สรรพากรโต้ประเด็น “ภาษีวัคซีน” รพ.เอกชนเก็บ VAT ไม่ได้

ทั่วไป

1,577 VIEWS

กรมสรรพากรชี้แจง “ภาษีวัคซีน” ประเด็นจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการวัคซีนทางเลือกเพิ่มภาระประชาชน ย้ำโรงพยาบาลเอกชนไม่สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการวัคซีนทางเลือกจากประชาชนได้

รัฐบาลสิงคโปร์ยืนยันวัคซีน mRNA ปลอดภัย ระวังข่าวเท็จ ‘ซิโนแวค’ ดีกว่า ‘ไฟเซอร์’

แพทยสภา เรียกร้องวัคซีน mRNA ให้หมอ ส่วนปชช.ต้องได้ฟรี ตาม รธน.

จองวัคซีน Moderna เช็กรายชื่อโรงพยาบาลที่เปิดรับจอง

สรรพากรยืนยันโรงพยาบาลเอกชนเก็บ VAT วัคซีนทางเลือกจากประชาชนไม่ได้

11 กรกฎาคม 2564 – กรมสรรพากรได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ ปชส.42/2564 เรื่อง “สรรพากรแจง วัคซีนทางเลือก ประชาชนไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม” โดยชี้แจงได้ชี้แจงดังนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์กรมสรรพากร ปชส.42/2564 เรื่อง “สรรพากรแจง วัคซีนทางเลือก ประชาชนไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม”

ตามที่มีกระแสข่าวว่าประชาชน ต้องแบกรับภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการที่จะต้องถูกโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ขอเรียนชี้แจงว่า “อาจจะเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกับสาธารณชน กฎหมายกำหนดไว้ ตามมาตรา 81(1)(ญ) แห่งประมวลรัษฎากร การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นโรงพยาบาลเอกชน จึงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โรงพยาบาลเอกชน จึงไม่สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการแก่ประชาชนได้ สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีภาษีซื้อที่เกิดจากต้นทุนการซื้อ สามารถนำมาขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามปกติ ซึ่งกรมสรรพากรจะรีบดำเนินการคืนให้โดยรวดเร็ว สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลของโรงพยาบาลเอกชน หากโรงพยาบาลเอกชนมีกำไรจากการประกอบการ ก็เป็นหน้าที่ปกติของผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนที่จะต้องเสียภาษีเงินได้จากกำไรเช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ”

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161

รู้จักภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) คือ ภาษี ประเภทหนึ่งตาม ประมวลรัษฎากร ซึ่งจัดเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือการให้บริการในประเทศ และการนำเข้าสินค้า ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบการจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้บริโภค แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บอีกที 

แต่จะมีบางกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งการให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล เช่น การให้บริการวัคซีนทางเลือกของโรงพยาบาลเอกชนจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากประชาชนแต่อย่างใด

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)