฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น 

2. กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 หรือมีอาการรุนแรง 

รับการรักษาตามดุลพินิจแพทย์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ไม่ว่าจะเป็นรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือแพทย์สั่งให้รักษาที่บ้าน Home Isolation)

  • กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์
  • เข้ารักษาที่หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่

3. เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สีแดง 

  • มีอาการ ได้แก่ หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94 
  • ใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ เข้ารักษาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บริการสายด่วน สปสช. 1330

  • หากติดเชื้อโควิด-19 ไม่จำเป็นต้องโทรแจ้งสายด่วน สปสช. 1330 แต่สามารถโทรสอบถามขั้นตอนได้
  • หากมีอาการแย่ลง ต้องการประสานหาเตียงเข้ารักษาในโรงพยาบาล โทร. 1330 ได้
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)