วิธีคำนวณประกันสังคม เงินสมทบหักจากเงินเดือนลูกจ้าง

ทั่วไป

46,607 VIEWS

วิธีคำนวณประกันสังคม เงินสมทบหักจากเงินเดือนลูกจ้าง โดยปกติจะใช้อัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมในอัตรา 5% แล้วนำไปคูณกับฐานของเงินค่าจ้างพนักงานแต่ละเดือน โดยคิดฐานค่าจ้างขั้นต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

วิธีคำนวณประกันสังคม ตามฐานเงินเดือนลูกจ้าง (ผู้ประกันตน ม.33)

โดยทั่วไป เมื่อมีการจ่ายค่าจ้าง นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของลูกจ้างออกจากค่าจ้างเพื่อนำส่งให้สำนักงานประกันสังคม และต้องนำส่งเงินสมทบของนายจ้างร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันใช้อัตราเงินสมทบประกันสังคมเดียวกันทั้งนายจ้างและลูกจ้าง คือ อัตรา 5% ของค่าจ้าง ทั้งนี้ กฎหมายให้คิดฐานค่าจ้างขั้นต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (แม้ว่าค่าจ้างจริงของเดือนนั้นจะจ่ายต่ำกว่าหรือสูงกว่านั้นก็ตาม)

รายละเอียด วิธีคำนวณประกันสังคม รายเดือนของผู้ประกันตน ม.33 (ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน)

  1. เงินสมทบประกันสังคมจะต้องเป็นจำนวนเต็มบาทเท่านั้น หากมีเศษตั้งแต่ 0.50 บาทให้ปัดขึ้น หากเหลือเศษต่ำกว่า 0.50 บาท เช่น 0.49 บาทลงมา ให้ปัดทิ้ง เช่น
    • หากคำนวณค่าประกันสังคมได้ 82.50 บาท ให้ปัดเศษขึ้นเป็น 83 บาทเสมอ หรือ
    • หากคำนวณค่าประกันสังคมได้ 500.45 บาท ให้ปัดเศษทิ้ง เหลือเป็น 500 บาท เสมอ
  2. กฎหมายให้คิดฐานค่าจ้างขั้นต่ำสุด 1,650 บาท แม้ว่าค่าจ้างจริงของเดือนนั้นจะจ่ายต่ำกว่านั้น เช่น
    • เดือนนี้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตลอดทั้งเดือนเป็นเงินเพียง 500 บาท แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้คำนวณประกันสังคมจากฐานค่าจ้างต่ำสุดที่ 1,650 บาท ดังนั้น หากอัตราประกันสังคมอยู่ที่ 5% ลูกจ้างรายนี้จะถูกหักประกันสังคม 83 บาท (ฐานค่าจ้าง 1,650 บาท × อัตรา 5% = เงินสมทบประกันสังคม 82.50 บาท จึงให้ปัดขึ้นเป็น 83 บาท)
  3. กฎหมายให้คิดฐานค่าจ้างขั้นสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แม้ว่าค่าจ้างจริงของเดือนนั้นจะจ่ายสูงกว่านั้น เช่น
    • เดือนนี้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตลอดทั้งเดือนเป็นเงิน 100,000 บาท แต่เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้คำนวณประกันสังคมจากฐานค่าจ้างสูงสุดที่ 15,000 บาท ดังนั้น หากอัตราประกันสังคมอยู่ที่ 5% ลูกจ้างรายนี้จะถูกหักประกันสังคม 750 บาท (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท × อัตรา 5%)
  4. กรณีลูกจ้างถูกหักประกันสังคม จะสามารถนำประกันสังคมส่วนที่ถูกหักตลอดทั้งปีไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่ถูกหักจริง หากลูกจ้างถูกหักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท ตลอดทั้งปีจะถูกหักเป็นเงิน 9,000 บาท (ประกันสังคม 750 บาท × 12 เดือน) ซึ่งลูกจ้างสามารถนำไปใช้เป็นค่าลดหย่อนประกันสังคมได้ 9,000 บาท
  5. อย่างไรก็ตาม อัตราประกันสังคมรายเดือนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ในอดีตเคยมีการประกาศปรับอัตราประกันสังคมเป็น 1%, 2.5% หรือ 3% มาแล้ว ดังนั้น นายจ้างจึงจำเป็นต้องระมัดระวังและติดตามการประกาศปรับอัตราประกันสังคมเป็นระยะ เพื่อให้สามารถหักประกันสังคมได้อย่างถูกต้องด้วย

คิดประกันสังคมอัตโนมัติ

iTAX paystation โปรแกรมเงินเดือน update ตามกม.ใหม่ให้เสมอ

ติดต่อ 062-486-9787

สรุป อัตราเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ล่าสุด ปี 2566 ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

ปี 2566 อัตราเงินสมทบของลูกจ้าง ลูกจ้างสมทบสูงสุด อัตราเงินสมทบของนายจ้าง นายจ้างสมทบสูงสุด
ช่วงเวลาปกติ 5% ฿750 5% ฿750
ม.ค. 2566 5% ฿750 5% ฿750
ก.พ. 2566 5% ฿750 5% ฿750
มี.ค. 2566 5% ฿750 5% ฿750
เม.ย. 2566 5% ฿750 5% ฿750
พ.ค. 2566  5% ฿750 5% ฿750
มิ.ย. 2566 5% ฿750 5% ฿750
ก.ค. 2566 5% ฿750 5% ฿750
ส.ค. 2566 5% ฿750 5% ฿750
ก.ย. 2566 5% ฿750 5% ฿750
ต.ค. 2566 5% ฿750 5% ฿750
พ.ย. 2566 5% ฿750 5% ฿750
ธ.ค. 2566 5% ฿750 5% ฿750
รวม   ฿9,000   ฿9,000

หมายเหตุ: อัตราประกันสังคม 2566 นี้อยู่ที่อัตรา 5% แต่สูงสุดไม่เกินเดือนละ 750 บาท การส่งเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ตลอดทั้งปี 2566 ทำให้ลูกจ้างจะใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคมเพื่อคำนวณภาษีสำหรับปีภาษี 2566 ได้สูงสุด 9,000 บาท

แอป iTAX ปรับเพดานสิทธิลดหย่อนประกันสังคม 2566 ตามกฎหมายปัจจุบันแล้ว

หลังสิ้นสุดช่วงเวลาการปรับอัตราเงินสมทบประกันสังคมที่ผ่านมา ทำให้การนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ม.33 ตลอดทั้งปี 2565 ของลูกจ้างจะกลับมาเป็นปกติ และลูกจ้างจะใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคมเพื่อคำนวณภาษีสำหรับปีภาษี 2566 ได้สูงสุด 9,000 บาท ซึ่งแอป iTAX ได้ปรับเพดานสิทธิลดหย่อนประกันสังคม 2566 ให้เรียบร้อยแล้ว » ดาวน์โหลดฟรี

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)