เช็กสิทธิลงทะเบียน เราไม่ทิ้งกัน รับเงิน 5,000 บาท ได้แล้ว

ทั่วไป

สำหรับใครที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) และได้ลงทะเบียนเพื่อรับเงินชดเชยรายได้ 5,000 บาท ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com นั้น คุณสามารถเช็กผลการลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันนี้

อ่าน เตรียมรับเงินเยียวยา 10,000 บาท ‘เราไม่ทิ้งกัน’ 2 เดือนควบ

ขั้นตอนการเช็กผลลงทะเบียน เราไม่ทิ้งกัน

เช็กผล เราไม่ทิ้งกัน

หากคุณกำลังใจจดใจจ่อ รอว่าจะได้รับ SMS แจ้งว่าจะมีเงิน 5,000 บาท โอนเข้าบัญชีเมื่อไหร่ หรือ กำลังสงสัยว่า การลงทะเบียนของคุณถูกตรวจสอบอยู่ในขั้นตอนใดแล้วนั้น คุณสามารถเช็กผลการลงทะเบียนง่ายๆ ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. เข้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

2. เลือกเมนู “ตรวจสอบสถานะ” 

3. กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่

  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน
  • วัน เดือน ปีเกิด

4. เลือก “ตรวจสอบสถานะ”

หลังจากที่กรอกข้อมูลส่วนตัวและเลือก “ตรวจสอบสถานะ” เรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงสถานะการตรวจสอบให้คุณทราบทันที ซึ่งความหมายของสถานะต่างๆ คือ

สถานะที่ 1 : อยู่ระหว่างปรับปรุงสถานะการลงทะเบียนของท่าน (ไม่สามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้)

หมายความว่า : ได้รับสิทธิ์ รอการโอนเงิน

สถานะที่ 2 : อยู่ระหว่างการตรวจสอบ

หมายความว่า : การลงทะเบียนของคุณอยู่ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบและคัดกรองข้อมูล

สถานะที่ 3 : ไม่สามารถทำรายการต่อได้ (ลงทะเบียนไม่สำเร็จ เนื่องจากข้อมูลบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง)

หมายความว่า : ข้อมูลบัตรประชาชนที่คุณกรอกไว้ไม่ถูกต้อง สามารถลงทะเบียนใหม่ได้

เช็กสถานะแล้วทำอะไรเพิ่มได้อีกบ้าง?

นอกจากการเช็กสถานะว่า คุณจะได้รับเงิน 5,000 บาทหรือไม่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการเพิ่มช่องทางใหม่เข้าไปอีก 2 ช่องทาง คือ

1. ช่องทางการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน

แจ้งเปลี่ยนช่องทางการรับเงิน เราไม่ทิ้งกัน

คุณสามารถแก้ไขข้อมูลได้ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

1. เข้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

2. เลือกเมนู “เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน

3. กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่

  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน
  • วัน เดือน ปีเกิด

4. เลือก “เปลี่ยนแปลงข้อมูลการรับเงิน”

หมายเหตุ

การแก้ไขข้อมูลการรับเงินนั้น จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อ คุณได้รับ SMS แจ้งว่า ลงทะเบียนไม่สำเร็จ เท่านั้น หากคุณไม่ได้รับ SMS แจ้งเตือนลงทะเบียนไม่สำเร็จ คุณจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้

2. ยกเลิกการลงทะเบียนมาตรการเยียวยา

ยกเลิกลงทะเบียน เราไม่ทิ้งกัน

สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน ไปแล้ว และต้องการที่จะยกเลิกการลงทะเบียน อันมีเหตุมาจากการลงทะเบียนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงก็สามารถทำได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

2. เลือกเมนู “ยกเลิกการลงทะเบียน

3. กรอกข้อมูลส่วนตัว ได้แก่

  • หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  • หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน
  • วัน เดือน ปีเกิด

4. เลือก “ยกเลิกการลงทะเบียน”

5. จากนั้นจะมีข้อความปรากฎว่า 

“ข้าพเจ้าขอรับรองว่าการยกเลิกการลงทะเบียนเป็นการกระทําของข้าพเจ้าในขณะที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ตกอยู่ภายใต้อํานาจ บังคับของผู้ใด และไม่ได้เกิดจากการสําคัญผิดแต่ประการใด ทั้งนี้ ข้าพเจ้าตกลงไม่ประสงค์จะลงทะเบียนอีกในอนาคต รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการนี้”

6. หากคุณอ่านข้อความข้างต้น และยังคงมีความประสงค์ที่จะยกเลิกการลงทะเบียน ให้คลิกที่ช่องสี่เหลี่ยมที่ปรากฎหน้าข้อความ และคลิกที่ปุ่ม ยืนยันและดำเนินการต่อ

7. จากนั้นคุณจะได้รับหมายเลข OTP ทาง SMS ผ่านหมายเลขโทรศัพท์ที่คุณลงทะเบียนไว้ ให้นำหมายเลข OTP ที่ได้รับกรอกเพื่อยืนยันการยกเลิกลงทะเบียน

8. หากเลข OTP ที่คุณกรอกไปถูกต้อง จะปรากฏข้อความ ยกเลิกลงทะเบียนสำเร็จ โชว์ขึ้นพร้อมวันที่และเวลาที่คุณดำเนินการ

9. คุณจะได้รับ SMS แจ้งเตือนว่า คุณยกเลิกการลงทะเบียนสำเร็จ

หมายเหตุ

หากคุณเลือกที่จะยกเลิกการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยาแล้ว คุณจะไม่สามารถลงทะเบียนเพื่อรับเงินเยียวยาใหม่ได้อีก

กรณีไม่ผ่านการคัดกรองรอบแรก ยื่นทบทวนสิทธิได้แล้ว! เราไม่ทิ้งกัน อุทธรณ์ผ่านเว็บ 

เรื่องต้องระวัง

จากการแชร์ข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์ว่า สามารถเช็กสิทธิการลงทะเบียนรับเงินเยียวยาผ่านช่องทาง กด *179* ตามด้วยเลขบัตรประชาชน กด # โทรออก นั้น ไม่เป็นความจริง 

ซึ่งธนาคารกรุงไทยได้แจ้งว่า

สามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยคลิกที่ตรวจสอบสถานะบนหน้าเว็บไซต์ หรือให้รอผลทาง SMS และ Call Center ที่เบอร์ 02-111-1144 เท่านั้น ไม่สามารถตรวจสอบด้วยวิธีอื่นได้

อ่าน กรณีศึกษาของอเมริกา รับเงินช่วยเหลือ COVID-19โดยไม่ต้องลงทะเบียน

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)