สรุป เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และเงื่อนไขการลงทะเบียน

ทั่วไป

เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และเงื่อนไขการลงทะเบียน แจกให้ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไปที่มีเงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาท และมีเงินในบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท รับโอนเงินช่วงปลายปี 2567 ราวไตรมาส 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2567)

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และเงื่อนไขการลงทะเบียน

  • เป็นผู้มีสัญชาติไทย
  • อายุ 16 ปีขึ้นไป
  • ต้องมีรายได้ทั้งปี 2566 ที่ผ่านมาไม่เกิน 840,000 บาทต่อปี (เงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาท) และ มีเงินในบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท (แต่ไม่รวมสลากออมทรัพย์ หุ้นกู้ ตราสารหนี้ พันธบัตร)
  • ยืนยันตัวตนสำหรับการใช้ดิจิทัลวอลเล็ตตามเกณฑ์ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย แล้ว
  • คาดว่าจะมีผู้ได้รับประโยชน์ราว 50 ล้านคน ใช้งบประมาณ 500,000 ล้านบาท

ขั้นตอนลงทะเบียนรับ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท สำหรับประชาชนทั่วไป

รายละเอียดร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

  • จะเปิดให้ลงทะเบียนร้านค้าต่อไปภายในไตรมาส 3 ของปี 2567 (คาดราวกรกฎาคม – กันยายน 2567)

ช่วงเวลารับเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • ปลายปี 2567 คาดราวไตรมาส 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2567)
  • วงเงิน 10,000 บาทมีอายุการใช้จ่ายได้ราว 6 เดือน

เงื่อนไขการใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • ใช้จ่ายได้กับร้านค้าขนาดเล็กในระดับอำเภอตามคุณสมบัติตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น

สินค้า/บริการที่ไม่สามารถนำเงินดิจิทัล 10,000 ไปใช้ได้

  • สินค้าอบายมุข
  • สินค้าออนไลน์
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ กัญชา กระท่อม พืชกระท่อม และผลิตภัณฑ์จากกัญชาและพืชกระท่อม
  • น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ
  • บริการทุกชนิด
  • ชำระหนี้
  • ค่าเรียน ค่าเทอม
  • ค่าน้ำ ค่าไฟ
  • ค่าโทรศัพท์
  • แลกเป็นเงินสดไม่ได้
  • แลกเปลี่ยนในตลาดต่างๆ ไม่ได้
  • รายการสินค้าหรือบริการที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม

ร้านค้าที่รับเงินดิจิทัล 10,000 บาทได้

  • ร้านค้าขนาดเล็กขนาดเล็กในระดับอำเภอตามคุณสมบัติตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และอยู่ในระบบภาษีแล้วเท่านั้น เช่น ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ทั้งนี้ ร้านค้าจะถอนเงินได้หลังเกิดการใช้จ่ายตั้งแต่รอบที่สองเป็นต้นไป 

ที่มาของงบประมาณ 500,000 ล้านบาท

งบประมาณ 500,000 ล้านบาท มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่

  1. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วงเงิน 152,700 ล้านบาท

  2. ใช้เงินจากมาตรา 28 ของ ธ.ก.ส. วงเงิน 172,300 ล้านบาท

  3. บริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วงเงิน 175,000 ล้านบาท

ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับ โครงการ เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

10 เมษายน 2567 – ที่ทำเนียบรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 ว่า รัฐบาลประกาศขอเริ่มต้นการทำนโยบายเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ตในวันนี้ โดยจะเปิดให้ลงทะเบียนร้านค้าในไตรมาสที่ 3 และเริ่มต้นโครงการในไตรมาสที่ 4 ปี 2567

ทั้งนี้ โครงการจะครอบคลุมประชาชนที่ได้รับสิทธิ 50 ล้านคน ใช้วงเงิน 500,000 ล้านบาท

“นโยบายการเติมเงิน 1 หมื่นบาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว รัฐบาลสามารถทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับพี่น้องประชาชน เป็นไปตามตัวบทกฎหมายและกรอบวินัยการเงินการคลัง ร้านค้าสามารถลงทะเบียนได้ในไตรมาส 3 และเงินจะส่งตรงถึงประชาชนไตรมาส 4 ปีนี้” นายเศรษฐา ทวีสิน กล่าว

‘คลัง’ ชี้แจง แหล่งเงิน 500,000 ล้านบาท มาจาก 3 แหล่ง รัฐบาลไม่ต้องออกกฎหมายกู้เงินเพิ่ม

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 3/2567 หรือ บอร์ดแจกเงินดิจิทัล ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

โดยปลัดกระทรวงการคลัง อธิบายถึงแหล่งวงเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการจำนวน 500,000 ล้านบาท โดยมาจากงบประมาณทั้งปี 2567 และ 2568 รวมกันโดยรัฐบาลไม่ต้องออกกฎหมายกู้เงินเพิ่ม โดยจะใช้แหล่งงบประมาณทั้งหมด แบ่งเป็น 3 ส่วน

  1. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วงเงิน 152,700 ล้านบาท
  2. ใช้เงินจากมาตรา 28 ของ ธ.ก.ส. วงเงิน 172,300 ล้านบาท
  3. บริหารจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วงเงิน 175,000 ล้านบาท
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)