Contents
ภาษีเงินได้ (พ.ศ. 2475)
ภาษีเงินได้1 เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของทุกคน เริ่มจัดเก็บครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 ปัจจุบันถูกยกเลิกแล้ว และถูกแทนที่โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร
ความเป็นมา
ภาษีเงินได้ภาษีเงินได้2 เริ่มจัดเก็บในปี พ.ศ. 2475 ตามที่ระบุไว้ในประกาศ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475 หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดเก็บ คือ กรมสรรพากร ในการจัดเก็บภาษีประเภทนี้จากทุกๆ คนตามประเภทเงินที่ได้มาดังนี้คือ
- เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ เบี้ยหวัด เงินรายได้หรือบำเหน็จ
- เงินค่าธรรมเนียม เงินค่านายหน้า เงินโบนัส
- เงินค่าเช่าบ้าน
- ค่าจ้างแรงงาน
- เงินที่รับเป็นดอกเบี้ยพันธบัตร เงินกู้ยืมหรือเงินฝาก เงินดอกเบี้ยในใบหุ้นกู้
- เงินปันผล เงินที่ได้รับจากส่วนแบ่งผลกำไรที่ลงทุน
- เงินที่พระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์เป็นประจำ
- เงินได้ในวิชาชีพ อันมี กฎหมาย เวชกรรม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการบัญชี
สำหรับพิกัดอัตราของภาษีเงินได้ มี 2 อัตรา คือ อัตราปกติของภาษีเงินได้คิดร้อยละ 8 ของยอดเงินได้ทั้งสิ้น และอีกอัตราหนึ่ง คือ เงินได้ทุกรายต้องได้รับผ่อนผันโดยวิธียกเว้นหรือลดหย่อน ดังนี้ เงิน 2,400 บาทยกเว้นภาษีเงินได้ เงินได้อีก 3,600 บาทต้องเสียภาษีเงินได้อีกกึ่งอัตราปกติ
พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ พ.ศ. 2475 ต่อมาถูกยกเลิกไปเมื่อรัฐบาลทำการปรับปรุงการภาษีอากรครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2482
อ้างอิง
- ^
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย คลังข้อมูลและบทสำรวจสถานะทางวิชาการ, สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527), หน้า 122-123
- ^
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ภาษีอากรในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย คลังข้อมูลและบทสำรวจสถานะทางวิชาการ, สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2527), หน้า 122-123