ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ลูกจ้าง ม.33 รับเงินเยียวยา กรณีว่างงาน

ทั่วไป

370,052 VIEWS

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ลูกจ้าง ม.33 รับเงินเยียวยา กรณีว่างงาน สำนักงานประกันสังคมพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประกันตน 33 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถยื่นรับสิทธิว่างงานเหตุสุดวิสัย 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน

ลูกจ้างที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมอย่างน้อย 6 เดือน มีสิทธิรับเงินเยียวยา 50% ของค่าจ้าง

23 กรกฎาคม 2564 – สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เผยแพร่สิทธิประโยชน์ประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างในระบบประกันสังคม) เพื่อให้ลูกจ้างได้ ตรวจสอบสิทธิประสังคม รับเงินเยียวยากรณีว่างงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ประกันสังคม เยียวยาผู้ว่างงาน ม.33

ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับการเยียวยากรณีว่างงาน

  • เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  • จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน

สิทธิของลูกจ้าง กรณีว่างงาน

กรณีว่างงานเพราะถูกเลิกจ้าง

  • รับเงินเยียวยา 70% ของค่าจ้าง (สูงสุด 10,500 บาท) ครั้งละไม่เกิน 200 วัน/ปีปฏิทิน

กรณีว่างงานเพราะ​ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

  • รับเงินเยียวยา 45% ของค่าจ้าง (สูงสุด 6,750 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน

กรณีว่างงานเพราะเหตุสุดวิสัยจากการระบาดของโรคติดต่อ

  • รับเงินเยียวยา 50% ของค่าจ้าง (สูงสุด 7,500 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน

หมายเหตุ: ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 จะกลับมาใช้อัตราเยียวยาเดิมคือ กรณีเลิกจ้าง จ่าย 50% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน และกรณีเลิกจ้าง จ่าย 30% ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

ช่องทางขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน

  • ระบบขึ้นทะเบียนและรายงานตัวผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต >> https://empui.doe.go.th โดย กรมการจัดหางาน

ย้ำ ให้นายจ้างยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ และรับรองกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยได้ให้ลูกจ้างผ่านทางระบบ e-service สงสัยโทร สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง ​​

ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างในระบบประกันสังคม) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากรัฐมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว และถูกกักตัวเพื่อป้องกันการระบาดของโรค โดยสำนักงานประกันสังคม พร้อมจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ประกันตนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน พิจารณาจ่ายตาม”กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563″ ย้ำ ให้นายจ้างยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ และรับรองกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยได้ให้ผู้ประกันตนได้ โดยไม่ต้องมาสำนักงานฯ ผ่านทางระบบ e-service

นางสาวลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมเร่งอนุมัติจ่ายเงินว่างงานเหตุสุดวิสัย เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยา และบรรเทา ความเดือดร้อนให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ดังกล่าว โดยคุณสมบัติของผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย นั้น ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน 15 เดือนย้อนหลังก่อนวันที่ว่างงาน และไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่ง ให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ และผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น

ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 90 วัน ซึ่งขั้นตอนการขอรับสิทธิประโยชน์ให้นายจ้างยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ และรับรองกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยให้ผู้ประกันตน โดยไม่ต้องมาสำนักงานฯ ผ่านทางระบบ e-service และส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) และสำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ที่เป็นเอกสารส่งให้สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด ที่อยู่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ (แบบลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-service

ทั้งนี้ ขอย้ำว่า นายจ้าง ผู้ประกันตน ไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่สำนักงานประกันสังคม หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

มาตรการโควิดรอบใหม่เพิ่มเติม 1 เดือนลูกจ้างและกิจการที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่สีแดงเข้ม รับเงินเยียวยา กรณีว่างงาน

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 www.sso.go.th

กลุ่มของกิจการที่จะได้รับการเยียวยาตาม มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่

กลุ่มกิจการ 9 หมวด ได้แก่
  1. ก่อสร้าง
  2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
  4. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
  5. ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
  6. ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
  7. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
  8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
  9. ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร

แนวทางการเยียวยาเพิ่มเติมสำหรับลูกจ้างในระบบประกันสังคม (ม. 33) ในกิจการ 9 หมวด

  • รัฐจะจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทย 2,500 บาทต่อคน แต่ถ้ามีการหยุดงานด้วย รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รวมแล้วได้รับเงินเยียวยาสูงสุด 10,000 บาท โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
  • เอกสารที่ลูกจ้างต้องเตรียม
    • หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนแล้ว
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • แบบคําขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) >> โหลดแบบฟอร์ม สปส.2-01/7

 

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)