คำนวณภาษี นักดนตรี นักร้อง ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

4,172 VIEWS

คำนวณภาษี นักร้อง นักดนตรี ทั้งนักดนตรีอาชีพและนักดนตรีกลางคืน ตามฐานค่าจ้างต่อเดือน ต้องเสียภาษีเท่าไหร่? การวิเคราะห์นี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า นักดนตรี ซึ่งเป็นผู้เสียภาษีเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาเพียงวิธีเดียวและมีแค่ ค่าลดหย่อนส่วนตัว ฿60,000 เท่านั้น สำหรับ ‘คำนวณภาษี’ ประจำปี

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿30,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿30,000 หรือต่ำกว่ายังไม่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี เนื่องจากเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีตั้งแต่แรกอยู่แล้ว

ค่าตอบแทนนักดนตรีเดือนละ ฿40,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿40,000 จะเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 5% ซึ่งจะเสียภาษีไม่เกิน ฿900 โดยคิดเป็นสัดส่วน 0.19% ของรายได้ตลอดทั้งปี จัดเป็นช่วงรายได้ที่ค่าภาษียังอยู่หลักร้อย

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿50,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿50,000 จะยังอยู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 5% และเสียภาษีไม่เกิน ฿4,500 โดยคิดเป็นสัดส่วน 0.75% ของรายได้ตลอดทั้งปี เป็นช่วงรายได้ที่ค่าภาษีอยู่ระดับหลักพัน

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿75,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿75,000 จะเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 10% โดยเสียภาษีไม่เกิน ฿19,500 โดยคิดเป็นสัดส่วน 2.17% ของรายได้ตลอดทั้งปี จัดเป็นช่วงรายได้ที่ค่าภาษีขยับขึ้นมาเป็นหลักหมื่นแล้ว

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿100,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿100,000 จะมีรายได้ทั้งปีหลักล้าน (ปีละ ฿1,200,000 บาท) และจะเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 15% ซึ่งจะเสียภาษีไม่เกิน ฿42,500 โดยคิดเป็นสัดส่วน 3.54% ของรายได้ตลอดทั้งปี

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿120,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿120,000 จะเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 20% ซึ่งจะเสียภาษีไม่เกิน ฿71,000 โดยคิดเป็นสัดส่วน 4.93% ของรายได้ตลอดทั้งปี

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿150,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿150,000 จะเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 25% ซึ่งจะเสียภาษีไม่เกิน ฿150,000 โดยคิดเป็นสัดส่วน 8.33% ของรายได้ตลอดทั้งปี จัดเป็นช่วงรายได้ที่ค่าภาษีเท่ากับรายได้ทั้งเดือนไปแล้วและค่าภาษีขยับขึ้นมาเป็นหลักแสนแล้วด้วยเช่นกัน

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿300,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿300,000 จะเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 30% ซึ่งจะเสียภาษีไม่เกิน ฿647,000 โดยคิดเป็นสัดส่วน 17.97% ของรายได้ตลอดทั้งปี จัดเป็นช่วงรายได้ที่ค่าภาษีมากกว่ารายได้ทั้งเดือนแล้วและค่าภาษีสูงเกินครึ่งล้านบาทแล้ว

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿500,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿500,000 จะเข้าสู่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 35% ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเสียภาษีไม่เกิน ฿1,384,000 คิดเป็นสัดส่วน 23.07% ของรายได้ตลอดทั้งปี และจัดเป็นช่วงรายได้ที่ค่าภาษีสูงเข้าสู่หลักล้านบาทต่อปี ซึ่งมากกว่ารายได้ 2 เดือนแล้ว

ค่าตอบแทนนักดนตรี เดือนละ ฿1,000,000

น้กดนตรีที่ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ ฿1,000,000 จะยังอยู่ที่ขั้นบันไดภาษีก้าวหน้าในอัตรา 35% ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเสียภาษีไม่เกิน ฿3,484,000 คิดเป็นสัดส่วน 29.03% ของรายได้ตลอดทั้งปี และจัดเป็นช่วงรายได้ที่ค่าภาษีเทียบเท่ารายได้ 3 เดือนครึ่งแล้ว

วิธีคำนวณภาษีเงินได้ ค่าตอบแทน ‘นักดนตรี’ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่?

ค่าตอบแทนของ น้กดนตรี ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากน้กดนตรีเป็นบุคคลธรรมดาที่มีแหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยสามารถแสดงวิธีคำนวณภาษีได้ทีละขั้นตอนดังนี้

1. สูตรคำนวณภาษีเงินได้นักดนตรี

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยปกติจะคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิกันเป็นรายปีปฏิทิน (ปีภาษี) ด้วยอัตราภาษีก้าวหน้าแบบขั้นบันได โดยใช้สูตรคำนวณต่อไปนี้

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

จากนั้น

เงินได้สุทธิ × อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ดังนั้น การคำนวณเงินได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน จึงต้องคำนวณจากจำนวนที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี

2. ค่าจ้างของ นักดนตรี เป็นเงินได้ของ ‘นักแสดงสาธารณะ’ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 40-60% สูงสุด 600,000 บาท

ค่าจ้างของนักน้กดนตรีเป็นเงินได้ของนักแสดงสาธารณะ (เงินได้ประเภทที่ 8) จึงสามารถใช้สิทธิเลือกหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี ได้แก่

  • หักตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) หรือ
  • หักเหมา 40-60% (ไม่ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย)

โดยการหักใช้จ่ายแบบเหมาแบ่งตามลำดับ ดังนี้

จำนวนรายได้ ค่าใช้จ่ายแบบเหมาที่หักได้
300,000 บาทแรก 60%
ส่วนที่เกิน 300,000 บาท 40%

แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่ายแบบเหมาทั้งหมดต้องไม่เกิน 600,000 บาท ดังนั้น หากรายได้จากนักแสดงสาธารณะเกิน 1,350,000 บาท จะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้มากกว่า 600,000 บาท อีกแล้วเนื่องจากเต็มเพดานสิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้

3. อัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า สูงสุด 35%

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเป็นอัตราก้าวหน้าแบบขั้นบันได โดยมีอัตราสูงสุดอยู่ที่ 35% ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตาม เงินได้สุทธิ ของผู้เสียภาษี

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี ค่าภาษีสูงสุดที่คำนวณได้จากเงินได้สุทธิในแต่ขั้น ค่าภาษีสูงสุดสะสม
฿0 – ฿150,000 ยกเว้น ฿0 ฿0
> ฿150,000 – ฿300,000 5% ฿7,500 ฿7,500
> ฿300,000 – ฿500,000 10% ฿20,000 ฿27,500
> ฿500,000 – ฿750,000 15% ฿37,500 ฿65,000
> ฿750,000 – ฿1,000,000 20% ฿50,000 ฿115,000
> ฿1,000,000 – ฿2,000,000 25% ฿250,000 ฿365,000
> ฿2,000,000 – ฿5,000,000 30% ฿600,000 ฿965,000
> ฿5,000,000 35% > ฿965,000

แต่กระบวนการคำนวณภาษีทั้งหมดนี้ สามารถทำได้ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ ด้วยแอป iTAX

แอป iTAX คำนวณภาษีสำหรับบุคคลทั่วไปและนักดนตรี

ตัวช่วยคำนวณภาษีเพื่อเงินคืนภาษีสูงสุด โหลดฟรี!

iTAX คำนวณและวางแผนภาษี
(100K+)