ตรวจสอบเขตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. 2565

ทั่วไป

ตรวจสอบเขตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. 2565 รวมถึงตรวจสอบสิทธิ์เลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ช่องทาง ตรวจสอบเขตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.

ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สามารถ เช็กเขตเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ด้วยตัวเองผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ เว็บไซต์กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/

วิธีเช็กเขตเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.

  1. ไปที่ เว็บไซต์กรมการปกครอง https://stat.bora.dopa.go.th/Election/enqelectloc/#/
  2. กรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
  3. ระบบจะแสดงผลการตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดได้แก่ ตรวจสอบวันที่เลือกตั้ง สิทธิการเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ

วันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.

  • วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 8.00 – 17.00 น.

บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก.

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อนำไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ดังนี้

  • บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. – สีชมพู
  • บัตรเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. – สีน้ำตาล

รายชื่อผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. 2565

หมายเลขผู้สมัคร ชื่อผู้สมัคร สังกัดพรรค
1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล
2 พล.ท.ญ.ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล ผู้สมัครอิสระ
3 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครอิสระ
4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ พรรคประชาธิปัตย์
5 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ ผู้สมัครอิสระ
6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครอิสระ
7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครอิสระ
8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครอิสระ
9 นางสาววัชรี วรรณศรี ผู้สมัครอิสระ
10 นายศุภชัย ตันติคมน์ ผู้สมัครอิสระ
11 น.ต.ศิธา ทิวารี พรรคไทยสร้างไทย
12 นายประยูร ครองยศ พรรคไทยศรีวิไลย์
13 นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ ผู้สมัครอิสระ
14 นายธเนตร วงษา ผู้สมัครอิสระ
15 พล.อ.ต.ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที ผู้สมัครอิสระ
16 น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ ผู้สมัครอิสระ
17 นายอุเทน ชาติภิญโญ ผู้สมัครอิสระ
18 น.ส.สุมนา พันธุ์ไพโรจน์ ผู้สมัครอิสระ
19 นายไกรเดช บุนนาค ผู้สมัครอิสระ
20 นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ ผู้สมัครอิสระ
21 นายนิพัทธ์พนธ์ สุวรรณชนะ ผู้สมัครอิสระ
22 นายวรัญชัย โชคชนะ ผู้สมัครอิสระ
23 นายเฉลิมพล อุตรัตน์ ผู้สมัครอิสระ
24 นายโฆสิต สุวินิจจิต ผู้สมัครอิสระ
25 นายประพัฒน์ บรรจงศิริเจริญ ผู้สมัครอิสระ
26 พล.ต.ท.มณฑล เงินวัฒนะ ผู้สมัครอิสระ
27 นายภูมิพัฒน์ อัศวภูภินทร์ ผู้สมัครอิสระ
28 นายสราวุธ เบญจกุล ผู้สมัครอิสระ
29 นายกฤตชัย พยอมแย้ม พรรคประชากรไทย
30 นายพงศา ชูแนม พรรคกรีน
31 นายวิทยา จังกอบพัฒนา ผู้สมัครอิสระ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 

พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง บุคคลต้องห้าม รวมถึงบทลงโทษในกรณีไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ด้วย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปน้ี เป็นผู้มีสิทธิเลือกต้ังผู้ว่าฯ กทม.

  1. บุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ โดยได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง คือ เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม 2547 หรือก่อนหน้านั้น
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึง วันเลือกตั้ง และ
  4. คุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดต้ังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

บุคคลต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

  1. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช
  2. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกต้ังไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  3. ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
  4. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  5. มีลักษณะอื่นตามท่ีกฎหมายว่าด้วยการจัดต้ังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

กรณีไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

1. กรณีมีเหตุอันสมควร

ในการเลือกตั้งคร้ังใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกต้ังไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังได้เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้งหรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ให้ดำเนินการแจ้งตามท่ีคณะกรรมการการเลือกต้ังกำหนด ทั้งนี้ การแจ้งเหตุดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิท่ีผู้น้ันจะไปใช้สิทธิเลือกต้ังหากภายหลังสามารถเดินทางไปเลือกตั้งได้

อย่างไรก็ตาม การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทำเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการอื่นเพื่อชี้แจงเหตุดังกล่าว โดยสามารถมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นต่อบุคคลซึ่ง กกต. แต่งต้ังแทน หรือ จัดส่งหนังสือชี้แจงเหตุนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ถ้า กกต. เห็นว่าไม่ใช่เหตุอันสมควร จะแจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายใน 3 วันนับแต่วันท่ีได้รับแจ้งเหตุ

2. กรณีไม่มีเหตุอันสมควร

หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุท่ีไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกต้ังแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้น้ันถูกจำกัดสิทธิ ดังต่อไปน้ี

บทลงโทษกรณีไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยไม่มีเหตุอันสมควร

  1. ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกต้ังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้
  2. ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ได้
  3. ไม่สามารถเข้าช่ือร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นได้
  4. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองได้
  5. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นได้
  6. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งเลขานกุารประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่นและ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่นได้

ระยะเวลาจำกัดสิทธิ

การจำกัดสิทธิมีกำหนดเวลาคร้ังละ 2 ปีนับแต่วันเลือกต้ังครั้งท่ีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกต้ัง

ทั้งนี้ หากในการเลือกต้ังครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้นับเวลาการจำกัดสิทธิคร้ังหลังนี้โดยนับจากวันท่ีมิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ และหากกำหนดเวลาการจำกัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่เท่าใดก็ให้กำหนดเวลาการจำกัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร สรุปผลการรับสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) มีสาระสำคัญ ดังนี้

  • ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทั้งหมด 31 คน โดยเป็นผู้ชาย 25 คน และ ผู้หญิง 6 คน
  • ผู้สมัครผู้ว่าฯ อายุมากที่สุด คือ 72 ปี
  • ผู้สมัครผู้ว่าฯ อายุน้อยที่สุด คือ 43 ปี
  • ผู้สมัคร ส.ก. ทุกเขตรวมกันมีจำนวนทั้งสิ้น 382 คน
  • เขตที่มีผู้สมัคร ส.ก. มากที่สุด จำนวน 10 คน ได้แก่ ดุสิต และสวนหลวง
  • เขตที่มีผู้สมัคร ส.ก. น้อยที่สุด จำนวน 6 คน มีทั้งหมด 8 เขต คือ สัมพันธวงศ์ ตลิ่งชัน ภาษีเจริญ หนองแขม บางพลัด ดินแดง บางซื่อ และคันนายาว
  • ผู้สมัคร ส.ก. อายุมากที่สุด คือ 82 ปี (ผู้สมัครเขตราชเทวี)
  • ผู้สมัคร ส.ก. อายุน้อยที่สุด คือ 25 ปี (ผู้สมัครเขตลาดกระบัง)
iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)