กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง กับเรื่องที่ผู้เสียภาษีควรรู้

งบประมาณ

1,277 VIEWS

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 Facebook ​fan page : กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ได้ทำการเปิดเผยตัวเลขวงเงินอุดหนุนนักการเมือง ประจำปี 2562 ที่มีพรรคการเมืองได้รับเงินอุดหนุนพรรคการเมืองจากกองทุน จำนวน 77 พรรค รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 112,413,603.74 บาท มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วทำไมเราต้องรู้? ลองเลื่อนลงมาอ่านสิ iTAX จะบอกให้ฟัง

กองทุนพัฒนาพรรคการเมือง คืออะไร?

กองทุนพัฒนาพรรคการเมือง คือหน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2541 (ภายหลังการปฏิรูปทางการเมืองในปี พ.ศ. 2540) โดยมีจุดมุ่งหมายคือ การแก้ปัญหาทางการเงินของพรรคการเมือง โดยมี คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) เป็นผู้กำหนดมาตรการและควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • การบริจาคเงินให้พรรคการเมือง
  • ควบคุมเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
  • การใช้เงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
  • การตรวจสอบบัญชีบัญชีทางการเงินของพรรคการเมืองอย่างเปิดเผย
  • การควบคุมการรับเงินและจ่ายเงินเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง

รายชื่อพรรคการเมืองที่ได้รับเงินอุดหนุนจาก กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

อันดับ รายชื่อพรรคการเมือง จำนวนเงินอุดหนุนที่ได้รับ (บาท)
1 พรรคประชาธิปัตย์ 16,838,239.43
2 พรรคพลังประชารัฐ 12,748,840.16
3 พรรคเพื่อไทย 12,654,136.50
4 พรรคอนาคตใหม่ 12,427,577.21
5 พรรคไทรักธรรม 11,095,853.90
6 พรรคภูมิใจไทย 7,112,093.62
7 พรรคเสรีรวมไทย 4,831,645.50
8 พรรคพลังปวงชนไทย 3,290,439.67
9 พรรครวมพลังประชาชาติไทย 2,439,420.88
10 พรรคประชาธิปไตยใหม่ 2,223,653.15
11 พรรคชาติไทยพัฒนา 2,048,763.34
12 พรรคพลังท้องถิ่นไท 1,810,693.58
13 พรรคประชากรไทย 1,750,494.93
14 พรรคประชาธรรมไทย 1,718,231.53
15 พรรคเพื่อชาติ 1,543,261.97
16 พรรคประชาชาติ 1,192,205.24
36 พรรคไทยธรรม 474,627.75
37 พลังแรงงานไทย 437,856.16
38 พรรคสยามพัฒนา 430,996.09
39 พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล 384,710.94
40 พรรคพลเมืองไทย 356,445.90
41 พรรคภาคีเครือข่ายไทย 346,904.95
42 พรรคไทยศรีวิไลย์ 339,936.13
43 พรรคมติประชา 292,417.57
44 พรรคเพื่อชีวิตใหม่ 268,446.05
45 พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย 204,189.06
46 พรรคมหาชน 198,433.25
47 พรรคเพื่อนไทย 196,274.46
48 พรรคเพื่อคนไทย 188,312.76
49 พรรคกรีน 176,521.52
50 พรรคคลองไทย 174,331.12
51 พรรคความหวังใหม่ 172,771.82
52 พรรคพลังศรัทธา 164,441.37
53 พรรคพลังสหกรณ์ 161,591.95
54 พรรคพลังสังคม 155,327.37
55 พรรคเพื่อไทยพัฒนา 140,060.34
56 พรรคประชาไทย 131,807.45
57 พรรคพลังแผ่นดินทอง 127,386.97
58 พลังคนกีฬา 121,438.70
59 พรรคประชาธิปไตยเพื่อประชาชน 111,148.06
60 พรรคภูมิพลังเกษตรกรไทย 109,723.80
61 พรรคพลังครูไทย 90,260.57
62 พรรคชาติพันธุ์ไทย 87,399.72
63 พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย 79,491.59
64 พรรคกลาง 79,083.43
65 พรรคพลังรัก 72,991.96
66 พรรคพลังไทยดี 72,533.92
67 พรรคแทนคุณแผ่นดิน 67,259.62
68 พรรคผึ้งหลวง 59,337.79
69 พรรคไทยรุ่งเรือง 54,142.32
70 พรรคอนาคตไทย 53,070.35
71 พรรครักท้องถิ่นไทย 51,078.70
72 พรรคพัฒนาประเทศไทย 49,670.43
73 พรรคสามัญชน 47,461.72
74 พรรครักษ์ธรรม 31,395.37
75 พรรคเพื่อสหกรณ์ไทย 24,530.37
76 พรรคฐานรากไทย 18,969.58
77 พรรคพลังเพื่อไทย 15,536.86
  รวมทั้งหมด 112,413,603.74

(*เรียงอันดับจากพรรคการเมืองที่ได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด)

หลักการจัดสรรเงินอุดหนุนพรรคการเมือง

เนื่องด้วย กองทุนพัฒนาพรรคการเมือง ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมทางการเมืองและพัฒนาพรรคการเมืองที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดขึ้น และทุกๆ การใช้จ่ายของพรรคการเมืองจะต้องอยู่ภายใต้กรอบการใช้เงินที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) เป็นผู้ควบคุมและต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ (ข้อมูลจาก www.ect.go.th)

จากตารางเงินอุดหนุนพรรคการเมืองข้างต้น ผู้เสียภาษีจะสังเกตได้ว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองไม่เท่ากัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะพรรคการเมืองจะได้รับเงินอุดหนุนลดหลั่นกันไป โดยมีปัจจัยต่อไปนี้คือตัวกำหนด

1. เงินจากกรมสรรพากร ที่ผู้เสียภาษีบริจาคให้พรรคการเมือง

เงินจากกรมสรรพากรที่ผู้เสียภาษีบริจาคให้พรรคการเมือง คือ เงินอุดหนุนภาษีพรรคการเมือง ที่ผู้เสียภาษีบริจาคให้แก่พรรคการเมืองที่ตัวเองชื่นชอบ โดยผู้เสียภาษีสามารถให้เงินสนับสนุนพรรคการเมืองได้ไม่เกินวงเงินภาษีที่ต้องจ่ายในปีนั้นๆ และสามารถบริจาคได้ไม่เกิน 500 บาท

ซึ่งกรมสรรพากรมีหน้าที่ต้องจัดทำรายชื่อและจำนวนเงินที่พรรคการเมืองได้รับจากผู้เสียภาษี ผ่านแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ซึ่งกรมสรรพากรจะต้องทำการโอนเงินในส่วนนี้ให้กองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองภายในเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อที่กองทุนจะได้จัดสรรให้พรรคการเมืองต่อไป

(อ้างอิงมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ข้อ 19 www.ect.go.th)

2. จัดสรรเงินตามค่าบำรุงสมาชิกพรรค

คิดเป็น ร้อยละ 40 ของเงินค่าบำรุงสมาชิกพรรคที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับในปีที่ผ่านมา

3. จัดสรรเงินตามคะแนนเสียงที่ได้รับจากการเลือกตั้ง ส.ส

ในปีภาษีที่มีการเลือกตั้งทั่วไป : พรรคการเมืองจะได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนตามคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้รับจากการเลือกตั้งทั่วไป (ร้อยละ 40 ของวงเงินจัดสรร)

<bหากไม่มีการเลือกตั้ง : พรรคการเมืองจะได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนตามอัตราส่วนเงินบริจาคภาษีเงินได้บุคคลประจำปีตามข้อ 1 (ร้อยละ 40 ของวงเงินจัดสรร)

4. จัดสรรเงินตามจำนวนสาขาของพรรคการเมือง>

พรรคการเมืองจะได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองเป็นจำนวนร้อยละ 20 ของจำนวนสาขาของพรรคการเมืองในขณะนั้น

สิ่งที่ผู้เสียภาษีควรรู้

ในปัจจุบันระบบสนับสนุนพรรคการเมืองในประเทศไทย แบ่งออกได้ 2 รูปแบบ คือ 1. เงินสนับสนุนจากภาคเอกชน (Private Financing) และ 2. เงินสนับสนุนจากภาครัฐ (Public Financing)

นั่นหมายความว่า เงินที่ใช้ไปกับการการทำกิจกรรมของพรรคการเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองใดก็ตาม ย่อมมีเงินภาษีของประชาชนอย่างเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดังนั้น ผู้เสียภาษีท่านใดที่คิดว่า การเมืองยังไม่ใช่ใกล้ตัว ลองทบทวนดูใหม่อีกครั้ง แล้วคุณจะรู้ว่า ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน การเมืองและภาษีไม่เคยเป็นไกลตัวเลย

ขอบคุณข้อมูลจาก

Facebook: กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

Website: กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)