บริการจัดทำสลิปเงินเดือน ส่งถึงพนักงาน ผ่านระบบออนไลน์

วิเคราะห์

5,337 VIEWS

สลิปเงินเดือน หรือ ใบแจ้งเงินเดือน เป็นเอกสารที่บริษัท (นายจ้าง) ออกให้พนักงาน (ลูกจ้าง) เพื่อแจกแจงรายละเอียดการจ่ายค่าจ้างให้พนักงานทราบ โดยอาจจัดทำเองหรือใช้ บริการจัดทำสลิปเงินเดือน จากภายนอกก็ได้

บริการจัดทำสลิปเงินเดือนออนไลน์ ส่งถึงพนักงานโดยตรง

iTAX paystation จัดการภาษีเงินเดือนให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

จัดทำสลิปเงินเดือน เป็นหน้าที่ของนายจ้างหรือไม่?

โดยปกติ แม้การออกสลิปเงินเดือนจะไม่ใช่หน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท แต่การจัดทำสลิปเงินเดือนมีประโยชน์กับองค์กรอย่าง 3 ประการ ดังนี้

สลิปเงินเดือน นำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง?

1. ชี้แจงวิธีการคำนวณยอดเงินเดือนโอนสุทธิให้ลูกจ้างทราบได้อย่างชัดเจน

แม้นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงฐานเงินเดือนกันเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน (เช่น อัตราเงินเดือน 30,000 บาท) แต่นายจ้างก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องหักเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และ หักภาษี ณ ที่จ่าย รวมถึงรายการหักอื่นๆ เช่น กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี) เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อลูกจ้างถูกหักเงินต่างๆ ออกจากเงินเดือน จึงส่งผลให้ยอดเงินเดือนโอนสุทธิที่ลูกจ้างจะได้รับต่ำกว่าอัตราค่าจ้างที่ตกลงกันไว้

การมีสลิปเงินเดือนจึงเป็นหลักฐานที่นายจ้างชี้แจงให้ลูกจ้างทราบว่าสาเหตุที่ทำให้ได้รับยอดเงินเดือนโอนสุทธิเป็นจำนวนดังกล่าว เป็นเพราะถูกหักรายการใดไปบ้าง

ตัวอย่าง

นายสุกรีเป็นพนักงานบริษัท มีฐานเงินเดือน 30,000 บาท แต่ถูกหักประกันสังคมเดือนละ 750 บาท และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย อีกเดือนละ 170.33 บาท ซึ่งเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ทำให้บริษัทโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนายสุกรีเป็นเงิน 29,079.17 บาท

ข้อมูลรายละเอียดเหล่านี้จะปรากฏอยู่บนสลิปเงินเดือนเพื่อให้นายสุกรีเข้าใจได้อย่างชัดเจนทันทีว่าเหตุใดตนจึงได้รับยอดโยน 29,079.17 บาท ทั้งที่ตนมีฐานเงินเดือน 30,000 บาท

การจัดทำสลิปเงินเดือนจึงเป็นทางเลือกที่สะดวกกว่าการที่นายสุกรีจะขอนัดพบฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่าย HR หรือเจ้าของกิจการ เพื่อขอคำอธิบายว่าเหตุใดตนจึงได้รับเงินเดือนไม่ครบ 30,000 บาทตามที่ตกลงกันไว้

2. นำข้อมูลรายได้และรายการหักไปคำนวณภาษีและวางแผนภาษีส่วนบุคคล

โดยปกติการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับพนักงานประจำ จะคำนวณเป็นรายปี ดังนั้น ข้อมูลรายได้และรายการหักต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนสลิปเงินเดือนในแต่ละเดือนสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อคำนวณและวางแผนภาษีของตนเองได้ เพื่อให้สามารถวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องก่อนถึงสิ้นปี

3. ใช้เป็นหลักฐานประกอบการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ของพนักงานเอง

ในกรณีที่พนักงานต้องการติดต่อสถาบันการเงินเพื่อทำบัตรเครดิต หรือขอสินเชื่อส่วนบุคคล (เช่น สินเชื่อบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ) สถาบันการเงินหลายแห่งมักต้องการหลักฐานค่าจ้าง ซึ่งสลิปเงินเดือนเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อได้ เนื่องจากเป็นเอกสารที่ออกโดยฝ่ายนายจ้างส่งมอบให้กับลูกจ้างเพื่อแสดงรายละเอียดการจ่ายค่าจ้างทุกเดือน

บริษัทที่จัดทำสลิปเงินเดือนให้พนักงานจึงช่วยให้พนักงานสามารถเข้าถึงสินเชื่อและทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้สามารถกลับมาโฟกัสเรื่องงานตามปกติได้ไวขึ้น

จัดทำสลิปเงินเดือน ต้องแสดงข้อมูลอะไรบ้าง?

แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดรูปแบบของสลิปเงินไว้ แต่โดยทั่วไปมักจะประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานต่อไปนี้

  1. รายละเอียดของบริษัทผู้จ่ายค่าจ้าง (นายจ้าง)
  2. รายละเอียดของพนักงานที่รับค่าจ้าง (ลูกจ้าง)
  3. รอบเงินเดือนที่จ่าย
  4. วันที่จ่ายเงินเดือน
  5. จำนวนเงินเดือน และรายรับอื่นๆ เช่น โบนัส เบี้ยเลี้ยง ค่า commission (ถ้ามี)
  6. รายการหักต่างๆ เช่น ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น
  7. ยอดสุทธิที่จะได้รับในเดือนนั้นๆ

สลิปเงินเดือน สามารถอยู่ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ไหม?

เนื่องจากการออกสลิปเงินเดือนไม่ได้เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของนายจ้าง ดังนั้น กฎหมายจึงไม่ได้กำหนดรูปแบบของสลิปเงินเดือนไว้ด้วยว่าจะต้องจำกัดอยู่เพียงเฉพาะรูปแบบกระดาษเท่านั้น (เช่น กระดาษคาร์บอน) จึงสามารถจัดทำสลิปเงินเดือนในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ซึ่งประหยัดต้นทุนกว่า และสะดวกทั้งผู้รับและผู้ส่งมากกว่า

นอกจากนี้ การจัดทำสลิปเงินเดือนในรูปแบบกระดาษหากไม่มีมาตรการจัดเก็บเอกสารที่เป็นระบบ เช่น วางไว้ในที่ที่พนักงานคนอื่นสามารถมองเห็นข้อความได้ หรือจัดเก็บในสถานที่ที่ไม่มีการรักษาความปลอดภัยมากพอ นายจ้างอาจมีความเสี่ยงเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อเทียบกับการส่งสลิปเงินเดือนเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ถึงมือพนักงานโดยตรงผ่านระบบออนไลน์ ที่สามารถกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้สูงกว่า ลดโอกาสรั่วไหลของข้อมูลและลดความเสี่ยงให้นายจ้างได้อย่างมีนัยสำคัญ

การจัดเก็บและส่งมอบสลิปเงินเดือนต้องได้มาตรฐานการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนสลิปเงินเดือนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน เช่น ชื่อ-นามสกุล และรายได้ที่ได้รับ  ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของลูกจ้างรวมถึงสถานะทางการเงินของลูกจ้างได้

ดังนั้น นายจ้างจำเป็นต้องให้ความเอาใจใส่ด้านมาตรฐานตามกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) โดยต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลบนสลิปเงินเดือนถูกเปิดเผยแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีหน้าที่

ด้วยเหตุนี้ บางบริษัทจึงเลือกใช้ บริการจัดทำสลิปเงินเดือน กับผู้ให้บริการที่มีความเป็นมืออาชีพ หรือใช้ซอฟต์แวร์จัดการสลิปเงินเดือนที่ติดรหัสรักษาความปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลของพนักงานรั่วไหล

รับสลิปเงินเดือนออนไลน์ ติดรหัสรักษาความปลอดภัย

iTAX paystation จัดการภาษีเงินเดือนให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

จัดทำสลิปเงินเดือนให้พนักงานแล้ว ยังต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย “ใบ 50 ทวิ” อยู่ไหม?

การจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (หรือ ใบ 50 ทวิ) เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่นายจ้างต้องจัดทำและส่งมอบให้พนักงานทุกคน เมื่อถึงเวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น นายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องออกใบ 50 ทวิ ให้ลูกจ้างเสมอ แม้ว่าบริษัทจะออกสลิปเงินเดือนให้พนักงานทุกเดือนไปแล้วก็ตาม

ใบ 50 ทวิคืออะไร?

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เป็นเอกสารสำคัญที่คนมีรายได้ทุกคนจะต้องใช้เพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภ.ง.ด. 91/90) เมื่อคุณได้รับใบรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากที่ทำงาน ก็ให้นำข้อมูลในเอกสารดังกล่าวมาใช้ใน คำนวณภาษี และกรอกยื่นแบบภาษีต่อไป

กำหนดการออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

  • ถ้าอยู่ทำงานจนถึงสิ้นปี นายจ้างมีหน้าที่ต้องออกใบ 50 ทวิ ให้ภายในวันที่ 15 ก.พ. ของปีถัดไป
  • ถ้าออกจากงานระหว่างปี นายจ้างมีหน้าที่ต้องออกใบ 50 ทวิ ให้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ออกจากงาน

นายจ้างจัดทำใบ 50 ทวิ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ไหม?

หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) สามารถอยู่ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (เช่น PDF) ส่งให้ผู้รับได้ หรือจะให้ผู้รับเข้าไปโหลดในช่องทางออนไลน์ที่ผู้จ่ายเงินกำหนดก็ได้ แต่ไฟล์เอกสารดังกล่าวต้องมีข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง สร้างและเก็บรักษาด้วยมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เชื่อถือได้ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.121/2545 และ ข้อหารือภาษีอากร ที่ กค 0702/1057 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559

 

บริการจัดทำใบ 50 ทวิ อิเล็กทรอนิกส์ ส่งถึงพนักงานโดยตรง

iTAX paystation จัดการภาษีเงินเดือนให้อัตโนมัติ

สอบถามค่าบริการ

 

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)