เขตเลือกตั้งภาคเหนือ 2566 ทั้ง 9 จังหวัด รวม 37 เขตเลือกตั้ง

วิเคราะห์

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จํานวนเขตเลือกตั้ง และท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้ง เพื่อกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566 สำหรับเขตเลือกตั้งทั้ง 400 เขต ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้แบ่ง เขตเลือกตั้งภาคเหนือ ทั้ง 9 จังหวัด นับรวมได้ 37 เขตเลือกตั้ง โดยพื้นที่ภาคเหนือเป็นภาคที่ได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากเป็นอันดับสี่ของประเทศรองจากภาคอีสาน (133 เขต) ภาคกลาง (122 เขต) และภาคใต้ (60 เขต) โดยเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีเขตเลือกตั้งมากที่สุดของภาคเหนือ โดยมีราษฎร 1,630,907 คน คน ทำให้ได้รับสิทธิเลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คน จาก 10 เขตเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งภาคเหนือ 9 จังหวัด – 37 เขตเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้งภาคเหนือ 9 จังหวัด มีจำนวนเขตเลือกตั้งรวมทั้งสิ้น 37 เขต โดยแบ่งเขตเลือกตั้งตามจังหวัดได้ดังนี้

เชียงราย – 7 เขตเลือกตั้ง

เชียงรายมีราษฎร 1,167,121 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 7 คน

เชียงราย – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตําบลเวียง ตําบลรอบเวียง ตําบลริมกก ตําบลสันทราย ตําบลท่าสาย ตําบลป่าอ้อดอนชัย ตําบลแม่กรณ์ ตําบลดอยฮาง ตําบลแม่ยาว ตําบลห้วยชมภู และตําบลบ้านดู่)

เชียงราย – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตําบลนางแล ตําบลแม่ข้าวต้ม และตําบลท่าสุด)
  2. อําเภอเวียงชัย
  3. อําเภอเวียงเชียงรุ้ง
  4. อําเภอแม่จัน (เฉพาะตําบลแม่จัน ตําบลป่าตึง ตําบลป่าซาง ตําบลท่าข้าวเปลือก และตำบลสันทราย)

เชียงราย – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอแม่ลาว
  2. อําเภอแม่สรวย
  3. อําเภอเวียงป่าเป้า

เชียงราย – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอเมืองเชียงราย (เฉพาะตําบลดอยลาน และตําบลห้วยสัก)
  2. อําเภอพาน
  3. อําเภอป่าแดด

เชียงราย – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอเทิง
  2. อําเภอพญาเม็งราย
  3. อําเภอขุนตาล
  4. อําเภอเชียงของ (เฉพาะตําบลบุญเรือง)

เชียงราย – เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. อําเภอแม่สาย
  2. อําเภอแม่ฟ้าหลวง
  3. อําเภอแม่จัน (เฉพาะตําบลแม่คํา ตําบลแม่ไร่ ตําบลศรีค้ํา และตําบลจอมสวรรค์)

เชียงราย – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอแม่จัน (เฉพาะตําบลจันจว้า และตําบลจันจว้าใต้)
  2. อําเภอเชียงแสน
  3. อําเภอดอยหลวง
  4. อําเภอเชียงของ (เฉพาะตําบลครึ่ง ตําบลศรีดอนชัย ตําบลริมโขง ตําบลเวียง ตําบลสถาน และตําบลห้วยซ้อ)
  5. อําเภอเวียงแก่น

เชียงใหม่ – 10 เขตเลือกตั้ง

เชียงใหม่มีราษฎร 1,630,907 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คน

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตําบลช้างเผือก ตําบลสันผีเสื้อ ตําบลป่าตัน ตําบลป่าแดด ตําบลสุเทพ ตําบลช้างคลาน ตําบลช้างม่อย ตําบลหายยา ตําบลพระสิงห์ ตําบลศรีภูมิ ตําบลแม่เหียะ และตําบลฟ้าฮ่าม)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอสารภี
  2. อําเภอเมืองเชียงใหม่ (เฉพาะตําบลหนองหอย ตําบลท่าศาลา ตําบลหนองป่าครั่ง และตําบลวัดเกต)
  3. อําเภอสันกําแพง (เฉพาะตําบลบวกค้าง ตําบลสันกลาง และตําบลแช่ช้าง)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอดอยสะเก็ด
  2. อําเภอแม่ออน
  3. อําเภอสันกําแพง (เฉพาะตําบลสันกําแพง ตําบลร้องวัวแดง ตําบลออนใต้ ตําบลแม่ปูคา ตําบลห้วยทราย ตําบลทรายมูล และตําบลต้นเปา)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอสันทราย
  2. อําเภอแม่ริม (เฉพาะตําบลดอนแก้ว ตําบลเหมืองแก้ว และตําบลแม่สา)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 5

  1. อําเภอแม่แตง
  2. อําเภอสะเมิง
  3. อําเภอกัลยาณิวัฒนา
  4. อําเภอแม่ริม (เฉพาะตําบลริมเหนือ ตําบลสันโป่ง ตําบลขี้เหล็ก ตําบลสะลวง ตําบลห้วยทราย ตําบลแม่แรม ตําบลโป่งแยง และตําบลริมใต้)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 6

  1. อําเภอเชียงดาว
  2. อําเภอเวียงแหง
  3. อําเภอพร้าว
  4. อําเภอไชยปราการ (เฉพาะตําบลหนองบัว และตําบลศรีดงเย็น)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 7

  1. อําเภอฝาง
  2. อําเภอแม่อาย
  3. อําเภอไชยปราการ (เฉพาะตําบลแม่ทะลบ และตําบลปงตํา)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 8

  1. อําเภอหางดง
  2. อําเภอสันป่าตอง

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 9

  1. อําเภอแม่วาง
  2. อําเภอดอยหล่อ
  3. อําเภอจอมทอง
  4. อําเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตําบลแม่ศึก ตําบลแม่นาจร และตําบลช่างเคิ่ง)

เชียงใหม่ – เขตเลือกตั้งที่ 10

  1. อําเภออมก๋อย
  2. อําเภอดอยเต่า
  3. อําเภอฮอด
  4. อําเภอแม่แจ่ม (เฉพาะตําบลบ้านทับ ตําบลปางหินฝน ตําบลกองแขก และตําบลท่าผา)

น่าน – 3 เขตเลือกตั้ง

น่านมีราษฎร 472,747 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

น่าน – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองน่าน
  2. อําเภอภูเพียง
  3. อําเภอท่าวังผา

น่าน – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเวียงสา
  2. อําเภอนาน้อย
  3. อําเภอนาหมื่น
  4. อําเภอแมจ่ริม
  5. อําเภอบ้านหลวง
  6. อําเภอสันติสุข

น่าน – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอปัว
  2. อําเภอเชียงกลาง
  3. อําเภอสองแคว
  4. อําเภอบ่อเกลือ
  5. อําเภอเฉลิมพระเกียรติ
  6. อําเภอทุ่งช้าง

พะเยา – 3 เขตเลือกตั้ง

พะเยามีราษฎร 458,959 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

พะเยา – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองพะเยา
  2. อําเภอแม่ใจ

พะเยา – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเชียงคํา
  2. อําเภอจุน
  3. อําเภอภูซาง

พะเยา – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอดอกคําใต้
  2. อําเภอภูกามยาว
  3. อําเภอปง
  4. อําเภอเชียงม่วน

แพร่ – 3 เขตเลือกตั้ง

แพร่มีราษฎร 430,009 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

แพร่ – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองแพร่ (ยกเว้นตําบลวังธง ตําบลวังหงส์ ตําบลท่าข้าม ตําบลแม่ยม ตําบลห้วยม้า ตําบลแม่หล่าย และตําบลแม่คำมี)
  2. อําเภอสูงเม่น (ยกเว้นตําบลหัวฝาย และตําบลบ้านปง)

แพร่ – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอสอง
  2. อําเภอร้องกวาง
  3. อําเภอหนองม่วงไข่
  4. อําเภอเมืองแพร่ (เฉพาะตําบลวังธง ตําบลวังหงส์ ตําบลท่าข้าม ตําบลแม่ยม ตําบลห้วยม้า ตําบลแม่หล่าย
    และตําบลแม่คำมี)

แพร่ – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอสูงเม่น (เฉพาะตําบลหัวฝาย และตําบลบ้านปง)
  2. อําเภอเด่นชัย
  3. อําเภอลอง
  4. อําเภอวังชิ้น

แม่ฮ่องสอน – 2 เขตเลือกตั้ง

แม่ฮ่องสอนมีราษฎร 242,055 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

แม่ฮ่องสอน – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
  2. อําเภอขุนยวม
  3. อําเภอปาย
  4. อําเภอปางมะผ้า

แม่ฮ่องสอน – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอแม่สะเรียง
  2. อําเภอแม่ลาน้อย
  3. อําเภอสบเมย

ลำปาง – 4 เขตเลือกตั้ง

ลำปางมีราษฎร 715,974 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 4 คน

ลำปาง – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองลําปาง (ยกเว้นตําบลบ้านแลง ตําบลบ้านเสด็จ เทศบาลเมืองเขลางค์นคร และตําบลพิชัยนอกเขต เทศบาลนครลําปาง)
  2. อําเภอห้างฉัตร

ลำปาง – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเมืองลําปาง (เฉพาะตําบลบ้านแลง และตําบลบ้านเสด็จ)
  2. อําเภองาว
  3. อําเภอแจ้ห่ม
  4. อําเภอวังเหนือ
  5. อําเภอเมืองปาน

ลำปาง – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอเมืองลําปาง (เฉพาะเทศบาล เมืองเขลางค์นคร และตําบลพิชัยนอกเขต เทศบาลนครลําปาง)
  2. อําเภอแม่เมาะ
  3. อําเภอแม่ทะ

ลำปาง – เขตเลือกตั้งที่ 4

  1. อําเภอเกาะคา
  2. อําเภอเสริมงาม
  3. อําเภอเถิน
  4. อําเภอแม่พริก
  5. อําเภอสบปราบ

ลำพูน – 2 เขตเลือกตั้ง

ลำพูนมีราษฎร 396,469 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 2 คน

ลำพูน – เขตเลือกตั้งที่ 1

  1. อําเภอเมืองลําพูน
  2. อําเภอแม่ทา
  3. อําเภอบ้านธิ

ลำพูน – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอเวียงหนองล่อง
  2. อําเภอบ้านโฮ่ง
  3. อําเภอทุ่งหัวช้าง
  4. อําเภอลี้
  5. อําเภอป่าซาง

อุตรดิตถ์ – 3 เขตเลือกตั้ง

อุตรดิตถ์มีราษฎร 441,819 คน เลือก สส. แบบแบ่งเขตได้ 3 คน

อุตรดิตถ์ – เขตเลือกตั้งที่ 1

  • อําเภอเมืองอุตรดิตถ์

อุตรดิตถ์ – เขตเลือกตั้งที่ 2

  1. อําเภอท่าปลา
  2. อําเภอน้ําปาด
  3. อําเภอฟากท่า
  4. อําเภอบ้านโคก
  5. อําเภอทองแสนขัน
  6. อําเภอพิชัย (เฉพาะตําบลนาอิน และตําบลนายาง)

อุตรดิตถ์ – เขตเลือกตั้งที่ 3

  1. อําเภอลับแล
  2. อําเภอตรอน
  3. อําเภอพิชัย (ยกเว้นตําบลนาอิน และตําบลนายาง)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดเขตเลือกตั้ง 2566

  • จำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั่วราชอาณาจักร 65,106,481 คน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565
  • กกต. ได้กำหนดเขตเลือกตั้งโดยใช้ฐานเฉลี่ยจำนวนราษฎร 162,766 คน ต่อ สส. แบบแบ่งเขตหนึ่งคน
  • เขตเลือกตั้ง 400 เขต สามารถแบ่งจำนวนตามภาคได้ดังนี้
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด มี 133 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 133 คน)
    • ภาคกลาง 22 จังหวัด (รวมกรุงเทพมหานคร) มี 122 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 122 คน)
    • ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 60 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 60 คน)
    • ภาคเหนือ 9 จังหวัด มี 37 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 37 คน)
    • ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มี 29 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 29 คน)
    • ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 เขตเลือกตั้ง (สส. แบบแบ่งเขต 19 คน)
  • กรุงเทพมหานครมีราษฎร 5,394,910 คน จึงได้รับการจัดสรรเขตเลือกมากที่สุด คือ 33 เขตเลือกตั้ง ทำให้มี สส. แบบแบ่งเขตได้ถึง 33 คนในจังหวัดเดียว
  • ตราด ระนอง สมุทรสาคร และสิงห์บุรี เป็น 4 จังหวัดที่มีเขตเลือกเพียงจังหวัดละ 1 เขต ทำให้ทั้ง 4 จังหวัดนี้มี สส. แบบแบ่งเขตได้จังหวัดละ 1 คน
  • จังหวัดที่มีราษฎรเกิน 1 ล้านคน มีจำนวน 21 จังหวัด
  • จังหวัดที่สามารถมี สส. แบบแบ่งเขตได้ 10 คนขึ้นไป มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่
    1. กรุงเทพมหานคร ได้ 33 คน
    2. นครราชสีมา ได้ 16 คน
    3. ขอนแก่น ได้ 11 คน
    4. อุบลราชธานี ได้ 11 คน
    5. ชลบุรี ได้ 10 คน
    6. เชียงใหม่ ได้ 10 คน
    7. นครศรีธรรมราช ได้ 10 คน
    8. บุรีรัมย์ ได้ 10 คน
    9. อุดรธานี ได้ 10 คน

ไม่สะดวกไปเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 สามารถใช้สิทธิลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตในวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 แทนได้

กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้สิทธิ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขตเลือกตั้ง และ นอกราชอาณาจักร ได้ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566 เพื่อให้สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าได้จริงในวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถ ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของกรมการปกครอง BORA PORTAL เป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้

ช่วงเวลาลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 2566

  • ตั้งแต่ 25 มีนาคม – 9 เมษายน 2566

ช่องทางลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า

  1. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นด้วยตัวเองหรือผู้แทน
  2. ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องถิ่นทางไปรษณีย์
  3. ยื่นคำขอผ่านช่องทางออนไลน์

ขั้นตอนการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 นอกเขต ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง”
  6. ที่หน้าระบบลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขต ให้เลือกจังหวัดที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  7. เลือกสถานที่ที่ต้องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต
  8. กด “บันทึกข้อมูล”
  9. กด “ยืนยัน”
  10. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

กรณีต้องการลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า “นอกเขตราชอาณาจักร” สำหรับคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ผ่านเว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ลงทะเบียนขอใช้สิทธิล่วงหน้านอกราชอาณาจักร ทางอินเทอเน็ต”
  6. ตรวจสอบข้อมูลเลขหนังสือเดินทาง (Passport) แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
  7. เลือกประเทศที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  8. เลือกสถานทูต/สถานกงสุลที่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง
  9. กรอกที่อยู่ปัจจุบันในต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษ
  10. กรอกที่อยู่สำหรับจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ (สามารถระบุเป็นภาษาท้องถิ่นได้)
  11. กรอก email สำหรับส่งอีเมลตอบกลับ
  12. กด “บันทึกการลงทะเบียน”
  13. กด “ยืนยัน”
  14. ระบบจะแสดงผล “ลงทะเบียนสำเร็จ”

ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง

การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
  3. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  4. ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  5. ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  6. ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
  7. ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
  8. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  9. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  10. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
  3. นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
  4. เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
  5. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  6. ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
  7. แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
  8. แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
  9. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  10. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  11. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)