iTAX pedia

ค่าลดหย่อนบุตร

โดย ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

ค่าลดหย่อนบุตร เป็น ค่าลดหย่อนแบบเหมาสำหรับคนที่มีลูกโดยเราสามารถลดหย่อนลูกได้ คนละ ฿30,000 ต่อปี แต่ถ้ามีลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไปเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนี้ จะสามารถลดหย่อนลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไปได้ คนละ ฿60,000 ต่อปี1 และแม้บุตรจะเสียชีวิตระหว่างปีก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับ ปีภาษี ที่เสียชีวิตได้อยู่

ค่าลดหย่อนบุตรเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


วิธีกรอกค่าลดหย่อนบุตรบนแอป iTAX

แอป iTAX รองรับการคำนวณค่าลดหย่อนบุตรทั้งบุตรแท้ๆ และบุตรบุญธรรม

การใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ

หากคุณต้องการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ สามารถนำมาคำนวณบนแอป iTAX ได้ดังนี้

  1. ในหน้าแรก (Home) กดที่ »  ค่าลดหย่อน
  2. เลือก ‘ค่าลดหย่อน – บุตรแท้ๆ’
  3. กรอก วัน เดือน ปีเกิด
  4. ตอบคำถามเกี่ยวกับสถานะพิการ/ทุพพลภาพ
  5. กด Done

แอปจะพากลับไปที่หน้า Home และแสดงผลการคำนวณภาษีหลังใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ แล้วให้อัตโนมัติ

การใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรบุญธรรม

หากคุณต้องการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ สามารถนำมาคำนวณบนแอป iTAX ได้ดังนี้

  1. ในหน้าแรก (Home) กดที่ »  ค่าลดหย่อน
  2. เลือก ‘ค่าลดหย่อน – บุตรบุญธรรม’
  3. กรอก วัน เดือน ปีเกิด
  4. ตอบคำถามเกี่ยวกับสถานะพิการ/ทุพพลภาพ
  5. กด Done

แอปจะพากลับไปที่หน้า Home และแสดงผลการคำนวณภาษีหลังใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรบุญธรรมแล้วให้อัตโนมัติ


สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

ทั้งนี้ แม้บุตรจะเสียชีวิตระหว่างปีก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับ ปีภาษี ที่เสียชีวิตได้อยู่

กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย

กรณีเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายจะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้เท่าจำนวนบุตรจริง

กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม

ในกรณีที่คุณมีแต่บุตรบุญธรรมเพียงอย่างเดียว จะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ ฿30,000 สูงสุด 3 คน

กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม

แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีทั้งลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายและบุตรบุญธรรมด้วย การใช้สิทธิหักลดหย่อนจะดูจากลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังมีชีวิตอยู่ก่อน โดยการนับจํานวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลําดับอายุสูงสุดของบุตร โดยนับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย หากครบ 3 คนไปแล้วจะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรมไม่ได้ แต่ถ้ายังไม่ครบ 3 คน ก็จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรมได้อีกคนละ ฿30,000 จนคุณได้ใช้สิทธิลดหย่อนบุตรครบ 3 คน

การหักลดหย่อนบุตรเป็นกรณีเดียวที่กฎหมายอนุญาตให้ทั้งคุณและคู่สมรสสามารถใช้ลูกคนเดียวกันหักลดหย่อนบุตรซ้ำกันได้

เงื่อนไขการรับสิทธิ

การรับสิทธิหักลดหย่อนบุตร อย่างน้อยต้องมีเราหรือลูกเราคนใดคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น และผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ทั้งหมดด้วย

เกณฑ์ความสัมพันธ์

ลูกที่เราจะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้จะต้องเป็น

เกณฑ์อายุ

ลูกที่เราจะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ยังต้องผ่านเกณฑ์อายุข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ด้วย

เกณฑ์รายได้

ลูกที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนได้จะต้องไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ตลอดทั้งปีได้ไม่ถึง ฿30,000 ด้วย (ถ้า ฿30,000 พอดีถือว่าผิดเงื่อนไข)

อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะแล้วได้รับเงินปันผล กฎหมายให้ถือว่าเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง กรณีดังกล่าวแม้บุตรจะได้รับเงินปันผลถึง ฿30,000 ก็ยังใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้อยู่ดี เพราะเงินปันผลดังกล่าวถือเป็นเงินได้ของผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่เงินได้ของบุตร

คำถามที่พบบ่อย3

Q. มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 4 คน และมีชีวิตอยู่ทั้งหมด จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่?

แต่ถ้าลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนั้นจะสามารถลดหย่อนได้คนละ ฿60,000 บาท

Q. มีบุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่?

แต่ถ้าลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนั้นจะสามารถลดหย่อนได้คนละ ฿60,000 บาท

Q. มีบุตร 2 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่?

แต่ถ้าลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนั้น จะสามารถลดหย่อนได้คนละ ฿60,000 บาท ส่วนบุตรบุญธรรมยังคงหักลดหย่อนได้คนละ ฿30,000 เหมือนเดิมเนื่องจากไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมาย

Q. บุตรที่อยู่เนอร์สเซอรี่ สามารถนำมาหักลดหย่อนบุตรและการศึกษาบุตรได้หรือไม่?
Q. สามีภริยาสามารถนำบุตรที่ไม่มีเงินได้และจบการศึกษาระหว่างปีมาหักลดหย่อนได้หรือไม่?
Q. บุตรผู้เยาว์ของพ่อมีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลจำนวน ฿2,000,000 พ่อมีสิทธิหักค่าลดหย่อนบุตรผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
Q. บุตรบรรลุนิติภาระของพ่อมีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลจำนวน ฿2,000,000 พ่อมีสิทธิหักค่าลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
Q. บุตรชายของพ่อได้รับรางวัลทองคำหนัก 100 บาท พ่อพร้อมด้วยภริยาและบุตรได้เดินทางไปรับรางวัลที่บริษัทฯ มูลค่าของทองคำที่บุตรได้รับคิดเป็นเงินจำนวน ฿840,000 บริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 5% ของมูลค่ารางวัลที่ได้รับเป็นเงินจำนวน ฿42,000 พ่อจะหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
Q. พ่อและแม่มีสถานภาพสมรส มีบุตรเกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมของปีนี้ จึงมีอายุเพียง 3 วันในปีนี้ บิดามารดาจะนำบุตรมาหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
Q. บิดา/มารดาสามารถนำบุตรผู้เยาว์ที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษีไปหักค่าลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
Q. ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานบริษัทในไทยเกิน 180 วัน มีเงินได้ประเภทเงินเดือน ภริยา บุตร บุพการี อยู่ต่างประเทศไม่มีเงินได้ บุตรเรียนหนังสือที่ต่างประเทศและบุพการีอายุเกิน 60 ปี มีสิทธิหักลดหย่อนภริยา บุตร และบุพการี ได้หรือไม่?
Q. นาย A. จดทะเบียนสมรสกับนาง ก. มีบุตรร่วมกัน 1 คน (บุตรเกิด เดือนมกราคม 2561) ต่อมาเดือนมิถุนายน 2561 นาย A. และนาง ก. ได้จดทะเบียนหย่ากัน ภายหลังนาย A. ได้มาจดทะเบียนสมรสใหม่ กับนาง ข. เมื่อเดือนธันวาคม 2561 โดยนาง ข. มีลูกติดกับสามีเก่า 1 คน (บุตรเกิดในปี 2561) ดังนั้น ในกรณีต่างฝ่ายต่างมีลูกกับคู่สมรสเดิมมากันทั้ง 2 ฝ่าย จะสามารถลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นเงิน 60,000 บาท ได้หรือไม่
Q. นาย A. กับนาง ก. มี ด.ช. Z. บุตรคนที่ 2 ร่วมกัน (บุตรเกิด เดือนมกราคม 2561) ต่อมาได้มีการจดทะเบียนหย่าในเดือนมิถุนายน 2561 และนาย A. ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับ นาง ข. เมื่อเดือนธันวาคม 2561 (นาง ข. ไม่เคยมีบุตรมาก่อน) โดยต่างฝ่ายต่างมีเงินได้พึงประเมิน อยากทราบว่า นาย A. และนาง ข. สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้หรือไม่
Q. นาย A. กับนาง ข. มีบุตรคนที่ 2 ในปี 2561 และใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ในปีภาษี 2561 แล้ว ต่อมาในปี 2562 มิได้มีบุตรเพิ่มแต่อย่างใด อยากทราบว่า ในปีภาษี 2562 ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้คนละ 60,000 บาทหรือไม่
Q. การใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นเงิน 60,000 บาท การรับบุตรบุญธรรม จะได้รับสิทธิหรือไม่
Q. กรณีบุตรคนที่ 2 เกิดได้ 2 เดือนแล้วเสียชีวิตจะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาทหรือไม่
Q. กรณีคลอดบุตรครั้งแรกเป็นลูกแฝด จะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท หรือไม่
Q. บุตรคนที่ 1 เสียชีวิตไปนานแล้ว ต่อมาปี 2561 ตั้งครรภ์และคลอดบุตรนับเป็นบุตรคนที่ 2 จะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ใช่หรือไม่
Q. กรณีจดทะเบียนสมรสและหย่าภรรยาคนแรก มีบุตร 1 คน ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสใหม่และมีบุตรในปี 2561 บุตรที่เกิดในปี 2561 จะนับเป็นบุตรคนที่ 2 ได้สิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท หรือไม่
Q. กรณีมีบุตร 5 คน โดยบุตรคนที่ 1 เกิดปี 2557 บุตรคนที่ 2 เกิดปี 2558 บุตรคนที่ 3 เกิดปี 2559 บุตรคนที่ 4 เกิดปี 2560 และบุตรคนที่ 5 เกิดปี 2561 โดยบุตรคนที่ 1 – 3 เสียชีวิต บุตรคนที่ 5 สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ได้หรือไม่
Q. กรณีบุตรคนที่ 2 เกิดในปี 2562 จะใช้สิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาทได้หรือไม่
Q. มีบุตรกับภริยาคนแรก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ขณะนี้บุตรคนแรกมีอายุ 10 เดือนกว่าๆ และได้แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันอีก 1 คน เกิดเมื่อวันที 1 พ.ย. 2561 ภริยาทั้ง 2 คน ไม่มีเงินได้ จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ได้หรือไม่

นอกจาก ค่าลดหย่อนบุตรแล้วในฐานะผู้เสียภาษี คุณยังสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีแบบอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี, ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี และ กองทุนลดหย่อนภาษี ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามความต้องการและงบประมาณของตัวคุณเอง ได้ที่ iTAX shop เรารวมทุกความคุ้มค่ามาไว้ให้ที่นี่แล้ว


เรื่องที่มักเข้าใจผิดกันบ่อย

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 47(1)(ค) ประมวลรัษฎากร, พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

  2. ^

    คำพิพากษาฎีกาที่ 45/2547

  3. ^

    ร้อยเรื่องลดหย่อน ปีภาษี 2560 ศูนย์สารสนเทศสรรพากร www.rd.go.th, “ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และบุตรคนที่ 2 ลดหย่อนอย่างไร ???” www.rd.go.th

  4. ^

    มาตรา 1547 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์