เขตเลือกตั้ง 2566 กรุงเทพมหานคร ทั้ง 33 เขต (สส. 33 คน)

ทั่วไป

40,795 VIEWS

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง เพื่อกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566 สำหรับเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้แบ่งเขตเลือกตั้งของกรุงเทพมหานครเป็น 33 เขตเลือกตั้ง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุดของภาคกลาง และมากที่สุดของประเทศ คนกรุงเทพฯ จึงสามารถมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คน

เขตเลือกตั้ง กรุงเทพมหานคร รวม 33 เขตเลือกตั้ง (สส. 33 คน)

กรุงเทพมหานครซึ่งมีราษฎร 5,394,910 คน (อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี) เมื่อเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน ทำให้ กรุงเทพมหานคร สามารถแบ่ง เขตเลือกตั้ง ออกได้เป็น 33 เขต ดังต่อไปนี้

เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. เขตพระนคร
  2. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  3. เขตสัมพันธวงศ์
  4. เขตดุสิต (ยกเว้นแขวงถนนนครไชยศรี)
  5. เขตบางรัก

เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. เขตสาทร
  2. เขตปทุมวัน
  3. เขตราชเทวี

เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. เขตบางคอแหลม
  2. เขตยานนาวา

เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. เขตคลองเตย
  2. เขตวัฒนา

เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. เขตห้วยขวาง
  2. เขตวังทองหลาง (ยกเว้นแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)

เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. เขตพญาไท
  2. เขตดินแดง

เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. เขตบางซื่อ
  2. เขตดุสิต (เฉพาะแขวงถนนนครไชยศรี)

เขตเลือกตั้งที่ 8

  1. เขตหลักสี่ (ยกเว้นแขวงตลาดบางเขน)
  2. เขตจตุจักร (ยกเว้นแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม)

เขตเลือกตั้งที่ 9

  1. เขตบางเขน (ยกเว้นแขวงท่าแร้ง)
  2. เขตจตุจักร (เฉพาะแขวงจันทรเกษมและแขวงเสนานิคม)
  3. เขตหลักสี่ (เฉพาะแขวงตลาดบางเขน)

เขตเลือกตั้งที่ 10

  • เขตดอนเมือง

เขตเลือกตั้งที่ 11

  • เขตสายไหม (ยกเว้นแขวงออเงิน)

เขตเลือกตั้งที่ 12

  1. เขตสายไหม (เฉพาะแขวงออเงิน)
  2. เขตบางเขน (เฉพาะแขวงท่าแร้ง
  3. เขตลาดพร้าว (เฉพาะแขวงจรเข้บัว)

เขตเลือกตั้งที่ 13

  1. เขตลาดพร้าว (ยกเว้นแขวงจรเข้บัว)
  2. เขตบึงกุ่ม (ยกเว้นแขวงคลองกุ่ม)

เขตเลือกตั้งที่ 14

  1. เขตวังทองหลาง (เฉพาะแขวงคลองเจ้าคุณสิงห์)
  2. เขตบางกะปิ

เขตเลือกตั้งที่ 15

  1. เขตคันนายาว
  2. เขตบึงกุ่ม (เฉพาะแขวงคลองกุ่ม)

เขตเลือกตั้งที่ 16

  • เขตคลองสามวา (ยกเว้นแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

เขตเลือกตั้งที่ 17

  1. เขตหนองจอก (ยกเว้นแขวงโคกแฝด แขวงลําผกั ชี และแขวงลําต้อยติ่ง)
  2. เขตคลองสามวา (เฉพาะแขวงสามวาตะวันออก และแขวงทรายกองดินใต้)

เขตเลือกตั้งที่ 18

  1. เขตหนองจอก (เฉพาะแขวงโคกแฝด แขวงลําผกั ชี และแขวงลําต้อยติ่ง)
  2. เขตลาดกระบัง (เฉพาะแขวงลําปลาทิว)
  3. เขตมีนบุรี (เฉพาะแขวงแสนแสบ)

เขตเลือกตั้งที่ 19

  1. เขตมีนบุรี (ยกเว้นแขวงแสนแสบ)
  2. เขตสะพานสูง (ยกเว้นแขวงทับช้าง)

เขตเลือกตั้งที่ 20

  • เขตลาดกระบัง (ยกเว้นแขวงลําปลาทิว)

เขตเลือกตั้งที่ 21

  1. เขตประเวศ (ยกเว้นแขวงหนองบอน)
  2. เขตสะพานสูง (เฉพาะแขวงทับช้าง)

เขตเลือกตั้งที่ 22

  1. เขตสวนหลวง
  2. เขตประเวศ (เฉพาะแขวงหนองบอน)

เขตเลือกตั้งที่ 23

  1. เขตพระโขนง
  2. เขตบางนา

เขตเลือกตั้งที่ 24

  • เขตธนบุรี (ยกเว้นแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ)
  • เขตคลองสาน
  • เขตราษฎร์บูรณะ (เฉพาะแขวงบางปะกอก)

เขตเลือกตั้งที่ 25

  1. เขตทุ่งครุ
  2. เขตราษฎร์บูรณะ (ยกเว้นแขวงบางปะกอก)

เขตเลือกตั้งที่ 26

  1. เขตบางขุนเทียน (เฉพาะแขวงท่าข้าม)
  2. เขตจอมทอง (ยกเว้นแขวงบางขุนเทียน)

เขตเลือกตั้งที่ 27

  1. เขตบางบอน (เฉพาะแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน)
  2. เขตบางขุนเทียน (ยกเว้นแขวงท่าข้าม)

เขตเลือกตั้งที่ 28

  1. เขตจอมทอง (เฉพาะแขวงบางขุนเทียน)
  2. เขตบางบอน (ยกเว้นแขวงบางบอนใต้ และแขวงคลองบางบอน)
  3. เขตหนองแขม (เฉพาะแขวงหนองแขม)

เขตเลือกตั้งที่ 29

  1. เขตบางแค (เฉพาะแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่)
  2. เขตหนองแขม (ยกเว้นแขวงหนองแขม)

เขตเลือกตั้งที่ 30

  1. เขตบางแค (ยกเว้นแขวงบางแคเหนือ และแขวงบางไผ่)
  2. เขตภาษีเจริญ (เฉพาะแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง)

เขตเลือกตั้งที่ 31

  1. เขตทวีวัฒนา
  2. เขตตลิ่งชัน (ยกเว้นแขวงบางเชือกหนัง)

เขตเลือกตั้งที่ 32

  1. เขตบางกอกน้อย (เฉพาะแขวงศิริราช)
  2. เขตบางกอกใหญ่
  3. เขตภาษีเจริญ (ยกเว้นแขวงบางหว้า แขวงบางด้วน และแขวงคลองขวาง)
  4. เขตตลิ่งชัน (เฉพาะแขวงบางเชือกหนัง)
  5. เขตธนบุรี (เฉพาะแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงหิรัญรูจี และแขวงบางยี่เรือ)

เขตเลือกตั้งที่ 33

  1. เขตบางพลัด
  2. เขตบางกอกน้อย (ยกเว้นแขวงศิริราช)

เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566

  • จำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร 65,106,481 คน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565
  • กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้งโดยใช้ฐานเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน
  • เขตเลือกตั้ง 400 เขต สามารถแบ่งจำนวนตามภาคได้ดังนี้
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 133 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 133 คน)
    • ภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 122 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 122 คน)
    • ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 60 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 60 คน)
    • ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี 37 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 37 คน)
    • ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี 29 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 29 คน)
    • ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 19 คน)
  • กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน จึงได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุด คือ 33 เขตเลือกตั้ง ทำให้มี สส. แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คนในจังหวัดเดียว
  • ตราด ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี เป็น 4 จังหวัดที่มีเขตเลือกเพียงจังหวัดละ 1 เขต ทำให้ทั้ง 4 จังหวัดนี้มี สส. แบบแบ่งเขตได้จังหวัดละ 1 คน
  • จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน มีจำนวน 21 จังหวัด
  • จังหวัดที่สามารถมี สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คนขึ้นไป มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
    1. กรุงเทพมหานคร ได้ 33 คน
    2. นครราชสีมา ได้ 16 คน
    3. ขอนแก่น ได้ 11 คน
    4. อุบลราชธานี ได้ 11 คน
    5. ชลบุรี ได้ 10 คน
    6. เชียงใหม่ ได้ 10 คน
    7. นครศรีธรรมราช ได้ 10 คน
    8. บุรีรัมย์ ได้ 10 คน
    9. อุดรธานี ได้ 10 คน

ไม่สะดวกไปเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 สามารถใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 แทนได้

กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขตเลือกตั้ง และ นอกราชอาณาจักร ได้ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 เพื่อให้สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้จริงในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการปกครอง BORA PORTAL เป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้

ช่วงเวลาลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566

  • ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566

ช่องทางลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า

  1. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตัวเองหรือผู้แทน
  2. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นทางไปรษณีย์
  3. ยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์

ขั้นตอนการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขต ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง”
  6. ที่หน้าระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต ให้เลือกจังหวัดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  7. เลือกสถานที่ที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  8. กด “บันทึกข้อมูล”
  9. กด “ยืนยัน”
  10. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

กรณีต้องการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า “นอกเขตราชอาณาจักร” สำหรับคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ทางอินเทอเน็ต”
  6. ตรวจสอบข้อมูลเลขหนังสือเดินทาง (Passport) แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
  7. เลือกประเทศที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  8. เลือกสถานทูต/สถานกงสุลที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  9. กรอกที่อยู่ปัจจุบันในต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ
  10. กรอกที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ (สามารถระบุเป็นภาษาท้องถิ่นได้)
  11. กรอก email สำหรับส่งอีเมลตอบกลับ
  12. กด “บันทึกการลงทะเบียน”
  13. กด “ยืนยัน”
  14. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง

การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
  3. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  4. ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  5. ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  6. ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
  7. ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
  8. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  9. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  10. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
  3. นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
  4. เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
  5. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  6. ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
  7. แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
  8. แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
  9. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  10. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  11. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)