ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 65 ผ่านวาระแรก 268 ต่อ 201 เสียง

งบประมาณ

ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 65 ผ่านวาระแรกตามคาด ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ลงมติวาระแรกด้วยคะแนนผู้ลงมติ 268 ต่อ 201 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท เตรียมตั้งกรรมาธิการวิสามัญ 72 คน เพื่อประชุมครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2565

เปิดร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้าน

จัดอันดับ งบประมาณรายจ่าย 2565 จำแนกตามกระทรวง

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 23.41 น. นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้กดสัญญาณเรียกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าสู่ห้องประชุมเพื่อแสดงตนและตรวจสอบองค์ประชุม เพื่อให้ลงมติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในวาระแรกว่าจะรับหลักการหรือไม่

ผลการลงคะแนนเสียงวาระแรก เป็นดังนี้

จำนวนผู้ลงมติ 471 เสียง
เห็นด้วย 268 เสียง
ไม่เห็นด้วย 201 เสียง
งดออกเสียง 2 เสียง
ไม่ลงคะแนน 0 เสียง

ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ 65 ผ่านวาระแรก ด้วยคะแนนเห็นชอบ 268 ต่อ 201 จากนั้นตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 72 คน และเห็นชอบให้แปรญัตติเป็นระยะเวลา 30 วัน ก่อนจะปิดประชุมสภาฯ ในเวลา 00.04 น.

สัดส่วนคณะกรรมาธิการวิสามัญ 72 คน

คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะประชุมครั้งแรกในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2565 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 72 คน ซึ่งประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามสัดส่วนดังต่อไปนี้

  • คณะรัฐมนตรี จำนวน 18 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • พรรคเพื่อไทย จำนวน 15 คน (ฝ่ายค้าน)
  • พรรคพลังประชารัฐ จำนวน 13 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • พรรคภูมิใจไทย จำนวน 7 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • พรรคก้าวไกล จำนวน 6 คน (ฝ่ายค้าน)
  • พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 6 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • พรรคชาติไทยพัฒนา จำนวน 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • พรรคเสรีรวมไทย จำนวน 1 คน (ฝ่ายค้าน)
  • พรรคประชาชาติ จำนวน 1 คน (ฝ่ายค้าน)
  • พรรคเศรษฐกิจใหม่ จำนวน 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • พรรครวมพลังประชาชาติไทย 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)
  • พรรคเพื่อชาติ 1 คน (ฝ่ายค้าน)
  • พรรคพลังท้องถิ่นไท 1 คน (ฝ่ายรัฐบาล)

อนึ่ง ซึ่งหากแบ่งฝ่ายในคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้แล้ว จะมีฝ่ายรัฐบาล 48 คน และฝ่ายค้าน 24 คน

ประเมินจำนวนเสียง ส.ส. ในสภาฯ

ฝ่ายรัฐบาล

ฝ่ายรัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น 19 พรรค รวมคะแนน ส.ส. ทั้งหมด 275 เสียง (รวม 5 ส.ส. อดีต กปปส. ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่)

พรรค จำนวน ส.ส.
1. พรรคพลังประชารัฐ 122 เสียง
2. พรรคภูมิใจไทย 61 เสียง

3. พรรคประชาธิปัตย์

50 เสียง
4. พรรคชาติไทยพัฒนา 12 เสียง
5. พรรครวมพลังประชาชาติไทย 5 เสียง
6. พรรคพลังท้องถิ่นไท 5 เสียง
7. พรรคชาติพัฒนา 4 เสียง
8. พรรคเศรษฐกิจใหม่ (ไม่รวมนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) 5 เสียง
9. พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง
10. พรรคพลังชาติไทย  1 เสียง
11. พรรคประชาภิวัฒน์  1 เสียง
12. พรรคพลังไทยรักไทย  1 เสียง
13. พรรคครูไทยเพื่อประชาชน  1 เสียง
14. พรรคประชานิยม  1 เสียง
15. พรรคพลเมืองไทย  1 เสียง
16. พรรคประชาธิปไตยใหม่  1 เสียง
17. พรรคพลังธรรมใหม่  1 เสียง
18. พรรคประชาธรรมไทย  1 เสียง
19. พรรคไทรักธรรม  1 เสียง
รวม 19 พรรค 275 เสียง

อย่างไรก็ตาม เมื่อหัก ส.ส. กลุ่มอดีต กปปส. ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 5 คนออก ฝ่ายรัฐบาลจะเหลือ 270 เสียง

ฝ่ายค้าน

ฝ่ายค้านมีจำนวนทั้งสิ้น 6 พรรค รวมคะแนน ส.ส. ทั้งหมด 210 เสียง ร่วมกับอีก 2 เสียงจากฝ่ายค้านเฉพาะกิจจากอีก 2 พรรคการเมือง รวมเป็น 212 เสียง

พรรค จำนวน ส.ส.
1. พรรคเพื่อไทย 134 เสียง
2. พรรคก้าวไกล 54 เสียง
3. พรรคเสรีรวมไทย 10 เสียง
4. พรรคประชาชาติ 7 เสียง
5. พรรคเพื่อชาติ 5 เสียง
6. พรรคพลังปวงชนไทย 1 เสียง
7. พรรคไทยศิวิไลย์ (ฝ่ายค้านเฉพาะกิจ) 1 เสียง
8. พรรคเศรษฐกิจใหม่ (เฉพาะนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) 1 เสียง
รวม 8 พรรค 212 เสียง

 

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)