Contents

ล.ย.01 แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน

19,274 views

โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

แบบฟอร์ม ล.ย.01 เป็นแบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อนของลูกจ้าง ที่ลูกจ้างสามารถกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆ ของตน เพื่อเป็นหลักฐานให้นายจ้างนำไปใช้สำหรับคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อย่างถูกต้อง

 

พนักงานแจ้ง ล.ย.01 มา แต่ไม่รู้ต้องทำไงต่อ?

iTAX paystation คำนวณภาษีอัตโนมัติตาม ล.ย.01 ของพนักงาน

สอบถามค่าบริการ

การใช้งานแบบฟอร์ม ล.ย.01

กรมสรรพากร วางแนวทางปฏิบัติให้ลูกจ้างเป็นผู้เตรียมแบบฟอร์ม ล.ย.01 ให้นายจ้างเพื่อแจ้งค่าลดหย่อนที่ต้องการใช้สิทธิในปีภาษี (ปีปฏิทิน) นั้นๆ โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยหักค่าลดหย่อนของพนักงานตามที่ลูกจ้างได้แจ้งไว้ พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบฟอร์ม ล.ย.01 ของลูกจ้าง1

โดยปกติ การแจ้งสิทธิลดหย่อนให้นายจ้างทราบ ลูกจ้างสามารถทำได้ตั้งแต่เดือนมกราคมของปีนั้น เพื่อให้การคำนวณหักค่าลดหย่อนมีผลตั้งแต่เดือนแรกของปี

การแจ้งสิทธิลดหย่อนตามแบบฟอร์ม ล.ย.01 สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้จ่ายค่าลดหย่อนนั้น ณ ที่เวลาที่แจ้งให้นายจ้างทราบ เช่น ลูกจ้างสามารถแจ้งสิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาทไว้ล่วงหน้าได้ตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าลูกจ้างมีแผนจะซื้อประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตอนปลายปีก็ตาม ยกเว้นค่าลดหย่อนเงินบริจาคเท่านั้นที่ให้คำนวณหักลดหย่อนได้ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคเกิดขึ้นจริง2

ทั้งนี้ นายจ้างไม่จำเป็นต้องยื่นแบบฟอร์ม ล.ย.01 ให้เจ้าหน้าที่สรรพากรแต่อย่างใด เพียงแค่เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานที่สถานประกอบการก็เพียงพอแล้ว

ค่าลดหย่อนที่สามารถแจ้งตามแบบฟอร์ม ล.ย.01 ได้

ลูกจ้างสามารถแจ้งค่าลดหย่อนที่ตนมีสิทธิให้นายจ้างทราบได้ทุกรายการ และนายจ้างต้องคำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ลูกจ้างแจ้งไว้ในแบบฟอร์ม ล.ย.01 แม้ว่าจะยังไม่ได้จ่ายค่าลดหย่อนนั้น ณ ที่เวลาที่แจ้งให้นายจ้างทราบ เช่น ลูกจ้างสามารถแจ้งสิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต 100,000 บาทไว้ล่วงหน้าได้ตั้งแต่ต้นปี แม้ว่าลูกจ้างมีแผนจะซื้อประกันชีวิตลดหย่อนภาษีตอนปลายปีก็ตาม ยกเว้นค่าลดหย่อนเงินบริจาคเท่านั้นที่ให้คำนวณหักลดหย่อนได้ก็ต่อเมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคเกิดขึ้นจริง3

ข้อดีของการใช้สิทธิ์แจ้งค่าลดหย่อนตามแบบฟอร์ม ล.ย.01 ให้นายจ้างทราบ

โดยปกติ การแจ้งสิทธิลดหย่อนตามแบบฟอร์ม ล.ย.01 ทำให้ลูกจ้างถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือนลดลง ช่วยให้ลูกจ้างได้รับเงินเดือนหลังหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปีเพิ่มขึ้นได้

อยากให้นายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่าย น้อยลง?

iTAX paystation คำนวณภาษีอัตโนมัติตาม ล.ย.01 ของพนักงาน

สอบถามค่าบริการ


อ้างอิง

  1. ^

    ข้อ 1 (2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.96/2543

  2. ^

    ข้อ 1 (2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.96/2543

  3. ^

    ข้อ 1 (2) คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.96/2543