เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 รับเงินเยียวยา รอบ 2

ทั่วไป

12,097 VIEWS

เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 รอบ 2 ตรวจสอบสถานะเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด) อีก 16 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมของรัฐ ที่สมัครตั้งแต่วันที่ 4-24 สิงหาคม 2564 โดยจะได้รับการช่วยเหลือค่าครองชีพให้คนละ 5,000 บาท ซึ่งเป็นผู้ประกันตน ม.40 จำนวน 5,258,030 คน ที่เว็บไซต์ sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม

ประกันสังคมกำหนดวันจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตน มาตรา 40 รอบ 2 คนละ 5,000 บาท ที่สมัครตั้งแต่วันที่ 4-24 สิงหาคม 2564 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด หรือ พื้นที่สีแดงเข้มอีก 16 จังหวัด ทั้งนี้ ผู้ประกันตน ม.40 สามารถตรวจสอบสถานะ เช็คเงินเยียวยามาตรา 40 (เช็คสิทธิการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท) ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th

ช่องทาง เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

  • เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th เริ่มตรวจสวยได้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2564

วิธี เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

  1. ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
  2. กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
  3. กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
  4. กด ‘ค้นหา’
  5. ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ

เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 แล้วไม่ได้สิทธิ ต้องทำอย่างไรต่อดี?

  • กรณีที่หากเช็คแล้วไม่ได้สิทธิ ให้รอยื่นทบทวนสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง โดยสำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ประกันตน มาตรา 40 สอบถามผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รอบเวลาการโอนเงินเยียวยาของแต่ละธนาคาร

  • ธนาคารออมสิน โอนเวลา 1.00 น.
  • ธนาคารกสิกรไทย โอนเวลา 1.35 น.
  • ธนาคารกรุงไทย โอนเวลา 3.00 น.
  • ธนาคารกรุงเทพ โอนเวลา 3.00 น.
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ โอนเวลา 4.00 น.
  • ธกส. โอนเวลา 4.30 น.
  • ธนาคารอื่นๆ โอนเงินภายในเวลา 5.00 น.

หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่โอนไม่สำเร็จ สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.40

1. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมายที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

  • เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ตั้งแต่วันที่ 4-24 สิงหาคม 2564
  • มีสัญชาติไทย
  • ไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง
  • สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเพิ่มเติม 16 จังหวัด)
  • ชำระเงินสมทบงวดใดงวดหนึ่งแล้วระหว่าง เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2564

2. ต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 16 จังหวัด

ผู้ประกันตน มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่จะมีสิทธิรับเงินเยียวยารอบ 2 ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนในพื้นที่สำนักงานประกันสังคม ที่รับผิดชอบในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และมีที่อยู่ในฐานทะเบียนประกันสังคม ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดมีที่อยู่ตามภูมิลำเนาในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด (ข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลของสำนักทะเบียนกลาง กรมปกครอง) ได้แก่

  1. นครราชสีมา
  2. ระยอง
  3. ราชบุรี
  4. สระบุรี
  5. สุพรรณบุรี
  6. กาญจนบุรี
  7. ลพบุรี
  8. เพชรบูรณ์
  9. ประจวบคีรีขันธ์
  10. ปราจีนบุรี
  11. เพชรบุรี
  12. ตาก
  13. อ่างทอง
  14. นครนายก
  15. สมุทรสงคราม
  16. สิงห์บุรี

หมายเหตุ: การเดินทางเข้า-ออกพื้นที่สีแดงเข้มต้องลงทะเบียนรับ QR Code เดินทางข้ามพื้นที่ covid-19.in.th ‘หยุดเชื้อเพื่อชาติ’ ด้วย

3. จ่าย เงินเยียวยาผู้ประกันตน ผ่านพร้อมเพย์

วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตน ม.40 จะใช้วิธีโอนเงินให้ผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) ที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชนแล้วเท่านั้น

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุม ครม. ได้มอบให้กระทรวงแรงงานเร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของกลุ่มเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดการเยียวยาซ้ำซ้อน และเร่งให้โอนเงินเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่สถานการณ์การระบาดของโควิดมีความรุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ของรัฐบาลก่อนพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกันตน ม.40 จำนวน 5,258,030 คน

กลุ่มกิจการที่ได้รับเงินเยียวยา 9 ประเภทกิจการ

1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

ตัวอย่างกิจการ

  • โรงแรม
  • รีสอร์ท
  • เกสต์เฮาส์
  • ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท
  • การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร
  • การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด
  • การบริการด้านการจัดเลี้ยง
  • การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน

2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

ตัวอย่างกิจการ

  • การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจําทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด
  • การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง
  • การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน
  • การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน

3. การขายแข่งและการขายปลีก

ตัวอย่างกิจการ

  • การซ่อมยานยนต์
  • ห้างสรรพสินค้า
  • ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
  • การขายปลีกสินค้าทั่วไป

4. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

ตัวอย่างกิจการ

  • ธุรกิจจัดนําเที่ยว
  • กิจกรรมของมัคคุเทศก์
  • กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย
  • การบริการทําความสะอาด
  • การจัดการประชุมและจัดการแสดงที่สินค้า (Event)

5. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

ตัวอย่างกิจการ

  • กิจกรรมของบริษัทโฆษณา
  • กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน
  • การตรวจสอบบัญชี
  • การให้คําปรึกษาด้านภาษี

6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

ตัวอย่างกิจการ

  • กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์
  • กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์
  • กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

7. การก่อสร้าง

ตัวอย่างกิจการ

  • การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย
  • การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์
  • การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ํา

8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ

ตัวอย่างกิจการ

  • กิจกรรมสปา
  • กิจกรรมการแต่งผม
  • กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า
  • กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

9. ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

ตัวอย่างกิจการ

  • การดําเนินงานของสถานที่ออกกําลังกาย
  • กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา
  • กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค
  • กิจกรรมการแห่งโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ

ลดอัตราส่งเงินสมทบให้ผู้ประกันตน ม.40 เหลือ 60% ตั้งแต่ ส.ค. 2564 – ม.ค. 2565

พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ได้ปรับลดอัตราการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน ม.40 ลงเหลือ 60% เป็นเวลา 6 เดือน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2565 ทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ซึ่งเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย และสนใจประกันตนภาคสมัครใจ จะมีทางเลือกส่งเงินสมทบได้ 3 ทางเลือก

  1. ทางเลือกที่ 1 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 42 บาท (จากเดิม 70 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
  2. ทางเลือกที่ 2 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 60 บาท (จากเดิม 100 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
    • คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
  3. ทางเลือกที่ 3 เลือกรับประโยชน์ทดแทน 5 กรณี: อัตราเงินสมทบเหลือเดือนละ 180 บาท (จากเดิม 300 บาท)
    • คุ้มครองกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
    • คุ้มครองกรณีทุพพลภาพ
    • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต
    • คุ้มครองกรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
    • คุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือนตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ

หมายเหตุ: ทางเลือกที่ 1 จะได้รับประโยชน์ทดแทนน้อยที่สุด ในขณะที่ทางเลือกที่ 3 จะได้รับประโยชน์ทดแทนมากที่สุด

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)