วันเลือกตั้ง 2566 อาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 เวลา 08.00-17.00 น.

ทั่วไป

วันเลือกตั้ง 2566 อาทิตย์ที่ 14 พ.ค. 2566 เวลา 08.00-17.00 น. ค้นหาหน่วยเลือกตั้ง 2566 และเช็กสิทธิเลือกตั้งของตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/

วันเลือกตั้ง 2566

  • วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 น. – 17.00 น.

หมายเลขและรายชื่อพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2566 (ปาร์ตี้ลิสต์)

เบอร์เลือกตั้ง พรรค
เบอร์ 1

  พรรคใหม่

เบอร์ 2

  พรรคประชาธิปไตยใหม่

เบอร์ 3

  พรรคเป็นธรรม

เบอร์ 4

  พรรคท้องที่ไทย

เบอร์ 5

  พรรคพลังสังคมใหม่

เบอร์ 6

  พรรคครูไทยเพื่อประชาชน

เบอร์ 7

  พรรคภูมิใจไทย

เบอร์ 8

  พรรคแรงงานสร้างชาติ

เบอร์ 9

  พรรคพลัง

เบอร์ 10

  พรรคอนาคตไทย

เบอร์ 11

  พรรคประชาชาติ

เบอร์ 12

  พรรคไทยรวมไทย

เบอร์ 13

  พรรคไทยชนะ

เบอร์ 14

พรรคชาติพัฒนากล้า

เบอร์ 15

  พรรคกรีน

เบอร์ 16

  พรรคพลังสยาม

เบอร์ 17

  พรรคเสมอภาค

เบอร์ 18

  พรรคชาติไทยพัฒนา

เบอร์ 19

  พรรคภาคีเครือข่ายไทย

เบอร์ 20

  พรรคเปลี่ยน

เบอร์ 21

  พรรคไทยภักดี

เบอร์ 22

  พรรครวมไทยสร้างชาติ

เบอร์ 23

  พรรครวมใจไทย

เบอร์ 24

  พรรคเพื่อชาติ

เบอร์ 25

  พรรคเสรีรวมไทย

เบอร์ 26

  พรรคประชาธิปัตย์

เบอร์ 27

  พรรคพลังธรรมใหม่

เบอร์ 28

  พรรคไทยพร้อม

เบอร์ 29

  พรรคเพื่อไทย

เบอร์ 30

  พรรคทางเลือกใหม่

เบอร์ 31

  พรรคก้าวไกล

เบอร์ 32

  พรรคไทยสร้างไทย

เบอร์ 33

  พรรคไทยเป็นหนึ่ง

เบอร์ 34

  พรรคแผ่นดินธรรม

เบอร์ 35

  พรรครวมพลัง

เบอร์ 36

  พรรคเพื่อชาติไทย

เบอร์ 37

  พรรคพลังประชารัฐ

เบอร์ 38

  พรรคเพื่อไทรวมพลัง

เบอร์ 39

  พรรคมิติใหม่

เบอร์ 40

  พรรคประชาภิวัฒน์

เบอร์ 41

  พรรคไทยธรรม

เบอร์ 42

  พรรคไทยศรีวิไลย์

เบอร์ 43

  พรรคพลังสหกรณ์

เบอร์ 44

  พรรคราษฎร์วิถี

เบอร์ 45

  พรรคแนวทางใหม่

เบอร์ 46

  พรรคถิ่นกาขาวชาววิไล

เบอร์ 47

  พรรครวมแผ่นดิน

เบอร์ 48

  พรรคเพื่ออนาคตไทย

เบอร์ 49

  พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย

เบอร์ 50

พรรคพลังปวงชนไทย

เบอร์ 51

พรรคสามัญชน

เบอร์ 52

พรรคชาติรุ่งเรือง

เบอร์ 53

พรรคพลังสังคม

เบอร์ 54

พรรคภราดรภาพ

เบอร์ 55

พรรคไทยก้าวหน้า

เบอร์ 56

พรรคประชาไทย

เบอร์ 57

พรรคพลังเพื่อไทย

เบอร์ 58

พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย

เบอร์ 59

พรรคช่วยชาติ

เบอร์ 60

พรรคความหวังใหม่

เบอร์ 61

พรรคคลองไทย

เบอร์ 62

พรรคพลังไทยรักชาติ

เบอร์ 63

พรรคประชากรไทย

เบอร์ 64

พรรคเส้นด้าย

เบอร์ 65

พรรคเปลี่ยนอนาคต

เบอร์ 66

พรรคพลังประชาธิปไตย

เบอร์ 67

พรรคไทยสมาร์ท

กกต. เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถ เช็กสิทธิเลือกตั้ง 2566 และ ค้นหาหน่วยเลือกตั้งได้แล้ว ก่อนเดินทางไปลงคะแนนใน วันเลือกตั้ง 2566 วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 น. – 17.00 น.

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเช็กสิทธิเลือกตั้งและสถานที่เลือกตั้ง 2566 ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/ ของกรมการปกครองเป็นทางเลือกได้อีกหนึ่งช่องทาง โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอน ค้นหาหน่วยเลือกตั้ง และเช็กสิทธิเลือกตั้ง 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ กรมการปกครอง

  1. ไปที่เว็บไซต์ ตรวจสอบรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดย กรมการปกครอง https://boraservices.bora.dopa.go.th/election/enqelection/
  2. กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก แล้วกดปุ่ม “ตรวจสอบ”
  3. ที่หน้าระบบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะแสดงผลรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้แก่
    • ชื่อ จังหวัด และเขตที่มีสิทธิ
    • กรณีลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า จะแสดงข้อมูลการขอไปใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ได้แก่ วันที่เลือกตั้งล่วงหน้า จังหวัดที่ไปใช้สิทธิ สถานที่ที่จะไปใช้สิทธิ และลำดับในบัญชี

ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์ BORA PORTAL กรมการปกครอง

  1. ไปที่เว็บไซต์ BORA PORTAL กรมการปกครอง https://thportal.bora.dopa.go.th
  2. กดปุ่ม “LOGIN ด้วย ThaID” (กรณียังไม่เคยสมัครใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลของกรมการปกครอง สามารถดูขั้นตอนการสมัครท้ายบทความนี้)
  3. แสกน QR Code ด้วยแอป ThaID หรือ กดปุ่ม “เข้าสู่ระบบด้วย ThaID”
  4. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกเมนู “ระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)”
  5. เลือก “ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง”
  6. ที่หน้าระบบข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะแสดงผลรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้แก่
    • ชื่อ จังหวัด และเขตที่มีสิทธิ
    • กรณีลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า จะแสดงข้อมูลการขอไปใช้สิทธิล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง ได้แก่ วันที่เลือกตั้งล่วงหน้า จังหวัดที่ไปใช้สิทธิ สถานที่ที่จะไปใช้สิทธิ และลำดับในบัญชี

ลงทะเบียนเปิดใช้บริการ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัล กรมการปกครอง

การลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตผ่าน BORA PORTAL จำเป็นต้องสมัครใช้ ThaID ก่อนลงทะเบียนด้วย ซึ่งเป็นระบบ Digital ID ของกรมการปกครอง เพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประเทศรองรับการใช้งานบริการภาครัฐ โดยประชาชนทั่วไปสามารถลงทะเบียนเปิดใช้ ThaID บัตรประชาชนดิจิทัลได้ฟรีที่บ้านโดยไม่ต้องไปแจ้งเขต-อำเภอก็ได้

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ด้วยตนเอง (พิสูจน์และยืนยันตัวผ่านแอป ThaID)

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนด้วยตนเอง
  3. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  4. ถ่ายรูปหน้าบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  5. ถ่ายรูปหลังบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อเสร็จแล้วให้ตรวจสอบความชัดเจนและกดปุ่มยืนยันหรือถ่ายใหม่
  6. ตรวจสอบข้อมูลบัตรประจำตัวประชาชน หากถูกต้องให้กดยืนยัน
  7. ถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเอง
  8. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  9. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  10. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

ขั้นตอนการ ลงทะเบียนบัตรประชาชนดิจิทัล ผ่านเจ้าหน้าที่

  1. โหลดแอป ThaID
  2. เลือกหัวข้อลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
  3. นำบัตรประจำตัวประชาชนใบล่าสุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ณ สำนักทะเบียน
  4. เปิดแอปพลิเคชัน ThaID พร้อมทั้งอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ของเครื่องโทรศัพท์มือถือ
  5. ยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการเพื่อทำการลงทะเบียนสิ่งแทนเอกลักษณ์ดิจิทัล
  6. ระบุเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ให้ถูกต้อง
  7. แสกนลายพิมพ์นิ้วชี้กับเจ้าหน้าที่
  8. แสกน QR code บนหน้าจอของเจ้าหน้าที่ ด้วยแอพพลิเคชั่น ThaID
  9. ตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกัน 2 ครั้งโดยต้องไม่เรียงกัน และไม่ซ้ำกันเกิน 4 ตัว เช่น 1234, 1111
  10. ระบบแจ้งเตือนขอความยินยอมโดยระบุรหัสผ่านอีกครั้งเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชันครั้งแรก
  11. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น หน้าจอจะแสดงรูปบัตรประจำตัวประชาชน

หมายเหตุ: กรณีลืมรหัสผ่าน สามารถรีเซ็ตรหัสผ่านได้ โดยการถ่ายรูปภาพใบหน้าตนเองเพื่อขอสร้างรหัสผ่านใหม่

ไปเลือกตั้งไม่ทัน หรือ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2566 จะเกิดอะไรขึ้นและควรทำอย่างไร

หากคุณไปเลือกตั้งไม่ทันเวลา 17.00 น.หรือ ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณควรดำเนินการดังนี้

1. กรณีไม่ได้ไปเลือกตั้ง 2566 แต่มีเหตุอันสมควร

ในการเลือกตั้งคร้ังใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกต้ังไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังได้เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ให้ดำเนินการแจ้งตามที่คณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ทั้งนี้ การแจ้งเหตุดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิท่ีผู้น้ันจะไปใช้สิทธิเลือกต้ังหากภายหลังสามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้

อย่างไรก็ตาม การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการอื่นเพื่อชี้แจงเหตุดังกล่าว โดยสามารถมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นต่อบุคคลซึ่ง กกต. แต่งต้ังแทน หรือ จัดส่งหนังสือชี้แจงเหตุนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ถ้า กกต. เห็นว่าไม่ใช่เหตุอันสมควร จะแจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเหตุ

ช่องทางแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์

ขั้นตอนการกรอกข้อมูลเพื่อแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์
  1. ไปที่เว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/abscause/#/main
  2. กรอกบัตรประชาชน 13 หลัก
  3. กรอกรหัสหลังบัตรประชาชน Laser ID
  4. กรอกชื่อภาษาไทย (โดยไม่ต้องมีคำนำหน้า)
  5. กรอกนามสกุลภาษาไทย
  6. กรอกวันเดือนปีเกิดตามบัตรประชาชน
  7. กดเลือก “ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ” 
  8. กด “ตรวจสอบข้อมูล”
  9. เลือกสาเหตุไม่ไปใช้สิทธิ ซึ่งมีตัวเลือก ได้แก่
    • มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
    • เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
    • เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
    • เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
    • มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่าหนึ่งร้อยกิโลเมตร
    • ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
    • เหตุสุดวิสัยหรือเหตุอื่นที่คณะกรรมการกำหนด
  10. กด “บันทึกข้อมูล”

2. กรณีไม่ไปเลือกตั้งล่วงหน้า 2566 โดยไม่มีเหตุอันสมควร

หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้น้ันถูกจำกัดสิทธิ ดังต่อไปนี้

บทลงโทษกรณีไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยไม่มีเหตุอันสมควร

  1. ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกต้ังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้
  2. ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ได้
  3. ไม่สามารถเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้
  4. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้
  5. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นได้
  6. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งเลขานกุารประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่นและ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่นได้

ระยะเวลาจำกัดสิทธิ

การจำกัดสิทธิมีกำหนดเวลาคร้ังละ 2 ปีนับแต่วันเลือกต้ังครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกต้ัง

ทั้งนี้ หากในการเลือกต้ังครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้นับเวลาการจำกัดสิทธิคร้ังหลังนี้โดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ และหากกำหนดเวลาการจำกัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่เท่าใดก็ให้กำหนดเวลาการจำกัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)