www.SSO.go.th ตรวจสอบสิทธิเยียวยา ม.33

ทั่วไป

260,568 VIEWS

คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ให้นายจ้าง-ลูกจ้าง ที่อยู่ในระบบประกันสังคม ม.33 ในพื้นที่ 10 จังหวัด เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยใช้งบประมาณราว 30,000 ล้านบาท ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมเปิดระบบ ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยา ม.33 ให้นายจ้างและลูกจ้างเข้าไปตรวจสอบได้แล้ว ที่ www.sso.go.th

ตรวจสอบสิทธิ์เยียวยา นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 www.sso.go.th

มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ สำหรับลูกจ้างและกิจการที่ได้รับผลกระทบ ในพื้นที่ 10 จังหวัด วงเงิน 30,000 ล้านบาท

พื้นที่ที่ผู้ได้รับผลกระทบจะได้รับการเยียวยาจาก มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ จะอยู่ในพื้นที่ควบคุมเข้มงวดและสูงสุด (พื้นที่สีแดงเข้ม) 10 จังหวัด ต่อไปนี้

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. นครปฐม
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. สมุทรปราการ
  6. สมุทรสาคร
  7. นราธิวาส
  8. ปัตตานี
  9. ยะลา
  10. สงขลา

กลุ่มของกิจการที่จะได้รับการเยียวยาตาม มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่

กลุ่มกิจการ 9 หมวด ได้แก่
  1. ก่อสร้าง
  2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
  3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ
  4. กิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ
  5. ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์
  6. ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
  7. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
  8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
  9. ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร
กลุ่มกิจการของถุงเงิน 5 กิจการ ได้แก่
  1. ร้านอาหารและเครื่องดื่ม
  2. ร้าน OTOP
  3. ร้านค้าทั่วไป
  4. ร้านค้าบริการ
  5. กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)

แนวทางการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบแต่ละกลุ่ม

1. ลูกจ้างในระบบประกันสังคม (ม. 33) ในกิจการ 9 หมวด
  • รัฐจะจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทย 2,500 บาทต่อคน แต่ถ้ามีการหยุดงานด้วย รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รวมแล้วได้รับเงินเยียวยาสูงสุด 10,000 บาท โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
  • เอกสารที่ลูกจ้างต้องเตรียม
    • หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนแล้ว
    • สำเนาบัตรประชาชน
    • แบบคําขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) >> โหลดแบบฟอร์ม สปส.2-01/7
2. นายจ้างในระบบประกันสังคมในกิจการ 9 หมวด
  • รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน โดยจะได้รับเงินในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
  • เอกสารที่นายจ้างต้องเตรียม
    • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล อายุไม่เกิน 6 เดือน
    • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการบริษัท
    • หน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของบริษัท
    • หนังสือแจ้งความประสงค์
3. ผู้ประกันตนภาคสมัครใจในระบบประกันสังคม (ม. 39 และ ม. 40)
  • รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน โดยจะโอนเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance)
  • ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจของระบบประกันสังคมตาม ม. 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท ตามกลุ่มที่ 3 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม
  • ให้ขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างในระบบประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามกลุ่มที่ 1 และ 2 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
6. ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม
  • ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจของระบบประกันสังคมตาม ม. 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท ตามกลุ่มที่ 3 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
7. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” ที่มีลูกจ้าง
  • ให้ขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างในระบบประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามกลุ่มที่ 1 และ 2 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564
8. ผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” 5 หมวด ภายใต้โครงการ “คนละครึ่ง” และโครงการ “เราชนะ” แต่ไม่มีลูกจ้าง
  • ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนภาคสมัครใจของระบบประกันสังคมตาม ม. 40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท ตามกลุ่มที่ 3 เพื่อรับเงินเยียวยาเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564

ระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 10 จังหวัด

  • 1 เดือน ทั้งนี้ อาจมีการขยายต่อตามสถานการณ์
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)