รายละเอียด เยียวยากลุ่มคนกลางคืน นักดนตรี ผับบาร์ 5,000 บาท

ทั่วไป

21,279 VIEWS

เยียวยากลุ่มคนกลางคืน นักดนตรี ผับบาร์ คนละ 5,000 บาท ลูกจ้าง ม.33 ในระบบประกันสังคมรับเพิ่ม 2 ต่อ เงินเยียวยา 50% ประกันสังคม กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

3 ธันวาคม 2564 – นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมร่วมกับ นางสาวสุนทราลักษณ์ เพ็ชรกูล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และผู้แทนกลุ่มคนกลางคืน นำโดย นายธเนส สุขวัฒน์ ตัวแทนนักดนตรี ผู้จัดงานคอนเสิร์ต นายวรพจน์ นิ่มวิจิตร ตัวแทนผู้จัดงานคอนเสิร์ต อีเว้นท์ จากสมาพันธ์เครือข่ายคนบันเทิงอาชีพแห่งประเทศไทย หารือแนวทางการเยียวยานักร้อง นักดนตรี นักแสดง และผู้ประกอบการสถานบันเทิง คลับ ผับ บาร์ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแรงงาน เข้าร่วม

แบ่งแนวทาง เยียวยากลุ่มคนกลางคืน 3 กลุ่ม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า แนวทางการช่วยเหลือ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นายจ้าง

กลุ่มที่ 2 ลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม

กลุ่มที่ 3 ลูกจ้างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

  • ลูกจ้างนอกระบบประกันสังคมจะได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล โดยใช้เงินกู้จากรัฐบาล แต่ต้องให้สมาคม/สมาพันธ์รับรอง ทั้งนี้ ได้ตรวจสอบตัวเลขในระบบพบว่า ทั้งประเทศคาดว่าอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 1.5-2 แสนราย ซึ่งจะต้องใช้เงินกู้จากรัฐบาลเยียวยาวงเงินราว 750-1,000 ล้านบาท ส่วนผู้ที่เกินอายุเกิน 65 ปี ซึ่งไม่เข้าข่ายมาตรา 40 ประกันสังคม จะประสานให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สำรวจตัวเลขและเป็นผู้ดูแลเยียวยาต่อไป

กระทรวงแรงงานเร่งดูแลคนกลางคืนทุกฝ่ายตามนโยบายนายกฯ

นายสุชาติเปิดเผยว่า “นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยและให้ความสำคัญกับการดูแลช่วยเหลือกลุ่มคนทำงานทุกสาขาอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มนักร้อง นักดนตรี และอาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงแรงงาน จะเร่งดูแลเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งผู้ประกอบการ ลูกจ้างกลุ่มเหล่านี้ให้ได้รับการช่วยเหลือทุกคน ทุกกลุ่มอย่างเร่งด่วน ตามนโยบายรัฐบาล โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานยังกล่าวเพิ่มเติมว่า จะเร่งเยียวยากลุ่มคนกลางคืนภายในเดือนนี้ และแผนการเยียวยาจะให้ 1 เดือน ก่อน เนื่องจากคาดว่าในวันที่ 16 มกราคม 2565 ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาจจะสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้

เผย ร้านผับ บาร์ คาราโอเกะ ปรับรูปแบบเป็นร้านอาหารได้

รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานกล่าวว่า กรณีที่ร้านผับ บาร์ คาราโอเกะ ซึ่งเปิดดำเนินกิจการและเป็นผู้เสียภาษี แต่ปัจจุบันขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ และทางร้านอาหารกลับเปิดให้นั่งรับประทานได้ถึงเวลา 23.00 น. หากทางสถานประกอบการต้องการปรับรูปแบบกิจการก็สามารถทำได้ โดยในส่วนนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายกับทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ไปแล้วว่า ให้คุยกับทางผู้ประกอบการผับ บาร์ต่างๆ ว่าสามารถปรับเป็นร้านอาหารได้หรือไม่ ปรับเปลี่ยนสู่ยุคสมัยที่เราต้องเข้าเกณฑ์ได้ไหม เปิดอย่างมีเงื่อนไข

“ต้องยอมรับว่า ทุกคนเสียภาษีหมด แต่เราอย่าลืมว่าตอนเกิดโรคระบาด เม็ดเงินที่เราใช้ ทั้งเงินกู้ งบกลางต่างๆ ก็มาจากพี่น้องทุกอาชีพ ที่ต้องใช้หนี้เงินกู้ด้วยกันหมด อันนี้ถ้าเราเปิดผับ บาร์ ในวันนี้ ผมถามว่า ขณะที่เรากำลังเปิดประเทศอยู่ ที่กำลังไปได้ดี ถ้ามันเกิดเป็นคลัสเตอร์ขึ้นมา มันก็ถอยไปอีก กลับมาเริ่มต้นใหม่ ผมคิดว่าตอนนี้ถ้าอะไรเปิดไม่ได้ ก็ช่วยเหลือประคับประคองไปก่อน”

“ถ้าศิลปินมี 1 แสนคน เยียวยาคนละ 5 พันบาท รวมตัวเลขงบประมาณ 500 ล้านบาท ส่วนถ้ามีตัวเลข 2 แสนคน ใช้เงิน 1 พันล้านบาท แต่คุ้มค่ามากกว่า ถ้าเปิดสถานบันเทิงแล้วเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา ใช้เงินมากกว่า 500 ล้าน 1 พันล้าน ส่วนศิลปินกลางแจ้ง นายกฯ อนุญาตให้เปิดแล้ว เหลือแต่ผับ เธค บาร์ ที่ต้องเยียวยา” นายสุชาติ กล่าวทิ้งท้าย

ตัวแทนกลุ่มคนกลางคืน ขอบคุณช่วยเยียวยาความเดือดร้านนักดนตรี

ด้าน นายธเนส กล่าวว่า ขอบคุณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอย่างมาก ที่ช่วยให้ความเดือดร้อนของพี่น้องนักดนตรีบรรเทาเบาบางลง โดยภายในเดือนนี้ จะได้รับการเยียวยาอย่างแน่นอน เมื่อถามว่า กรณีที่ผ่านพ้นไปถึงวันที่ 16 มกราคม แล้วเกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้น มีแผนในการรับมืออย่างไร นายธเนส กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม เราต้องช่วยภาครัฐด้วย ไม่ใช่ว่าเปิดแล้วไม่รับผิดชอบ ขอให้ทุกภาคส่วนของสถานบริการทำตัวเองให้ได้มาตรฐานทั้งหมด หรือแม้แต่การเข้าไปขอมาตรฐาน เช่น SHA ต้องดูแลตัวเอง แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ขอให้ปิดไป เพราะมันจะทำให้คนอื่นๆ ที่เขาเป็นเด็กดีนั้นเสียไปหมด

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)