เขตเลือกตั้งภาคใต้ 2566 ทั้ง 14 จังหวัด รวม 60 เขตเลือกตั้ง

วิเคราะห์

2,160 VIEWS

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง เพื่อกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566 สำหรับเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้แบ่ง เขตเลือกตั้งภาคใต้ ทั้ง 14 จังหวัด นับรวมได้ 60 เขตเลือกตั้ง โดยพื้นที่ภาคใต้เป็นภาคที่ได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ รองจากภาคอีสาน (133 เขต) และภาคกลาง (122 เขต)  โดยนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีเขตเลือกตั้งมากที่สุดในภาคใต้ โดยมีราษฎร 1,542,158 คน ทำให้ได้รับสิทธิเลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คน จาก 10 เขตเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งภาคใต้ 14 จังหวัด – 60 เขตเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งภาคใต้ 14 จังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 60 เขต โดยแบ่งเขตเลือกตั้งตามจังหวัดได้ดังนี้

กระบี่ – 3 เขตเลือกตั้ง

กระบี่มีราษฎร 477,792 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

กระบี่ – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองกระบี่
  2. อําเภอเหนือคลอง (ยกเว้นตําบลโคกยาง ตําบลห้วยยูง และตําบลปกาสัย)

กระบี่ – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภออ่าวลึก
  2. อําเภอปลายพระยา
  3. อําเภอเขาพนม

กระบี่ – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอคลองท่อม
  2. อําเภอลําทับ
  3. อําเภอเกาะลันตา
  4. อําเภอเหนือคลอง (เฉพาะตําบลโคกยาง ตําบลห้วยยูง และตําบลปกาสัย)

ชุมพร – 3 เขตเลือกตั้ง

ชุมพรมีราษฎร 505,347 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

ชุมพร – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองชุมพร (ยกเว้นตําบลวังใหม่ ตําบลบ้านนา ตําบลหาดพันไกร ตําบลบางลึก และตําบลถ้ําสิงห์)
  2. อําเภอสวี (ยกเว้นตําบลเขาทะลุ และตําบลเขาค่าย)

ชุมพร – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองชุมพร (เฉพาะตําบลวังใหม่ ตําบลบ้านนา ตําบลหาดพันไกร ตําบลบางลึก และตําบลถ้ําสิงห์)
  2. อําเภอท่าแซะ
  3. อําเภอปะทิว

ชุมพร – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอสวี (เฉพาะตําบลเขาทะลุ และตําบลเขาค่าย)
  2. อําเภอหลังสวน
  3. อําเภอละแม
  4. อําเภอพะโต๊ะ
  5. อําเภอทุ่งตะโก

ตรัง – 4 เขตเลือกตั้ง

ตรังมีราษฎร 636,813 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 4 คน

ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองตรัง

ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอห้วยยอด
  2. อําเภอรัษฎา
  3. อําเภอวังวิเศษ

ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอนาโยง
  2. อําเภอปะเหลียน
  3. อําเภอหาดสําราญ
  4. อําเภอย่านตาขาว (เฉพาะตําบลหนองบ่อ ตําบลนาชุมเห็ด ตําบลในควน และตําบลโพรงจระเข้)

ตรัง – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอกันตัง
  2. อําเภอสิเกา
  3. อําเภอย่านตาขาว (ยกเว้นตําบลหนองบ่อ ตําบลนาชุมเห็ด ตําบลในควน และตําบลโพรงจระเข้)

นครศรีธรรมราช – 10 เขตเลือกตั้ง

นครศรีธรรมราชมีราษฎร 1,542,158 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คน

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช (เฉพาะ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตําบลปากนคร ตําบลท่าไร่ ตําบลท่าเรือ ตําบลบางจาก เทศบาลตําบลบางจาก และเทศบาลตำบลปากนคร)

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช
    (เฉพาะตําบลท่างิ้ว ตําบลกําแพงเซา ตําบลโพธิ์เสด็จ ตําบลนาเคียน ตําบลนาทราย ตําบลมะม่วงสองต้น ตําบลไชยมนตรี ตําบลปากพูน ตําบลท่าซัก และเทศบาลตําบลท่าแพ)
  2. อําเภอพระพรหม

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอปากพนัง
  2. อําเภอหัวไทร

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอชะอวด
  2. อําเภอเชียรใหญ่
  3. อําเภอเฉลิมพระเกียรติ

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอร่อนพิบูลย์
  2. อําเภอจุฬาภรณ์
  3. อําเภอลานสกา

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 6

  • อําเภอทุ่งสง (ยกเว้นตําบลเขาขาว)

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอถ้ําพรรณรา
  2. อําเภอทุ่งใหญ่
  3. อําเภอบางขัน
  4. อำเภอทุ่งสง (เฉพาะตําบลเขาขาว)

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 8

  1. อําเภอพิปูน
  2. อําเภอฉวาง
  3. อําเภอช้างกลาง
  4. อําเภอนาบอน

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 9

  1. อําเภอพรหมคีรี
  2. อําเภอนบพิตํา
  3. อําเภอท่าศาลา (เฉพาะตําบลท่าศาลา ตําบลไทยบุรี ตําบลหัวตะพาน ตําบลโพธิ์ทอง ตําบลโมคลาน ตําบลดอนตะโก และเทศบาลตําบลท่าศาลา)

นครศรีธรรมราช – เขตเลือกตั้งที่ 10

  1. อําเภอขนอม
  2. อําเภอสิชล
  3. อําเภอท่าศาลา (เฉพาะตําบลกลาย ตําบลตลิ่งชัน ตําบลสระแก้ว และตําบลท่าขึ้น)

นราธิวาส – 5 เขตเลือกตั้ง

นราธิวาสมีราษฎร 816,803 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน

นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองนราธิวาส
  2. อําเภอยี่งอ

นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอตากใบ
  2. อําเภอสุไหงโก-ลก

นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอแว้ง
  2. อําเภอสุไหงปาดี
  3. อําเภอเจาะไอร้อง

นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอระแงะ
  2. อําเภอจะแนะ
  3. อําเภอสุคิริน

นราธิวาส – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอบาเจาะ
  2. อําเภอรือเสาะ
  3. อําเภอศรีสาคร

ปัตตานี – 5 เขตเลือกตั้ง

ปัตตานีมีราษฎร 731,408 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 5 คน

ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองปัตตานี

ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอหนองจิก
  2. อําเภอโคกโพธิ์

ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอยะรัง
  2. อําเภอแม่ลาน
  3. อําเภอทุ่งยางแดง

ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอสายบุรี
  2. อําเภอไม้แก่น
  3. อําเภอกะพ้อ
  4. อําเภอปะนาเระ

ปัตตานี – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอยะหริ่ง
  2. อําเภอมายอ

พังงา – 2 เขตเลือกตั้ง

พังงามีราษฎร 263,389 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

พังงา – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองพังงา
  2. อําเภอตะกั่วทุ่ง
  3. อําเภอเกาะยาว
  4. อําเภอทับปุด

พังงา – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอกะปง
  2. อําเภอตะกั่วป่า
  3. อําเภอคุระบุรี
  4. อําเภอท้ายเหมือง

พัทลุง – 3 เขตเลือกตั้ง

พัทลุงมีราษฎร 521,278 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

พัทลุง – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองพัทลุง
  2. อําเภอเขาชัยสน

พัทลุง – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอควนขนุน
  2. อําเภอป่าพะยอม
  3. อําเภอศรีบรรพต
  4. อําเภอศรีนครินทร์
  5. อําเภอกงหรา (เฉพาะตําบลสมหวัง และตําบลชะรัด)

พัทลุง – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอตะโหมด
  2. อําเภอบางแก้ว
  3. อําเภอป่าบอน
  4. อําเภอปากพะยูน
  5. อําเภอกงหรา (ยกเว้นตําบลสมหวัง และตําบลชะรัด)

ภูเก็ต – 3 เขตเลือกตั้ง

ภูเก็ตมีราษฎร 406,986 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

ภูเก็ต – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองภูเก็ต (เฉพาะตําบลตลาดใหญ่ ตําบลตลาดเหนือ ตําบลรัษฎา และตําบลเกาะแก้ว)

ภูเก็ต – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองภูเก็ต (ยกเว้นตําบลตลาดใหญ่ ตําบลตลาดเหนือ ตําบลรัษฎา และตําบลเกาะแก้ว)
  2. อําเภอกะทู้ (ยกเว้นตําบลกะทู้)

ภูเก็ต – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอถลาง
  2. อําเภอกะทู้ (เฉพาะตําบลกะทู้)

ยะลา – 3 เขตเลือกตั้ง

ยะลามีราษฎร 544,373 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

ยะลา – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองยะลา (ยกเว้นตําบลบุดี ตําบลเปาะเส้ง และตําบลบันนังสาเรง)
  2. อําเภอยะหา (เฉพาะตําบลยะหา ตําบลตาชี และตําบลบาโงยซิแน)

ยะลา – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองยะลา (เฉพาะตําบลบุดี ตําบลเปาะเส้ง และตําบลบันนังสาเรง)
  2. อําเภอยะหา (ยกเว้นตําบลยะหา ตําบลตาชี และตําบลบาโงยซิแน)
  3. อําเภอรามัน
  4. อําเภอกาบัง

ยะลา – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอกรงปินัง
  2. อําเภอบันนังสตา
  3. อําเภอธารโต
  4. อําเภอเบตง

ระนอง – 1 เขตเลือกตั้ง

ระนองมีราษฎร 179,600 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 1 คน

ระนอง – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • ทั้งจังหวัด

สตูล – 2 เขตเลือกตั้ง

สตูลมีราษฎร 324,763 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

สตูล – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองสตูล
  2. อําเภอควนโดน
  3. อําเภอควนกาหลง
    (เฉพาะตําบลทุ่งนุ้ย)

สตูล – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอละงู
  2. อําเภอท่าแพ
  3. อําเภอทุ่งหว้า
  4. อําเภอมะนัง
  5. อําเภอควนกาหลง (ยกเว้นตําบลทุ่งนุ้ย)

สงขลา – 9 เขตเลือกตั้ง

สงขลามีราษฎร 1,421,318 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 9 คน

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองสงขลา

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 2

  • อําเภอหาดใหญ่ (เฉพาะตําบลหาดใหญ่ และตําบลคลองอู่ตะเภา)

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอนาหม่อม
  2. อําเภอหาดใหญ่ (เฉพาะตําบลบ้านพรุ ตําบลคอหงส์ ตําบลพะตง ตําบลทุ่งใหญ่ ตําบลท่าข้าม และตําบลนํ้าน้อย)
  3. อําเภอจะนะ (เฉพาะตําบลคลองเปียะ และตําบลจะโหนง)

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอระโนด
  2. อําเภอกระแสสินธ์ุ
  3. อําเภอสทิงพระ
  4. อําเภอสิงหนคร (เฉพาะตําบลม่วงงาม ตําบลบางเขียด ตําบลชะแล้
  5. ตําบลรําแดง และตําบลวัดขนุน)

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอรัตภูมิ
  2. อําเภอควนเนียง
  3. อําเภอสิงหนคร (เฉพาะตําบลปากรอ ตําบลป่าขาด ตําบลทํานบ ตําบลชิงโค ตําบลหัวเขา และตําบลสทิงหม้อ)

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. อําเภอสะเดา
  2. อําเภอคลองหอยโข่ง

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอนาทวี
  2. อําเภอสะบ้าย้อย
  3. อําเภอเทพา (เฉพาะตําบลลําไพล)

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 8

  1. อําเภอจะนะ (เฉพาะตําบลบ้านนา ตําบลป่าชิง ตําบลสะพานไม้แก่น ตําบลสะกอม ตําบลนาหว้า ตําบลนาทับ ตําบลน้ําขาว ตําบลขุนตัดหวาย ตําบลท่าหมอไทร ตําบลคู ตําบลแค และตําบลตลิ่งชัน)
  2. อําเภอเทพา (เฉพาะตําบลเทพา ตําบลปากบาง ตําบลเกาะสะบ้า ตําบลท่าม่วง ตําบลวังใหญ่ และตําบลสะกอม)

สงขลา – เขตเลือกตั้งที่ 9

  1. อําเภอบางกล่ํา
  2. อําเภอหาดใหญ่ (เฉพาะตําบลคลองแห ตําบลควนลัง ตําบลฉลุง ตําบลทุ่งตําเสา และตําบลคูเต่า)

สุราษฎร์ธานี – 7 เขตเลือกตั้ง

สุราษฎร์ธานีมีราษฎร 1,064,957 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 7 คน

สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี (ยกเว้นตําบลวัดประดู่ และตําบลขุนทะเล)

สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเกาะพะงัน 
  2. อําเภอเกาะสมุย
  3. อําเภอดอนสัก
  4. อําเภอกาญจนดิษฐ์ (เฉพาะตําบลท่าทอง ตําบลพลายวาส ตําบลท่าอุแท และตําบลคลองสระ)

สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอเวียงสระ
  2. อําเภอบ้านนาสาร (ยกเว้นตําบลทุ่งเตา และตําบลทุ่งเตาใหม่)
  3. อําเภอเคียนซา (ยกเว้นตําบลบ้านเสด็จ)

สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอพุนพิน
  2. อําเภอคีรีรัฐนิคม
  3. อําเภอบ้านตาขุน

สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอพระแสง
  2. อําเภอชัยบุรี
  3. อําเภอพนม
  4. อําเภอเคียนซา (เฉพาะตําบลบ้านเสด็จ)

สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. อําเภอท่าชนะ
  2. อําเภอไชยา
  3. อําเภอท่าฉาง
  4. อําเภอวิภาวดี

สุราษฎร์ธานี – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอเมืองสุราษฎร์ธานี (เฉพาะตําบลขุนทะเล และตําบลวัดประดู่)
  2. อําเภอกาญจนดิษฐ์ (ยกเว้นตําบลท่าทอง ตําบลพลายวาส ตําบลท่าอุแท และตําบลคลองสระ)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566

  • จำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร 65,106,481 คน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565
  • กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้งโดยใช้ฐานเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน
  • เขตเลือกตั้ง 400 เขต สามารถแบ่งจำนวนตามภาคได้ดังนี้
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 133 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 133 คน)
    • ภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 122 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 122 คน)
    • ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 60 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 60 คน)
    • ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี 37 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 37 คน)
    • ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี 29 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 29 คน)
    • ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 19 คน)
  • กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน จึงได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุด คือ 33 เขตเลือกตั้ง ทำให้มี สส. แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คนในจังหวัดเดียว
  • ตราด ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี เป็น 4 จังหวัดที่มีเขตเลือกเพียงจังหวัดละ 1 เขต ทำให้ทั้ง 4 จังหวัดนี้มี สส. แบบแบ่งเขตได้จังหวัดละ 1 คน
  • จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน มีจำนวน 21 จังหวัด
  • จังหวัดที่สามารถมี สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คนขึ้นไป มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
    1. กรุงเทพมหานคร ได้ 33 คน
    2. นครราชสีมา ได้ 16 คน
    3. ขอนแก่น ได้ 11 คน
    4. อุบลราชธานี ได้ 11 คน
    5. ชลบุรี ได้ 10 คน
    6. เชียงใหม่ ได้ 10 คน
    7. นครศรีธรรมราช ได้ 10 คน
    8. บุรีรัมย์ ได้ 10 คน
    9. อุดรธานี ได้ 10 คน

ไม่สะดวกไปเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 สามารถใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 แทนได้

กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขตเลือกตั้ง และ นอกราชอาณาจักร ได้ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 เพื่อให้สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้จริงในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการปกครอง BORA PORTAL เป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้

ช่วงเวลาลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566

  • ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566

ช่องทางลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า

  1. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตัวเองหรือผู้แทน
  2. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นทางไปรษณีย์
  3. ยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์

ขั้นตอนการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขต ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง”
  6. ที่หน้าระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต ให้เลือกจังหวัดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  7. เลือกสถานที่ที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  8. กด “บันทึกข้อมูล”
  9. กด “ยืนยัน”
  10. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

กรณีต้องการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า “นอกเขตราชอาณาจักร” สำหรับคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ทางอินเทอเน็ต”
  6. ตรวจสอบข้อมูลเลขหนังสือเดินทาง (Passport) แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
  7. เลือกประเทศที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  8. เลือกสถานทูต/สถานกงสุลที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  9. กรอกที่อยู่ปัจจุบันในต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ
  10. กรอกที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ (สามารถระบุเป็นภาษาท้องถิ่นได้)
  11. กรอก email สำหรับส่งอีเมลตอบกลับ
  12. กด “บันทึกการลงทะเบียน”
  13. กด “ยืนยัน”
  14. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง

การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
  3. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  4. ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  5. ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  6. ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
  7. ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
  8. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  9. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  10. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
  3. นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
  4. เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
  5. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  6. ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
  7. แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
  8. แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
  9. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  10. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  11. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)