Contents

รายจ่ายต้องห้าม

8,098 views

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

รายจ่ายต้องห้าม เป็นรายการรายจ่ายของกิจการที่กฎหมายภาษีไม่อนุญาตให้นำไปใช้สิทธิคำนวณเป็นรายจ่ายทางธุรกิจโดยหักออกจากกำไรสุทธิแม้ว่าจะจ่ายออกไปจริงก็ตาม1 ซึ่งจะส่งผลให้กิจการเสียโอกาสในการเสียภาษีต่ำลงจากรายจ่ายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ รายจ่ายต้องห้ามเป็นมาตรฐานที่ปรับใช้ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

ตัวอย่างรายจ่ายต้องห้าม

ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

โดยปกติค่ารับรองหรือค่าบริการ เช่น ค่าจัดเลี้ยงรับรองลูกค้า สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ แต่ต้องทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎกระทรวงฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522) กำหนด2 หากไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้

เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา

เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา3  หมายความรวมถึง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญา ตามกฎหมายภาษีอากรทุกประเภทด้วย4 เนื่องจากเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญา เป็นการลงโทษผู้กระทําความผิด จึงไม่ควรให้นํามาลงเป็นรายจ่ายทางภาษีอีก เพราะจะเป็นการสนับสนุนบุคคลผู้กระทําความผิด

อย่างไรก็ดี หากเป็นค่าปรับจราจรจะไม่เข้าลักษณะเป็นค่าปรับทางอาญาทางภาษี จึงไม่ต้องห้าม สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายได้ แม้ว่าใบเสร็จรับเงินค่าปรับทางอาญาไม่ได้ออกเป็นชื่อของบริษัทก็ตาม

ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล5 ไม่สามารถหักเป็นรายจ่ายได้ เนื่องจากภาษีเงินได้เป็นภาษีทางตรง บริษัทจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าภาษีเอง ไม่สามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้ ดังนั้น แม้บริษัทจะจ่ายออกไปจริงและเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ ก็ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อช่วยตัวกิจการเสียภาษีต่ำลงได้

ติดต่อ iTAX sme เพื่อรับบริการวางแผนภาษีธุรกิจ ตั้งบริษัท ทำบัญชี จด VAT ภาษีเงินได้นิติบุคคล และอื่นๆ โทร. 062-486-9787

ทำธุรกิจอยู่ จดบริษัทเลยเสียภาษีถูกกว่ามั้ย?

ติดต่อขอรับบริการได้ที่ iTAX sme

ค่าบริการ โทร 062-486-9787


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 65 ตรี ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 65 ตรี (4) ประมวลรัษฎากร

  3. ^

    มาตรา 65 ตรี (6) ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    คําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560

  5. ^

    มาตรา 65 ตรี (6) ประมวลรัษฎากร