ในที่สุดก็ประกาศเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินดิจิตอล (อ้างอิงจาก พระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561) เพื่อกำหนดว่านักลงทุนต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. Cryptocurrency และเหรียญ ICO เรียกว่า ทรัพย์สินดิจิตอล
ทรัพย์สินดิจิตอลที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีตามกฎหมายนี้ ได้แก่ Cryptocurrency (คริปโทเคอร์เรนซี) และ Digital Token (โทเคนดิจิทัล) ซึ่งในที่นี้ขออนุญาตเรียกทรัพย์สินดิจิตอลรวมๆ ว่า coin
Crytocurrency คือ coin ที่เกิดขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนเสมือนเป็นเงิน เช่น Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC) หรือ Ethereum (ETH)
ส่วน Digital Token คือ coin ที่เกิดขึ้นจากการระดมทุนผ่านการทำ ICO (Initial Coin Offering) เพื่อนำ coin ไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการเฉพาะระหว่างผู้ออก coin และผู้ถือ coin เช่น OmiseGo (OMG), JFinCoin (JFIN) หรือ Carboneum (C8) เป็นต้น
2. กำไรจากการขาย coin ให้หักภาษี 15%
หากขาย coin แล้วได้กำไรเนื่องจากขายได้ราคามากกว่าต้นทุนที่ซื้อมา ก่อนนักลงทุนจะได้รับเงิน ผู้ขายจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากกำไรด้วยก่อนจะจ่ายเงินให้ลูกค้าที่เป็นนักลงทุน ( มาตรา 40(4)(ฌ),50(2)(ฉ) ประมวลรัษฎากร )
3. ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการถือ coin ให้หักภาษี 15%
หาก coin ที่ถือไว้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์หรือส่วนแบ่งกำไรให้แก่ผู้ถือ เช่น ถ้า coin นั้นจะได้รับเงินปันผลจากผู้ออก coin ถ้ากิจการนั้นมีกำไรโดยแบ่งจ่ายให้ตามสัดส่วนจำนวน coin ที่ถืออยู่ กรณีนี้ผู้ออก coin จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% จากส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์นั้นด้วยก่อนจะจ่ายเงินให้ลูกค้าที่เป็นผู้ถือ coin (มาตรา 40(4)(ซ),50(2)(ฉ) ประมวลรัษฎากร)
4. ถูกหักภาษี 15% ไปแล้ว ต้องนำมายื่นภาษีประจำปีด้วยอยู่ดี
รายได้จาก coin เหล่านี้แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไปแล้ว นักลงทุนก็ยังต้องนำมายื่นภาษีประจำปีด้วยอยู่ดี เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้สิทธิ์ไม่ต้องยื่นภาษี (ซึ่งในส่วนนี้จะแตกต่างกับรายได้จากการลงทุนในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผลอย่างชัดเจนที่สามารถปล่อยให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยไม่ต้องนำมายื่นภาษีอีกก็ได้ ดังนั้น การหักภาษีทรัพย์สินดิจิตอล ณ ที่จ่าย 15% จึงเป็นเพียงการชำระภาษีล่วงหน้าเท่านั้น ยังไม่ใช่ภาษีสุดท้าย)
5. รายได้จาก coin หักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลย
เนื่องจาก coin เหล่านี้ถูกกำหนดให้เป็น เงินได้ประเภทที่ 4 ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับพวกดอกเบี้ยและเงินปันผลซึ่งหักต้นทุน ค่าใช้จ่าย ใดๆ ไม่ได้อยู่แล้ว จึงทำให้รายได้จาก coin เหล่านี้หักต้นทุนค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ได้เลย (มีเพียงกรณีกำไรจากการขาย coin เท่านั้นที่ให้หักยกเว้นต้นทุนค่าซื้อ coin ได้) ดังนั้น ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ แม้ว่าจะมีต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง เช่น ค่าเครื่องขุด ค่าไฟฟ้า ค่าเช่า ก็ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อทำให้เสียภาษีถูกลงได้
สรุปและข้อสังเกตบางประการ
ทรัพย์สินดิจิตอล ได้แก่ Crytocurrency และ Digital Token ซึ่งกำไรจากการขาย coin หรือผลประโยชน์ที่ได้รับจากถือ coin จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และจะต้องนำไปยื่นภาษีประจำปีด้วย
และข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ
การคำนวณภาษี จากกำไรทำได้ยากมากๆ ในทางปฏิบัติ อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดช่องว่างบางประการที่ต้องรอการตีความอยู่ด้วย เช่น ถ้าซื้อ coin มาจากกระดาน Crytocurrency Exchange จากต่างประเทศแล้วโอนเข้ามาที่กระดาน Crytocurrency Exchange ในประเทศไทย แล้วถอนออกมาเป็นสกุลเงินบาทจะหักภาษี 15% จากกำไรได้อย่างไร เพราะไม่ทราบว่าต้นทุนตอนซื้อที่แท้จริงเป็นเท่าไหร่กันแน่? โดยเฉพาะสายขุดที่จะหักค่าใช้จ่ายจากต้นทุนการซื้อเครื่องขุดและค่าไฟฟ้าไม่ได้เลย
และหากนักลงทุนบางคนโอนย้ายเงินไปอยู่ในบัตรเครดิตที่แปลง Crytocurrency หรือ Digital Token มาใช้จ่ายเลย เช่น บัตร BitPay ก็น่าจะหลุดรอดจากเกณฑ์ตรงนี้ไปด้วยเช่นกัน (เนื่องจากไม่ใช่ผู้ให้บริการในไทย)
RELATED POSTS
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า?เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
วันเกิดกับภาษีวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน

4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษีแม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
ฟรีแลนซ์ยื่นภาษียังไง?การยื่นภาษีของฟรีแลนซ์ เงินได้ฟรีแลนซ์ถือเป็น เงินได้ประเภท 2 (เงินได้ตามมาตรา 40(2)) และจะต้องใช้ใบ 50 ทวิ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.) ในการยื่นภาษีเช่นกัน
เงินคืนภาษี กับเรื่องต้องระวัง!สิ่งหนึ่งที่รัฐใช้จูงใจให้ผู้มีรายได้หันมายื่นภาษีกันมากขึ้นก็คือ “เงินคืนภาษี” แต่แม้ว่า การได้รับเงินคืนภาษีจะทำให้หลายคนพอใจ แต่การที่คุณจะได้รับเงินคืนภาษีนั้น ก็มีเรื่องต้องระวังอยู่เช่นกัน
RELATED POSTS
บริจาคให้โรงพยาบาลลดหย่อนภาษีได้แล้วการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลรัฐ และสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า รวมถึงเงินบริจาคโครงการก้าวคนละก้าวก็สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
ถูกหวยต้องเสียภาษีรึเปล่า?เมื่อผลประกาศมาว่าเราถูกรางวัล! ไม่ว่าจะเป็นรางวัลที่ 1 หรือแม้แต่รางวัลเลขท้ายสองตัว เราจะมีสิทธินำสลากฯ ไปขึ้นรางวัล ซึ่งนั่นย่อมหมายความว่าเรารวยขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของคำถามว่า เงินรางวัลที่ได้รับนั้นเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีรึเปล่า?
วันเกิดกับภาษีวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการคำนวณภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่อาจคาดไม่ถึง เพราะภาษีบางรายการมีความเกี่ยวข้องกับเกณฑ์อายุด้วย ดังนั้น วันเกิดของคุณจึงอาจส่งผลให้คุณได้สิทธิ์หรือเสียสิทธิ์ทางภาษีได้ในเวลาเดียวกัน

4 ปัญหาสุดฮิตในฤดูภาษีแม้มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้หลายคนจะคุ้นเคยกับการที่จะต้อง ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วง วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี อยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะยื่นภาษีครั้งแรก หรือยื่่นภาษีมาแล้วหลายครั้ง ก็มักจะเจอปัญหาเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และทีมงาน iTAX ได้ทำการรวบรวมปัญหาสุดฮิตที่พบบ่อยในช่วงยื่นภาษีมาให้แล้ว จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน 1. ภาษากฎหมาย ยาวไปไม่อ่าน เปลี่ยนแปลงบ่อยยิ่งกว่าอากาศ? "ภาษีเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์" คืออะไร? จะเรียกง่ายๆ ว่า "สิทธิประโยชน์จากโครงการบ้านหลังแรก" ไม่ได้เหรอ? แล้วทุกวันนี้กฎหมายภาษีเปลี่ยนแปลงบ่อยมว๊ากก อยู่ดีๆ ภาษีข้อนี้ลดหย่อนข้อนั้นก็ผุดมา? ซึ่ง iTAX จะทำหน้าที่คอย Update กฎหมายแล้วจัดการแปลเป็นภาษาคนให้คุณทันที 2. ต้องกรอกแบบฟอร์มอะไรบ้าง? ต้นปีจะยื่น ภ.ง.ด. 90 หรือ 91? กลางปีต้องยื่น ภ.ง.ด. 94 ด้วยรึเปล่า? จะยื่นฟอร์มเสริมอะไรไปกับ ภ.ง.ด.บ้าง? ข้อมูลซ้ำๆ กัน อย่างเอาเลขนี้มารวมกับเลขนี้กรอกลงฟอร์มนี้ แล้วลบเลขนี้ค่อยมากรอกลงอีกฟอร์มนึง หรือแค่พิมพ์ชื่อใส่ไปทุกฟอร์มก็เมื่อยมือแล้ว ช่วยถามทีเดียวและกรอกลงมันทุกฟอร์มเลยได้มั๊ย? ได้สิ iTAX ทำให้หมดทุกอย่าง 3. ใช้สิทธิลดหย่อนเรื่องนี้ได้ป่าว จะโดนปรับทีหลังมั๊ย? ก็ไม่ได้อยากใช้สิทธิเกินจนต้องมาโดนปรับย้อนหลังหรอก แต่จะไปค้นจากไหนว่าลดหย่อนแต่ละรายการมีเงื่อนไขอะไรบ้าง? เอาแค่ ลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ ก็มีเงื่อนไขตั้ง 3-4 ข้อแล้ว ต้องมานั่งค้นทุกรายการกันเลยไหมว่าเราเข้าข่ายลดหย่อนอะไรบ้างรึเปล่า? คงจะดีถ้ามีใครมาสรุปแล้วเช็คให้เลยว่าถูกเงื่อนไขทุกข้อไม่เกินและใช้สิทธิได้ครบจริงๆ ไม่ตกหล่น? ... แล้ว iTAX ก็จัดการให้คุณง่าย... ได้อีก 4. มีทางได้เงินคืนมากกว่านี้มั๊ย? คนนี้บอกรวยได้ภาษีไม่ยาก คนนั้นได้เงินคืนเยอะแยะ บางคนถึงขั้นลงทุนจ้างนักวางแผนภาษีส่วนตัว แต่เราไม่รู้จะไปหาที่ไหนเริ่มต้นยังไง? ลองใช้ iTAX ดู คุณจะได้แผนภาษีพร้อมแผนการเงินที่เหมาะกับสุขภาพการเงินและเป้าหมายทางการเงินของคุณ เหมือนมีที่ปรึกษามืออาชีพคอยบริการส่วนตัวให้ฟรีๆ ไม่ว่าในอดีตภาษีจะเป็นเรื่องที่ทำให้คุณปวดหัวมากแค่ไหน เราอยากให้คุณลืมความยุ่งยากน่าปวดหัวเหล่านั้นไปซะ เพราะ iTAX คือโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณจัดการคำนวณภาษี วางแผนภาษี และหาตัวช่วยลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ แบบคนไม่รู้ภาษีก็ทำได้ อยากรู้ว่าเราพูดเรื่องจริงมั้ย? คลิกเลย www.itax.in.th
ฟรีแลนซ์ยื่นภาษียังไง?การยื่นภาษีของฟรีแลนซ์ เงินได้ฟรีแลนซ์ถือเป็น เงินได้ประเภท 2 (เงินได้ตามมาตรา 40(2)) และจะต้องใช้ใบ 50 ทวิ (ตั้งแต่ 1 ม.ค. - 31 ธ.ค.) ในการยื่นภาษีเช่นกัน
เงินคืนภาษี กับเรื่องต้องระวัง!สิ่งหนึ่งที่รัฐใช้จูงใจให้ผู้มีรายได้หันมายื่นภาษีกันมากขึ้นก็คือ “เงินคืนภาษี” แต่แม้ว่า การได้รับเงินคืนภาษีจะทำให้หลายคนพอใจ แต่การที่คุณจะได้รับเงินคืนภาษีนั้น ก็มีเรื่องต้องระวังอยู่เช่นกัน