Contents
อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง
3,549 views
โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
การอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง (เดิมเรียกว่า การบริจาคภาษีที่ชำระให้พรรคการเมือง) เป็นสิทธิที่ ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่มีภาระภาษีสามารถเลือกได้ว่าอยากให้เงินภาษีของตัวเองที่เสียไปนั้นไปเป็นเงินสนับสนุนพรรคการเมืองใดก็ได้ ในวงเงินไม่เกินภาระภาษีของตัวเอง สูงสุดไม่เกิน ฿5001 โดยจะต้องแสดงเจตนาผ่านการ ยื่นภาษี เท่านั้น2
ทั้งนี้ การอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองไม่ได้ทำให้คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมากขึ้น และไม่ทำให้คุณได้รับเงินคืนภาษีน้อยลงแต่อย่างใด
หลักเกณฑ์การอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง
- คุณต้องแสดงเจตนาตอนยื่นภาษี โดยต้องระบุว่าจะอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองหรือไม่ และต้องระบุรหัสพรรคการเมืองรวมถึงจํานวนเงินภาษีที่ต้องการอุดหนุนให้ด้วย เพราะหากระบุข้อใดข้อหนึ่งไม่ครบหรือไม่ชัดเจนจะถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมือง
- จำนวนเงินที่ระบุจะต้องไม่เกินภาระภาษีของตัวเอง แต่สูงสุดต้องไม่เกิน ฿500 หากระบุเกินวงเงินดังกล่าวจะถือว่าอุดหนุนเงินภาษีเพียงเท่าที่ไม่เกินภาระภาษีของตัวเอง และสูงสุดไม่เกิน ฿500
- คุณต้องระบุเพียงพรรคการเมืองเดียวเท่านั้น หากระบุมากกว่าหนึ่งพรรคจะถือว่าไม่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนเงินภาษีให้แก่พรรคการเมืองใดเลย
- สิทธินี้สงวนเฉพาะ บุคคลธรรมดา ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น
- เงินภาษีที่ได้แสดงเจตนาอุดหนุนให้แก่พรรคการเมืองนี้ ไม่ใช่ค่าลดหย่อน เงินบริจาคพรรคการเมือง
เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย
- หลายคนตัดสินใจไม่อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมือง เพราะเข้าใจผิดว่าจะทำให้ตัวเองได้เงินคืนภาษีน้อยลงหรือเสียภาษีแพงขึ้น แต่ความจริงแล้วการอุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองไม่ได้ทำให้คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมากขึ้น และไม่ทำให้คุณได้รับเงินคืนภาษีน้อยลงแต่อย่างใด
อ้างอิง
- ^
มาตรา 69 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
- ^
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 324)