นโยบายภาษี พรรคก้าวไกล มีอะไรบ้าง?

ทั่วไป

3,346 VIEWS

นโยบายภาษี พรรคก้าวไกลหลังพรรคก้าวไกลมีโอกาสจะได้เป็นพรรคอันดับ 1 ในการมีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล มี 5 นโยบายด้านภาษี สำหรับรัฐบาลชุดใหม่อย่างไรบ้าง

1. เปลี่ยนระบบภาษีที่ดิน ลดความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดิน

ปัญหา

ปัจจุบัน เกษตรกรจำนวนมากขาดเอกสารสิทธิ์หรือโฉนดในที่ดินที่ตนเองใช้ชีวิตและทำมาหากินมาหลายรุ่น โดยกว่า 1 ล้านคน กำลังประสบปัญหาข้อพิพาทที่ดินกับรัฐ ที่บางกรณียืดเยื้อมาหลายสิบปี และถูกซ้ำเติมโดยนโยบายของรัฐที่ผ่านมา (ป่าอนุรักษ์ 300,000-400,000 ราย / ป่าสงวนแห่งชาติ 400,000-500,000 ราย / ที่ราชพัสดุ 100,000-200,000 ราย / ที่ดิน ส.ป.ก. 200,000-300,000 ราย)

นอกจากจะขาดความมั่นคงขั้นพื้นฐานในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว การขาดเอกสารสิทธิ์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา เพราะทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบ ขาดแรงจูงใจในการลงทุนพัฒนาพื้นที่เพื่อผลตอบแทนในระยะยาว และ ไม่มีทางเลือกในการโอนสิทธิหรือขายที่ดินเพื่อย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า
แม้เกษตรกรที่มีที่ดิน ส.ป.ก. ก็ยังไม่มีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน เพราะเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นเอกสารสิทธิ์ที่มีข้อจำกัดในการเปลี่ยนมือการครอบครอง โดยห้ามซื้อขายเปลี่ยนมือ (ยกเว้นแต่การถ่ายโอนตามมรดกให้กับทายาท ที่ยังมีเงื่อนไขอีกหลายประการ) ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้นกับ ธกส.) และการเปลี่ยนพื้นที่ทำกินและเปลี่ยนอาชีพของพี่น้องเกษตรกร – ในทางปฏิบัติ ข้อจำกัดดังกล่าวที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ที่ดิน ส.ป.ก. เปลี่ยนมือ กลับกลายเป็นกลไกที่เปิดช่องให้นายทุนบางรายเข้ามารวบรวมที่ดิน ส.ป.ก. จากเกษตรกรได้ในราคาถูกนอกกระบวนการกฎหมาย เนื่องจากเกษตรกรไม่มีทางเลือกในการขายที่ดินในราคาที่เหมาะสมผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งหมดนี้ยังสะท้อนและซ้ำเติมถึงปัญหาในภาพรวมของประเทศเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในการครอบครองที่ดิน โดย 80% ของที่ดินทั้งหมดกระจุกอยู่ที่คนที่รวยที่สุด 5% ในขณะที่ 75% ของคนไทย ไม่มีที่ดินของตนเอง
หากต้องการจะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร การรับประกันความมั่นคงในที่ดินทำกิน จึงเป็นกระดุมเม็ดแรกและจุดเริ่มต้นที่สำคัญ

ข้อเสนอ

ปรับปรุงประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดิน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการครอบครองที่ดิน:

  1. พัฒนาระบบภาษีที่ดินแบบรวมแปลง (รวมมูลค่าที่ดินทั้งหมดที่แต่ละบุคคล/นิติบุคคลถืออยู่) แล้วจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า โดยคิดจากมูลค่าที่ดินที่เกิน 300 ล้านบาท
  2. ปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีที่ดินแบบรายแปลง (แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน) เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยง
  3. ลดหย่อนหรือส่วนลดภาษีที่ดิน (Negative Land Tax) สำหรับพื้นที่ที่ถูกใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ (เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่อนุรักษ์ระบบนิเวศ พื้นที่สาธารณะ) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน (3-10 ปี)

2. ลดรายจ่าย SME: ลดภาษีนิติบุคคล SME ให้เหลือ 0-15%

ปัญหา

SMEs ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เพราะโดยธรรมชาติยิ่งระบบเศรษฐกิจไหนมี SMEs จำนวนมาก ย่อมหมายถึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และการแข่งขันนี้จะทำให้เกิด นวัตกรรม สินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเลือกสินค้า และบริการที่ดีที่สุด และเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่

นอกจากนี้ SMEs ยังสัมพันธ์กับชีวิตของคนจำนวนมากในประเทศ โดยผู้ประกอบการ SME มีประมาณ 3 ล้านคน และจ้างงานสูงถึง 12.7 ล้านคน ซึ่งหากนับครัวเรือนที่เกี่ยวข้องก็หมายความว่า SME เกี่ยวข้องชีวิตของกว่าครึ่งของประเทศ ดังนั้นหาก SMEs เติบโต แปลว่าค่าตอบแทน โบนัส ค่าล่วงเวลาของลูกจ้างก็ต้องสูงขึ้น นั้นหมายถึงคุณภาพชีวิตของคนจำนวนมากก็ย่อมดีขึ้นเช่นกัน

แต่ปัจจุบัน SMEs ไทย มีสัดส่วน GDP เพียงแค่ 34 % ของประเทศไทยเท่านั้น และธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยธุรกิจระดับเล็กที่ยังแข่งขันไม่ได้ โดยมีธุรกิจ SME จำนวนเพียง 1.4 % เท่านั้นที่เป็น SMEs ขนาดกลางได้ แต่ต้องเจอต้นทุนในการทำธุรกิจ เช่น อัตราภาษีนิติบุคคลที่เท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่

นโยบาย SMEs จึงจำเป็นมุ่งยกระดับ SMEs และช่วยแต้มต่อให้สามารถแข่งขันกับทุนใหญ่ได้ เพราะการพัฒนา SMEs ไม่ใช่แค่เพียงการยกระดับภาคธุรกิจหนึ่งเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนจำนวนมากให้ดีขึ้น

ข้อเสนอ

  • ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล SMEs ให้เหลือ 0-15%
  • ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ SMEs (ช่วงกำไร 3 แสนบาท ถึง 3 ล้านบาท) จาก 15% เป็น 10%
  • ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ SMEs (ช่วงกำไร 3 ล้านบาท ถึง 30 ล้านบาท) จาก 20% เป็น 15%
  • เพิ่มอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับทุนใหญ่ (ช่วงกำไรเกิน 300 ล้านบาท) จาก 20% เป็น 23%

3. เก็บภาษีถุงพลาสติกเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม

ปัญหา

การจัดการขยะในประเทศไทยนั้นยังมีปัญหาอยู่มาก ที่สำคัญคือปัญหาการจัดการขยะไม่ถูกวิธี ซึ่งมีสาเหตุหนึ่งมาจากที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการขยะในท้องถิ่นของตนเอง กลับไม่มีอำนาจและงบประมาณเพียงพอที่จะกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและถูกสุขอนามัย พบว่าในประเทศไทยมีสถานที่กำจัดขยะที่กำจัดอย่างถูกวิธีและมีมาตรฐานเพียงแค่ 15 % จากทั้งหมด โดยปัจจุบันการกำจัดขยะนิยมใช้วิธีแบบฝังกลบ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นมลพิษในดิน มลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ

นอกจากนี้ปัญหาการบริหารจัดการขยะภายในประเทศที่ไม่มีประสิทธิภาพและทำอย่างไม่ถูกวิธีแล้ว ไทยยังมีปัญหาเรื่องของการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ เพื่อป้อนเข้าโรงงานกำจัดขยะและโรงไฟฟ้าจากขยะ เนื่องจากขยะในประเทศไม่ได้มีการแยกขยะอย่างถูกวิธี จึงไม่สามารถนำมาใช้ในโรงกำจัดขยะหรือโรงไฟฟ้าจากขยะ ได้ทั้งหมด

ข้อเสนอ

เก็บภาษีถุงพลาสติกเข้ากองทุนสิ่งแวดล้อม (แทนที่จะเป็นรายได้ของร้านสะดวกซื้อ)

4. ลดรายจ่าย SME: หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษี เพิ่มจาก 60% เป็น 90%

ปัญหา

SMEs ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เพราะโดยธรรมชาติยิ่งระบบเศรษฐกิจไหนมี SMEs จำนวนมาก ย่อมหมายถึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และการแข่งขันนี้จะทำให้เกิด นวัตกรรม สินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเลือกสินค้า และบริการที่ดีที่สุด และเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่

นอกจากนี้ SMEs ยังสัมพันธ์กับชีวิตของคนจำนวนมากในประเทศ โดยผู้ประกอบการ SME มีประมาณ 3 ล้านคน และจ้างงานสูงถึง 12.7 ล้านคน ซึ่งหากนับครัวเรือนที่เกี่ยวข้องก็หมายความว่า SME เกี่ยวข้องชีวิตของกว่าครึ่งของประเทศ ดังนั้นหาก SMEs เติบโต แปลว่าค่าตอบแทน โบนัส ค่าล่วงเวลาของลูกจ้างก็ต้องสูงขึ้น นั้นหมายถึงคุณภาพชีวิตของคนจำนวนมากก็ย่อมดีขึ้นเช่นกัน

แต่ปัจจุบัน SMEs ไทย มีสัดส่วน GDP เพียงแค่ 34 % ของประเทศไทยเท่านั้น และธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยธุรกิจระดับเล็กที่ยังแข่งขันไม่ได้ โดยมีธุรกิจ SME จำนวนเพียง 1.4 % เท่านั้นที่เป็น SMEs ขนาดกลางได้ แต่ต้องเจอต้นทุนในการทำธุรกิจ เช่น อัตราภาษีนิติบุคคลที่เท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่

นโยบาย SMEs จึงจำเป็นมุ่งยกระดับ SMEs และช่วยแต้มต่อให้สามารถแข่งขันกับทุนใหญ่ได้ เพราะการพัฒนา SMEs ไม่ใช่แค่เพียงการยกระดับภาคธุรกิจหนึ่งเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนจำนวนมากให้ดีขึ้น

ข้อเสนอ

เปิดให้ SMEs หักค่าใช้จ่ายเหมาภาษีบุคคลได้เพิ่มเป็น 90% (จากเดิม 60%)

5. เพิ่มแต้มต่อให้ SME: หวยใบเสร็จ ซื้อของร้านค้ารายย่อย ทั้งคนซื้อคนขายได้หวย ลุ้นรวยเงินล้าน

ปัญหา

SMEs ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เพราะโดยธรรมชาติยิ่งระบบเศรษฐกิจไหนมี SMEs จำนวนมาก ย่อมหมายถึงเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูง และการแข่งขันนี้จะทำให้เกิด นวัตกรรม สินค้าและบริการใหม่ๆ ทำให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเลือกสินค้า และบริการที่ดีที่สุด และเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่

นอกจากนี้ SMEs ยังสัมพันธ์กับชีวิตของคนจำนวนมากในประเทศ โดยผู้ประกอบการ SME มีประมาณ 3 ล้านคน และจ้างงานสูงถึง 12.7 ล้านคน ซึ่งหากนับครัวเรือนที่เกี่ยวข้องก็หมายความว่า SME เกี่ยวข้องชีวิตของกว่าครึ่งของประเทศ ดังนั้นหาก SMEs เติบโต แปลว่าค่าตอบแทน โบนัส ค่าล่วงเวลาของลูกจ้างก็ต้องสูงขึ้น นั้นหมายถึงคุณภาพชีวิตของคนจำนวนมากก็ย่อมดีขึ้นเช่นกัน

แต่ปัจจุบัน SMEs ไทย มีสัดส่วน GDP เพียงแค่ 34 % ของประเทศไทยเท่านั้น และธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยธุรกิจระดับเล็กที่ยังแข่งขันไม่ได้ โดยมีธุรกิจ SME จำนวนเพียง 1.4 % เท่านั้นที่เป็น SMEs ขนาดกลางได้ แต่ต้องเจอต้นทุนในการทำธุรกิจ เช่น อัตราภาษีนิติบุคคลที่เท่ากับธุรกิจขนาดใหญ่

นโยบาย SMEs จึงจำเป็นมุ่งยกระดับ SMEs และช่วยแต้มต่อให้สามารถแข่งขันกับทุนใหญ่ได้ เพราะการพัฒนา SMEs ไม่ใช่แค่เพียงการยกระดับภาคธุรกิจหนึ่งเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตคนจำนวนมากให้ดีขึ้น

ข้อเสนอ

  • เพิ่มลูกค้าให้ SMEs โดยการเพิ่มแรงจูงใจให้ประชาชนที่เลือกซื้อสินค้า SME ได้รับแถมสลากกินแบ่งของรัฐบาลไปลุ้นรางวัล
  • สำหรับคนซื้อ หรือ ประชาชนทั่วไป: เมื่อซื้อสินค้าจาก SMEs ครบ 500 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ (จำกัดไม่เกิน 2 ใบ/คน/เดือน และ จำนวน 10 ล้านคน/เดือน)
  • เพิ่มโอกาสลุ้นหวยให้ SMEs โดยการนำยอดขายมาแลกเป็นสลากกินแบ่งของรัฐบาลได้ด้วย
    สำหรับคนขาย หรือ ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการ: เมื่อขายสินค้าครบ 5,000 บาท สามารถแลกสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ 1 ใบ
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)