iTAX pedia

เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา โรงพยาบาลรัฐ (ลดหย่อน 2 เท่า)

โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

เงินบริจาคพิเศษ ใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่บริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและ ค่าลดหย่อน อื่นๆ1 ซึ่งได้แก่ เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และการพัฒนาสังคม รวมถึงเงินบริจาคให้โรงพยาบาลรัฐ2 ทั้งนี้ สามารถบริจาคผ่าน ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ได้

อัพเดตล่าสุด 2566 เงินบริจาคพิเศษที่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป จะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e-Donation เท่านั้น จึงจะรับสิทธิลดหย่อนภาษี 2 เท่า3


วิธีกรอกค่าลดหย่อนเงินบริจาคพิเศษ 2 เท่า บนแอป iTAX

หากคุณต้องการใช้สิทธิค่าลดหย่อนเงินบริจาคพิเศษ 2 เท่า สามารถนำมาคำนวณบนแอป iTAX ได้ดังนี้

  1. ในหน้าแรก (Home) กดที่ »  ค่าลดหย่อน
  2. เลือก ‘บริจาคพิเศษ – การศึกษา, กีฬา, โรงพยาบาล’
  3. กรอกจำนวนเงินเท่าที่บริจาคจริงตลอดทั้งปี (แอปจะคำนวณสิทธิลดหย่อน 2 เท่าให้อัตโนมัติ)
  4. กด Done

แอปจะพากลับไปที่หน้า Home และแสดงผลการคำนวณภาษีหลังใช้สิทธิค่าลดหย่อนเงินบริจาคพิเศษ 2 เท่าแล้วให้อัตโนมัติ


เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา

เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาที่จะนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ต้องเป็นเงินที่บริจาคให้แก่สถานศึกษาของรัฐ โรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงจากต่างประเทศในพื้นที่ EEC (Eastern Economic Corridor) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ

ตรวจสอบรายชื่อได้ที่ www.rd.go.th

เงินบริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐ

เงินบริจาคสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐที่จะนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ต้องเป็นเงินที่บริจาคให้แก่สถานพยาบาลของทางราชการ4 และให้หมายความรวมถึง

เงินบริจาคพิเศษอื่นๆ

เงินบริจาคต่อไปนี้สามารถหักลดหย่อนได้ 2 เท่า เช่นเดียวกัน

หากในปีภาษีนี้ คุณได้ทำการบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา หรือบริจาคเพื่อองค์กรการกุศลที่กฏหมายกำหนด คุณสามารถนำมาใช้ ลดหย่อนภาษี ได้ และหากคุณไม่แน่ใจว่า ยอดเงินบริจาคของคุณสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษี iTAX เพื่อที่จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนสำหรับการเสียภาษีได้อย่างดีที่สุด

เรื่องที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 5(1) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 768) พ.ศ. 2566, มาตรา 3(1) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 616) พ.ศ. 2559, ข้อ 1(1) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 222)

  2. ^

    มาตรา 3(1) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 663) พ.ศ. 2561

  3. ^

    มาตรา 5 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 768) พ.ศ. 2566

  4. ^

    มาตรา 3(1) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 663) พ.ศ. 2561

  5. ^

    มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 706) พ.ศ. 2563

  6. ^

    มาตรา 3(1) พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 668) พ.ศ. 2561