ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด บัตรทอง 30 บาท ประกันสังคม ข้าราชการ วิธีใช้สิทธิรักษา

ทั่วไป

2,357 VIEWS

ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด สามารถใช้สิทธิรักษาได้ทั้ง บัตรทอง 30 บาท ประกันสังคม ข้าราชการ ซึ่งมีหลักเกณฑ์การใช้สิทธิรักษาที่แตกต่างกันในรายละเอียดดังนี้

1. สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.) หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  1. สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้
  2. หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ (ไม่ใช้ใบส่งตัว) ทั้งนี้ หน่วยบริการปฐมภูมิ เช่น สถานีอนามัย, รพ.สต., หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลประจำอำเภอ-จังหวัด, ศูนย์สุขภาพชุมชน ศูนย์บริการสาธารณสุข รวมถึง คลินิกชุมชนอบอุ่น เป็นต้น 
  3. รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 ตลอด 24 ชม. หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เพิ่มเพื่อนไลน์กับ สปสช. @nhso

2. การใช้สิทธิรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียว สิทธิประกันสังคม 

  1. โรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนลงทะเบียนไว้
  2. สถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง ดูรายชื่อได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
  3. สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง 

สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนประกันสังคม 1506

3. การใช้สิทธิรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียว สิทธิข้าราชการ

  1. สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง 
  2. รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. 

สอบถามเพิ่มเติม สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วันและเวลาราชการ

4 วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล ทำได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

คุณสามารถตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาลได้ 4 วิธีดังต่อไปนี้

  1. โทร.สายด่วน สปสช. 1330 กด 2 
  2. เว็บไซต์ สปสช. https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
  3. แอปพลิเคชั่น สปสช. โหลดฟรี ทั้ง Apple App Store (iOS) และ Google Play Store (แอนดรอยด์) เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
  4. ไลน์ สปสช. @nhso หรือ คลิก https://lin.ee/zzn3pU6 เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ

อาการ 3 สี เขียว เหลือง แดง ผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอะไรบ้าง?

แม้จะได้ผลตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด เหมือนกัน แต่ระดับอาการของผู้ติดเชื้อแต่ละคนอาจแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งอาการผู้ติดเชื้อได้เป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้

สีเขียว 

  • ไม่มีอาการ
  • มีไข้อุณหภูมิ 37.5 องศาขึ้นไป
  • ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส
  • เจ็บคอ ไอ/มีน้ำมูก 
  • มีผื่น ถ่ายเหลว ตาแดง 
รักษากับสถานพยาบาลตามสิทธิด้วยแนวทาง
  • ผู้ป่วยนอกและแยกกักตัวที่บ้าน (เจอ แจก จบ) หรือ 
  • รักษาที่บ้าน (Home Isolation) 

หากมีอาการเปลี่ยนแปลง เข้าสู่กลุ่มสีเหลือง/แดง ส่งต่อ รพ.ที่สามารถดูแล (ใช้สิทธิ UCEP Plus ได้) 

สีเหลือง

  •  แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย
  • ปอดอักเสบ ไอแล้วเหนื่อย 
  • อ่อนเพลีย ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน 
  • อาการแทรกซ้อนจากโรคประจำตัว 
  • เด็กเล็กซึม หายใจลำบาก กินนม/อาหารน้อยลง
  • กลุ่ม 608
    • ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
    • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ
      1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
      2. หัวใจและหลอดเลือด
      3. ไตวายเรื้อรัง
      4. โรคหลอดเลือดสมอง
      5. โรคอ้วน น้ำหนักมากกว่า> 90 กก.
      6. มะเร็ง
      7. เบาหวาน และ
      8. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป 

สีแดง 

  • หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค
  • แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก
  • ปอดอักเสบรุนแรง
  • อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง
  • ไข้สูงกว่า 39 องศาต่อเนื่อง
  • ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94

สีเหลือง-สีแดง เข้าเกณฑ์ UCEP Plus

  • รักษาฟรีใน รพ.ตามสิทธิรักษาของท่าน หรือ 
  • UCEP Plus เข้ารักษาใน รพ.ใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ (รัฐ/เอกชน) ไม่เสียค่าใช้จ่าย รพ.ดูแลรักษาจนหายหรือส่งต่อไป รพ.อื่นได้หากศักยภาพไม่เพียงพอ หรือส่งต่อให้ รพ.ในเครือข่ายที่จัดไว้ 
  • ขั้นตอนนี้ หากผู้ป่วย/ญาติปฏิเสธ ต้องออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง 

หมายเหตุ 

  • กรณีผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลือง/แดง มีประกันชีวิต ให้ใช้สิทธิตามประกันชีวิตก่อน
  • กลุ่ม 608, หญิงตั้งครรภ์, เด็กอายุ 0-5 ปี, คนพิการ, ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเพื่อเข้าระบบรักษาตามอาการต่อไป  
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)