อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ใหม่ เริ่มใช้บังคับแล้ว 1 ต.ค. 2565

ทั่วไป

3,740 VIEWS

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ใหม่ เริ่มใช้บังคับแล้ว มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป อัพเดตล่าสุด อัตราค่าแรงขั้นต่ำ มี 9 อัตราแบ่งตามพื้นที่ โดยกำหนดอัตราต่ำสุด 328 บาท และอัตราสูงสุด 354 บาท อ้างอิงตาม ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11)

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2565 ใหม่ แยกตามพื้นที่ 77 จังหวัด เริ่มใช้แล้วตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

กรุงเทพมหานคร

  • วันละ 353 บาท

กระบี่

  • วันละ 340 บาท

กาญจนบุรี

  • วันละ 335 บาท

กาฬสินธุ์

  • วันละ 338 บาท

กำแพงเพชร

  • วันละ 332 บาท

ขอนแก่น

  • วันละ 340 บาท

จันทบุรี

  • วันละ 338 บาท

ฉะเชิงเทรา

  • วันละ 345 บาท

ชลบุรี

  • วันละ 354 บาท

ชัยนาท

  • วันละ 335 บาท

ชัยภูมิ

  • วันละ 332 บาท

ชุมพร

  • วันละ 332 บาท

เชียงราย

  • วันละ 332 บาท

เชียงใหม่

  • วันละ 340 บาท

ตรัง

  • วันละ 332 บาท

ตราด

  • วันละ 340 บาท

ตาก

  • วันละ 332 บาท

นครนายก

  • วันละ 338 บาท

นครปฐม

  • วันละ 353 บาท

นครพนม

  • วันละ 335 บาท

นครราชสีมา

  • วันละ 340 บาท

นครศรีธรรมราช

  • วันละ 332 บาท

นครสวรรค์

  • วันละ 335 บาท

นนทบุรี

  • วันละ 353 บาท

นราธิวาส

  • วันละ 328 บาท

น่าน

  • วันละ 328 บาท

บึงกาฬ

  • วันละ 335 บาท

บุรีรัมย์

  • วันละ 335 บาท

ปทุมธานี

  • วันละ 353 บาท

ประจวบคีรีขันธ์

  • วันละ 335 บาท

ปราจีนบุรี

  • วันละ 340 บาท

ปัตตานี

  • วันละ 328 บาท

พระนครศรีอยุธยา

  • วันละ 343 บาท

พังงา

  • วันละ 340 บาท

พัทลุง

  • วันละ 335 บาท

พิจิตร

  • วันละ 332 บาท

พิษณุโลก

  • วันละ 335 บาท

เพชรบุรี

  • วันละ 335 บาท

เพชรบูรณ์

  • วันละ 335 บาท

แพร่

  • วันละ 332 บาท

พะเยา

  • วันละ 335 บาท

ภูเก็ต

  • วันละ 354 บาท

มหาสารคาม

  • วันละ 332 บาท

มุกดาหาร

  • วันละ 338 บาท

แม่ฮ่องสอน

  • วันละ 332 บาท

ยะลา

  • วันละ 328 บาท

ยโสธร

  • วันละ 335 บาท

ร้อยเอ็ด

  • วันละ 335 บาท

ระนอง

  • วันละ 332 บาท

ระยอง

  • วันละ 354 บาท

ราชบุรี

  • วันละ 332 บาท

ลพบุรี

  • วันละ 340 บาท

ลำปาง

  • วันละ 332 บาท

ลำพูน

  • วันละ 332 บาท

เลย

  • วันละ 335 บาท

ศรีสะเกษ

  • วันละ 332 บาท

สกลนคร

  • วันละ 338 บาท

สงขลา

  • วันละ 340 บาท

สตูล

  • วันละ 332 บาท

สมุทรปราการ

  • วันละ 353 บาท

สมุทรสงคราม

  • วันละ 338 บาท

สมุทรสาคร

  • วันละ 353 บาท

สระแก้ว

  • วันละ 335 บาท

สระบุรี

  • วันละ 340 บาท

สิงห์บุรี

  • วันละ 332 บาท

สุโขทัย

  • วันละ 332 บาท

สุพรรณบุรี

  • วันละ 340 บาท

สุราษฎร์ธานี

  • วันละ 340 บาท

สุรินทร์

  • วันละ 335 บาท

หนองคาย

  • วันละ 340 บาท

หนองบัวลำภู

  • วันละ 332 บาท

อ่างทอง

  • วันละ 335 บาท

อุดรธานี

  • วันละ 328 บาท

อุทัยธานี

  • วันละ 332 บาท

อุตรดิตถ์

  • วันละ 335 บาท

อุบลราชธานี

  • วันละ 340 บาท

77. อำนาจเจริญ

  • วันละ 332 บาท

ตารางสรุป อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2565 แบ่งตามอัตราค่าจ้าง (เริ่มมีผลใช้บังคับ 1 ต.ค. 2565)

อัตราค่าแรงขั้นต่ำใหม่ 2565 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป แบ่งได้เป็นจำนวน 9 อัตราแบ่งตามพื้นที่ โดยกำหนดอัตราต่ำสุด 328 บาท และอัตราสูงสุด 354 บาท

ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ อัตราใหม่ เริ่ม 1 ต.ค. 2565 เรียงลำดับอัตราค่าแรงใหม่จากสูงไปต่ำ

1. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 354 บาท จำนวน 6 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 354 บาท ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่

  1. ชลบุรี (จากเดิมวันละ 336 บาท)
  2. ระยอง (จากเดิมวันละ 335 บาท) และ
  3. ภูเก็ต (จากเดิมวันละ 336 บาท)

2. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 353 บาท จำนวน 6 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 353 บาท ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่

  1. กรุงเทพมหานคร (จากเดิมวันละ 331 บาท)
  2. นนทบุรี (จากเดิมวันละ 331 บาท)
  3. นครปฐม (จากเดิมวันละ 331 บาท)
  4. ปทุมธานี (จากเดิมวันละ 331 บาท)
  5. สมุทรปราการ (จากเดิมวันละ 331 บาท) และ
  6. สมุทรสาคร (จากเดิมวันละ 331 บาท)

3. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 345 บาท จำนวน 1 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 345 บาท ในพื้นที่ 1 จังหวัด ได้แก่

  1. ฉะเชิงเทรา (จากเดิมวันละ 330 บาท)

4. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 343 บาท จำนวน 1 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 343 บาท ในพื้นที่ 1 จังหวัด ได้แก่

  1. พระนครศรีอยุธยา (จากเดิมวันละ 325 บาท)

5. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 340 บาท จำนวน 14 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 340 บาท ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้แก่

  1. กระบี่ (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  2. ขอนแก่น (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  3. เชียงใหม่ (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  4. ตราด (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  5. นครราชสีมา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  6. ปราจีนบุรี (จากเดิมวันละ 324 บาท)
  7. พังงา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  8. ลพบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  9. สงขลา (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  10. สระบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  11. สุพรรณบุรี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  12. สุราษฎร์ธานี (จากเดิมวันละ 325 บาท)
  13. หนองคาย (จากเดิมวันละ 325 บาท) และ
  14. อุบลราชธานี (จากเดิมวันละ 325 บาท)

6. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 338 บาท จำนวน 6 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 338 บาท ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่

  1. กาฬสินธุ์ (จากเดิมวันละ 332 บาท)
  2. จันทบุรี (จากเดิมวันละ 332 บาท)
  3. นครนายก (จากเดิมวันละ 332 บาท)
  4. มุกดาหาร (จากเดิมวันละ 332 บาท)
  5. สกลนคร (จากเดิมวันละ 332 บาท) และ
  6. สมุทรสงคราม (จากเดิมวันละ 332 บาท)

7. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 335 บาท จำนวน 19 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 335 บาท ในพื้นที่ 19 จังหวัด ได้แก่

  1. กาญจนบุรี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  2. ชัยนาท (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  3. นครพนม (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  4. นครสวรรค์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  5. บึงกาฬ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  6. บุรีรัมย์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  7. ประจวบคีรีขันธ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  8. พะเยา (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  9. พัทลุง (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  10. พิษณุโลก (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  11. เพชรบุรี (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  12. เพชรบูรณ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  13. ยโสธร (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  14. ร้อยเอ็ด (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  15. เลย (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  16. สระแก้ว (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  17. สุรินทร์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)
  18. อ่างทอง (จากเดิมวันละ 320 บาท) และ
  19. อุตรดิตถ์ (จากเดิมวันละ 320 บาท)

8. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 332 บาท จำนวน 22 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 332 บาท ในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่

  1. กำแพงเพชร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  2. ชัยภูมิ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  3. ชุมพร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  4. เชียงราย (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  5. ตรัง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  6. ตาก (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  7. นครศรีธรรมราช (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  8. พิจิตร (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  9. แพร่ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  10. มหาสารคาม (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  11. แม่ฮ่องสอน (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  12. ระนอง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  13. ราชบุรี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  14. ลำปาง (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  15. ลำพูน (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  16. ศรีสะเกษ (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  17. สตูล (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  18. สิงห์บุรี (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  19. สุโขทัย (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  20. หนองบัวลำภู (จากเดิมวันละ 315 บาท)
  21. อำนาจเจริญ (จากเดิมวันละ 315 บาท) และ
  22. อุทัยธานี (จากเดิมวันละ 315 บาท)

9. อัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 328 บาท จำนวน 5 จังหวัด

ปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มเป็นวันละ 328 บาท ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่

  1. ยะลา (จากเดิมวันละ 313 บาท)
  2. ปัตตานี (จากเดิมวันละ 313 บาท)
  3. นราธิวาส (จากเดิมวันละ 313 บาท)
  4. น่าน (จากเดิมวันละ 320 บาท) และ
  5. อุดรธานี (จากเดิมวันละ 320 บาท)

ที่มาของค่าจ้างขั้นต่ำอัตราใหม่ 2565

ก่อนหน้านี้ นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 21 ครั้งที่ 8/2565 เพื่อพิจารณากลั่นกรองข้อเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ปี 2565 ร่วมกับไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และหน่วยงานภาครัฐ โดยที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างฯ ได้เห็นชอบปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2565 ทั้ง 77 จังหวัด จำนวน 9 อัตรา โดยกำหนดอัตราเริ่มต้นตั้งแต่วันละ 328 บาท ถึง 354 บาท เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

ด้านนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า การพิจารณาปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับปี 2565 ครั้งนี้มีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 337 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นอัตรา 5.02% โดยที่ประชุมฯ ได้พิจารณากำหนดบนพื้นฐานของความเสมอภาค เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้ ลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข และเพื่อเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ

ทั้งนี้ เมื่อมีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่สำหรับปี 2565 แล้ว คณะกรรมการค่าจ้างได้มีข้อเสนอให้รัฐบาลมีการออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบจากการปรับ ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในส่วนค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ เพื่อนำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณามอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้นำผลสรุปเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งที่ประชุม ครม. ได้ให้ความเห็นชอบแล้วตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2565

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีรายได้ตามเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำ

หากคุณรายได้จากงานประจำทางเดียวในอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยตลอดทั้งปีมีรายได้ไม่เกิน 120,000 บาท หรือเฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท คุณจะไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปีแต่อย่างใด เนื่องจากรายได้ต่อปียังไม่ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษีประจำปี

iTAX shop ลดหย่อนภาษี

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)