ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมนำเข้าวัคซีนโควิด “ซิโนฟาร์ม”

ทั่วไป

2,106 VIEWS

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมเปิดแถลงข่าว แนวทางการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนโควิด “ซิโนฟาร์ม” ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 หลังจากมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการบริหารบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์สามารถนำเข้าได้เอง

ลงทะเบียนไทยร่วมใจ ฉีดวัคซีนโควิดฟรี พื้นที่ กทม.

นายกฯ ประกาศ แก้ปัญหาทุจริต เป็นวาระแห่งชาติ ไทยอันดับ 104 ของโลก

เลขาธิการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้แจงความจำเป็นของประกาศฯ

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้โพสต์ข้อความอธิบายเกี่ยวกับประกาศของราชวิทยาในราชกิจจานุเบกษา บน Facebook Nithi Mahanonda โดยมีใจความสำคัญคือ

  1. การที่ราชวิทยาลัยฯ จะมาช่วยจัดหาวัคซีน “ตัวเลือก” มาให้นั้น เมื่อวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยสามารถผลิตและใช้ได้อย่างเพียงพอในการป้องกันการระบาด ทางราชวิทยาลัยจะค่อยๆ ลดปริมาณวัคซีน ”ตัวเลือก” นี้ลง เช่นเดียวกับ ยา และเวชภัณฑ์อื่นๆที่สามารถผลิตได้ในประเทศ ราชวิทยาลัยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ในประเทศ โดยคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
  2. สำนักงานราชวิทยาลัยที่เป็นส่วนงานยังต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องการผลิต นำเข้า ร่วมทั้งการให้อนุญาตเรื่องผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขในภาวะฉุกเฉินนี้
  3. ประกาศที่ได้ประกาศไปนี้เป็นการประกาศตามภารกิจของราชวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งราชวิทยาลัย อันเป็นภารกิจปกติ
  4. ในส่วนของประกาศนี้นั้น เป็นไปตามความเห็นของสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของประเทศ โดยใช้ศักยภาพของราชวิทยาลัยในเรื่องวิชาการ วิจัย และการประสานงานติดต่อกับต่างประเทศ
  5. ราชวิทยาลัยฯ และกระทรวงสาธารณสุข ทำงานประสานงานกันในเรื่องต่างๆ มาก่อนหน้านี้นานแล้ว เพื่อสุขภาพและการสาธารณสุขที่ดีของประเทศไทย

เตรียมแถลงข่าวนำเข้าวัคซีนโควิด “ซิโนฟาร์ม”

ในวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เตรียมแถลงข่าวแนวทางการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อเป็นวัคซีนทางเลือกสำหรับประชาชน โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีอำนาจในการดำเนินการนำเข้าและจัดหา รวมถึงให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขได้ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สธ. ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” (นาทีที่ 38) ว่าตนเพิ่งทราบเรื่องราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ประกาศเพิ่มอำนาจนำเข้าวัคซีนโควิดในราชกิจจานุเบกษา ไม่ได้ทราบมาก่อนล่วงหน้าเช่นกัน จึงจำเป็นต้องถามนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีว่ารายละเอียดเป็นเช่นใด เนื่องจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต้องผ่านสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมาแล้ว แต่ยินดีให้ความร่วมมือถ้าเป็นประโยชน์กับบ้านเมือง เพราะซิโนฟาร์มได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้ว และได้ดำเนินเรื่องยื่นขอจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในไทยแล้ว

ข้อความในราชกิจจานุเบกษา

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่าด้วยการบริหารบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ (ดูฉบับเต็ม)

ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ว่าด้วยการบริหารบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ

ตามที่ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2564 นั้น

เพื่อให้การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อโควิด และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตเป็นไปอย่างทั่วถึง และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งจนอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 วรรค 2 ประกอบกับมาตรา 22 (2) แห่ง พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 สภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในการประชุมครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 โดยคำแนะนำและคำปรึกษาจากประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตามมาตรา 23/1 แห่ง พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 จึงออกประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ว่าด้วยการบริหารบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ไว้ ดังนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

“พระราชบัญญัติ” หมายความว่า พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

“การให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข” ให้หมายความรวมถึง การป้องกัน หรือบำบัดโรค การรักษาพยาบาล การควบคุมและฟื้นฟูสุขภาพ ตลอดจนการดำเนินการอื่นใด ที่เก่ียวข้อง ได้แก่ จัดหา ผลิต ขาย หรือนำเข้า หรือขออนุญาตและออกใบอนุญาต การขึ้นทะเบียนยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และส่ิงอื่นที่จำเป็นหรือเก่ียวข้องในการดำเนินการดังกล่าว ทั้งที่ดำเนินการในประเทศ และในต่างประเทศ

ข้อ 3 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามประกาศฉบับนี้ ให้สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีหน้าท่ีและอำนาจในการให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ และมีอำนาจในการออกข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศเพิ่มเติมในเรื่องท่ีเกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุข ทั้งน้ี เท่าท่ีไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติ และประกาศฉบับนี้

ข้อ 4 ให้เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นผู้แทนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในกิจการท่ีเกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ และให้มีอำนาจในการตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อาจมอบหมายหรือมอบอำนาจให้หน่วยงานของรัฐอื่นใด หน่วยงานภาคเอกชน บุคคล นิติบุคคล ทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้ได้รับมอบหมาย หรือได้รับมอบอำนาจดำเนินการแทนได้

ข้อ 5 การให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ของสำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ตามประกาศฉบับน้ี ให้ดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ โดยให้พิจารณาถึงความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล มติคณะรัฐมนตรีท่ีเกี่ยวข้องกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นการเฉพาะ และกฎหมายอื่นท่ีเกี่ยวข้อง

ให้สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์รายงานการดำเนินการตามประกาศฉบับนี้ให้ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ

ข้อ 6 ยา วัคซีน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่น ๆ ที่จำเป็น ท่ีราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดหามาเพื่อการให้บริการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ถือเป็นทรัพย์สินของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง ทั้งนี้ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ

ข้อ 7 ให้เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอรับคำปรึกษาในกิจการทั้งปวงจากประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในการดำเนินการให้การบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ข้อ 8 การให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ก่อนวันท่ีประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็นการให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ ๆ ท่ีดำเนินการตามประกาศฉบับนี้

ประกาศ ณ วันท่ี 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

กรมพระศรีสว่างควัฒน วรขัตติยราชนารี

ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และนายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)