ทบทวนสิทธิเงินเยียวยา ผู้ประกันตน ม.33, 39, 40 เริ่ม 1 ก.ย. 2564

ทั่วไป

252,829 VIEWS

สำนักงานประกันสังคมจะเปิดให้ ทบทวนสิทธิเงินเยียวยา 2,500-5,000 บาท กรณีที่ผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่สีแดงเข้ม (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด) ทั้ง 29 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมของรัฐ เช็กสิทธิแล้วพบว่าตนไม่มีสิทธิรับเงินเยียวยา โดยผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 จะเริ่มเปิดให้ทบทวนสิทธิเยียวยาได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 33 จะเริ่มทบทวนสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน

วิธีขอทบทวนสิทธิเงินเยียวยาประกันสังคม

วิธีทบทวนสิทธิเงินเยียวยา ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 สามารถทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. โทรติดต่อสายส่วนประกันสังคม 1506 เพื่อตรวจสอบข้อมูลสิทธิเบื้องต้นและความแออัดหากต้องติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ฯ (โปรดเตรียมข้อมูลบัตรประชาชนเพื่อแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลักแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันตัวตน)
  2. หากตรวจสอบแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ขอทบทวนสิทธิได้ จึงค่อยเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่ตนเองอยู่

เอกสารที่ต้องเตรียมไปสำหรับขอทบทวนสิทธิเงินเยียวยาประกันสังคม

  1. สำเนาบัตรประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาหลักฐานการชำระเงินสมทบประกันสังคมในเดือนกรกฎาคม (กรณีเป็นผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40)

โหลดแบบฟอร์มคำขอทบทวนสิทธิ์

ผู้ประกันตนที่ต้องการขอทบทวนสิทธิสามารถโหลดแบบฟอร์มคำขอทบทวนสิทธิโครงการเยียวยาผู้ประกันตนไปล่วงหน้าได้ หรือขอรับแบบฟอร์มฯ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ก็ได้

ทบทวนสิทธิเงินเยียวยา ประกันสังคม กรณีเช็คเงินเยียวยาแล้วไม่ได้สิทธิ์

  • กรณีที่หากเช็คแล้วไม่ได้สิทธิ์ ให้ยื่นทบทวนสิทธิ์เยียวยาอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้สำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แล้วค่อยเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ฯ เป็นลำดับต่อไป (ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 33 จะยื่นทบทวนได้ในวันที่ 15 กันยายน 2564) 
  • กรณีได้รับสิทธิ์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา อาจเกิดจากการโอนเงินไม่สำเร็จ ผู้ประกันตนควรรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง

รอบเวลาการโอนเงินเยียวยาของแต่ละธนาคาร

  • ธนาคารออมสิน โอนเวลา 1.00 น.
  • ธนาคารกสิกรไทย โอนเวลา 1.35 น.
  • ธนาคารกรุงไทย โอนเวลา 3.00 น.
  • ธนาคารกรุงเทพ โอนเวลา 3.00 น.
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ โอนเวลา 4.00 น.
  • ธกส. โอนเวลา 4.30 น.
  • ธนาคารอื่นๆ โอนเงินภายในเวลา 5.00 น.

ช่องทางตรวจสอบสิทธิ์เงินเยียวยา ประกันสังคม ของผู้ประกันตน ม.33, ม.39 และ ม.40

วิธีตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยามาตรา 33 และการขอทบทวนสิทธิ์

  1. ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
  2. กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
  3. กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
  4. กด ‘ค้นหา’
  5. ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ
  6. กรณีขึ้นว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ให้รอทบทวนสิทธิอีกครั้ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านข้อมูลผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  7. กรณีขึ้นว่าได้รับสิทธิแต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา โปรดรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน
  8. กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา

หมายเหตุ: สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง

วิธีตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยามาตรา 39 และการขอทบทวนสิทธิ์

  1. ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
  2. กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
  3. กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
  4. กด ‘ค้นหา’
  5. ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ
  6. กรณีขึ้นว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ให้รอทบทวนสิทธิอีกครั้ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านข้อมูลผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  7. กรณีขึ้นว่าได้รับสิทธิแต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา โปรดรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน
  8. กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา

หมายเหตุ: สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง

วิธีตรวจสอบสิทธิเงินเยียวยามาตรา 40 และการขอทบทวนสิทธิ์

  1. ไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม >> www.sso.go.th
  2. กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
  3. กรอกรหัสให้ตรงกับรูปภาพ
  4. กด ‘ค้นหา’
  5. ระบบจะแจ้งผล “ได้รับสิทธิ” หรือ “ไม่ได้รับสิทธิ” ตามเงื่อนไขโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ
  6. กรณีขึ้นว่า “ไม่ได้รับสิทธิ” ให้รอทบทวนสิทธิอีกครั้ง ในวันที่ 1 กันยายน 2564 โดยระหว่างนี้ผู้ประกันตนสอบถามผ่านข้อมูลผ่านสายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  7. กรณีขึ้นว่าได้รับสิทธิแต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา โปรดรีบติดต่อธนาคารโดยด่วน
  8. กรณีที่ยังไม่ผูกพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน ให้รีบไปดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชน หรือเปลี่ยนจากผูกพร้อมเพย์เบอร์โทรศัพท์เป็นพร้อมเพย์เลขบัตรประชาชนเพื่อรับเงินเยียวยา

หมายเหตุ: สำนักงานประกันสังคมจะทำการโอนเงินรอบเก็บตกให้ทุกวันพฤหัสบดี โปรดตรวจสอบยอดเงินโอนอีกครั้ง

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) 29 จังหวัด

ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่จะมีสิทธิรับเงินเยียวยาต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ ‘ล็อกดาวน์’ ได้แก่

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กาญจนบุรี
  3. ชลบุรี
  4. ฉะเชิงเทรา
  5. ตาก
  6. นครปฐม
  7. นครนายก
  8. นครราชสีมา
  9. นราธิวาส
  10. นนทบุรี
  11. ปทมุธานี
  12. ประจวบคีรีขันธ์
  13. ปราจีนบุรี
  14. ปัตตานี
  15. พระนครศรีอยุธยา
  16. เพชรบุรี
  17. เพชรบูรณ์
  18. ยะลา
  19. ระยอง
  20. ราชบุรี
  21. ลพบุรี
  22. สงขลา
  23. สิงห์บุรี
  24. สมุทรปราการ
  25. สมุทรสงคราม
  26. สมุทรสาคร
  27. สระบุรี
  28. สุพรรณบุรี
  29. อ่างทอง

หมายเหตุ: การเดินทางเข้า-ออกพื้นที่สีแดงเข้มต้องลงทะเบียนรับ QR Code เดินทางข้ามพื้นที่ covid-19.in.th ‘หยุดเชื้อเพื่อชาติ’ ด้วย

กลุ่มกิจการที่ได้รับเงินเยียวยา 9 ประเภทกิจการ

1. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

ตัวอย่างกิจการ

  • โรงแรม
  • รีสอร์ท
  • เกสต์เฮาส์
  • ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท
  • การบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร
  • การบริการด้านอาหารบนแผงลอยและตลาด
  • การบริการด้านการจัดเลี้ยง
  • การบริการด้านเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นหลักในร้าน

2. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

ตัวอย่างกิจการ

  • การขนส่งผู้โดยสารทางรถโดยสารประจําทางระหว่างกรุงเทพฯ กับจังหวัดอื่น และระหว่างจังหวัด
  • การขนส่งผู้โดยสารโดยรถยนต์รับจ้าง/แท็กซี่/รถสามล้อเครื่อง/จักรยานยนต์รับจ้าง
  • การขนส่งสินค้าแช่เย็นหรือแช่แข็งทางถนน
  • การขนส่งสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ทางถนน

3. การขายแข่งและการขายปลีก

ตัวอย่างกิจการ

  • การซ่อมยานยนต์
  • ห้างสรรพสินค้า
  • ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
  • การขายปลีกสินค้าทั่วไป

4. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

ตัวอย่างกิจการ

  • ธุรกิจจัดนําเที่ยว
  • กิจกรรมของมัคคุเทศก์
  • กิจกรรมการรักษาความปลอดภัย
  • การบริการทําความสะอาด
  • การจัดการประชุมและจัดการแสดงที่สินค้า (Event)

5. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

ตัวอย่างกิจการ

  • กิจกรรมของบริษัทโฆษณา
  • กิจกรรมการออกแบบและตกแต่งภายใน
  • การตรวจสอบบัญชี
  • การให้คําปรึกษาด้านภาษี

6. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

ตัวอย่างกิจการ

  • กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์
  • กิจกรรมการผลิตรายการโทรทัศน์
  • กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

7. การก่อสร้าง

ตัวอย่างกิจการ

  • การก่อสร้างอาคารที่พักอาศัย
  • การก่อสร้างถนน, สะพานและอุโมงค์
  • การติดตั้งระบบประปาและระบายน้ํา

8. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ

ตัวอย่างกิจการ

  • กิจกรรมสปา
  • กิจกรรมการแต่งผม
  • กิจกรรมการดูแลความงาม แต่งเล็บมือและเล็บเท้า
  • กิจกรรมเกี่ยวกับงานศพและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

9. ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

ตัวอย่างกิจการ

  • การดําเนินงานของสถานที่ออกกําลังกาย
  • กิจกรรมด้านสโมสรกีฬา
  • กิจกรรมด้านสวนสนุกและธีมปาร์ค
  • กิจกรรมการแห่งโชว์เพื่อความบันเทิงและการนันทนาการ
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)