จังหวัดที่ถอดแมสก์ได้ นำร่อง 31 จังหวัดพื้นที่สีฟ้า/สีเขียว

ทั่วไป

นำร่อง 31 จังหวัดที่ถอดแมสก์ได้ พื้นที่สีฟ้า/สีเขียว เริ่มในจังหวัดพื้นที่สีฟ้าและพื้นที่สีเขียวที่มีความพร้อม แต่ให้คงใส่หน้ากากอนามัยไว้สำหรับ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่อยู่ในสถานที่ปิดและอากาศไม่ถ่ายเท และ การเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก

27 พฤษภาคม 2565 – นายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โควิด 19 โดยเปิดเผยว่าสถานการณ์ทั่วโลกเริ่มดีขึ้น และเริ่มผ่อนคลายมาตรการแล้ว สำหรับประเทศไทย หากการติดเชื้อลดลง ป่วยหนัก และเสียชีวิตลดลง กระทรวงสาธารณสุข ก็เตรียมลดระดับเตือนภัยจากระดับ 3 เป็นระดับ 2 เพื่อให้ประชาชนใช้ชีวิตปกติมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการ ถอดแมสก์ ในพื้นที่ที่มีความพร้อม

ด้าน นายแพทย์ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ภาครัฐเตรียมพิจารณาพื้นที่นำร่องถอดแมสก์สำหรับพื้นที่ที่มีความพร้อม โดยจะเริ่มนำร่องในพื้นที่จังหวัดสีเขียวและจังหวัดสีฟ้าก่อน ส่วนระยะเวลาถอดหน้ากากอนามัยต้องกำหนดอีกที ยังไม่ระบุวัน-เวลา ซึ่งต้องแจ้งให้ทาง ศบค. รับทราบด้วย

ถอดแมสก์ได้เมื่อไหร่?

  • ต้องรอมติ ศบค. เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ทั่วประเทศอย่างเป็นทางการต่อไป แต่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนมิถุนายน 2565

31 จังหวัดที่ถอดแมสก์ได้ นำร่องมาตรการ “ถอดหน้ากากอนามัย” ในพื้นที่สีฟ้าและสีเขียว

มาตรการถอดแมสก์จะเริ่มในพื้นที่สีฟ้า 17 จังหวัด และพื้นที่สีเขียว 14 จังหวัด รวมเป็นพื้นที่ 31 จังหวัดนำร่อง ดังนี้

พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) – 17 จังหวัด

พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) 17 จังหวัด ที่จะนำร่องมาตรการให้ถอดหน้ากากอนามัยได้ ได้แก่

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. กระบี่
  3. กาญจนบุรี
  4. จันทบุรี
  5. ชลบุรี
  6. เชียงใหม่
  7. เชียงราย
  8. นครราชสีมา
  9. นนทบุรี
  10. นราธิวาส
  11. ปทุมธานี
  12. ประจวบคีรีขันธ์
  13. พังงา
  14. เพชรบุรี
  15. ภูเก็ต
  16. ระยอง
  17. สงขลา

พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) – 14 จังหวัด

พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) 14 จังหวัด ที่จะนำร่องมาตรการให้ถอดหน้ากากอนามัยได้ ได้แก่

  1. ชัยนาท
  2. ตราด (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  3. นครพนม
  4. น่าน
  5. บุรีรัมย์ (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  6. พิจิตร
  7. มหาสารคาม
  8. ยโสธร
  9. ลำปาง
  10. สุราษฎร์ธานี (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  11. สุรินทร์ (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  12. อ่างทอง
  13. อำนาจเจริญ
  14. อุดรธานี (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))

หมายเหตุ: มาตรการดังกล่าวจะยังคงให้ใส่หน้ากากอนามัยไว้สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง
  2. ผู้ที่อยู่ในสถานที่ปิดและอากาศไม่ถ่ายเท และ
  3. การเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก

พื้นที่สีเหลือง 46 จังหวัด เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ยังไม่อยู่ในเกณฑ์นำร่องถอดแมสก์ได้

พื้นที่เฝ้าระวัง (พื้นที่สีเหลือง) จำนวน 46 จังหวัด ยังต้องรอประกาศมาตรการถอดหน้ากากอนามัยต่อไป

พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 65 จังหวัด

พื้นที่สีเหลือง (เฝ้าระวังสูง) ประกอบด้วย 65 จังหวัด ต่อไปนี้

  1. กาฬสินธุ์
  2. กำแพงเพชร
  3. ขอนแก่น (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  4. ฉะเชิงเทรา
  5. ชัยภูมิ
  6. ชุมพร
  7. ตรัง
  8. ตาก
  9. นครนายก
  10. นครปฐม
  11. นครศรีธรรมราช
  12. นครสวรรค์
  13. บึงกาฬ
  14. ปราจีนบุรี
  15. ปัตตานี
  16. พะเยา
  17. พระนครศรีอยุธยา (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  18. พัทลุง
  19. พิษณุโลก
  20. เพชรบูรณ์
  21. แพร่
  22. มุกดาหาร
  23. แม่ฮ่องสอน
  24. ยะลา (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  25. ร้อยเอ็ด
  26. ระนอง (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  27. ราชบุรี
  28. ลพบุรี
  29. ลำพูน
  30. เลย (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  31. ศรีสะเกษ
  32. สกลนคร
  33. สตูล
  34. สมุทรปรากร  (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  35. สมุทรสงคราม
  36. สมุทรสาคร
  37. สระแก้ว
  38. สระบุรี
  39. สิงห์บุรี
  40. สุโขทัย
  41. สุพรรณบุรี
  42. หนองคาย (พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่นำร่อง (พื้นที่สีฟ้า))
  43. หนองบัวลำภู
  44. อุตรดิตถ์
  45. อุทัยธานี
  46. อุบลราชธานี

เกณฑ์การพิจารณาพื้นที่นำร่อง “ถอดแมสก์” ได้

ทั้งนี้ พื้นที่นำร่องดังกล่าว ใช้เกณฑ์การปรับมาตรการสวมหน้ากากอนามัย ได้แก่

  1. เป็นพื้นที่ระบาดโควิดอยู่ในระดับต่ำ โดยพิจารณาจากจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต
  2. อัตราการฉีดวัคซีนกับประชาชนได้ตามเกณฑ์
  3. ระบบรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ของสถานพยาบาลในพื้นที่นั้นๆ มีความพร้อม
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)